จามจุรี (Samanea saman) เป็นชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามากมีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลมีเนื้อสีชมพู รสหวานสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกินเป็นอาหาร จามจุรี ยังมีชื่ออื่นอีก คือ”ก้ามปู” และ “ฉำฉา”จามจุรีเป็นต้นไม้ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน
ชื่อสามัญ Rain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์ Samanea saman (Jacq.) Merr.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น ก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู จามจุรี (ภาคกลาง), ลัง สารสา สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก), เส่คุ่ เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
จามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันทั่วไปอาจพบเห็นได้ตามริมถนน วัด หรือสถานที่ราชการต่างๆ เข้าใจว่ามิสเตอร์ เอช เสลด (Mr. H. Slade.) อธิบดีกรมป่าไม้คนแรกได้นำพันธุ์จากประเทศพม่ามาปลูกเป็นครั้งแรกที่ทำการป่าไม้เขตเชียงใหม่ประมาณปี พ.ศ. 2443 ต่อมาจึงได้นำไปปลูกตามถนนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นไม้โตเร็วเรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาเป็นอย่างดีทางภาคเหนือนิยมปลูกเลี้ยงครั่ง อาจกล่าวได้ว่าวัตถุประสงค์ของการนำเข้าไม้จามจุรีเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดิมนั้นมาในลักษณะไม้ประดับ และให้ร่มตลอดจนปลูกเพื่อใช้เลี้ยงครั่งเท่านั้น ผู้ปลูกมิได้มุ่งหวังที่จะใช้เนื้อไม้ชนิดนี้ไปเป็นประโยชน์ในด้านการค้าเลยทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรีเป็นไม้ไม่สู้แข็ง ผุง่าย จึงไม่มีผู้นิยมใช้ในการก่อสร้าง เพราะในขณะนั้นประเทศไทย ยังมีไม้ที่มีคุณภาพดีกว่าอยู่มากมายทั้งที่ความจริงตลาดต่างประเทศต้องการเนื้อไม้จามจุรีนานแล้ว เช่น ฮ่องกง ซึ่งสั่งซื้อโดยตรงจากประเทศฟิลิปปินส์ ครั้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้นจามจุรีในฟิลิปปินส์จะมีเสก็ดระเบิดของกระสุนลูกปืนอยู่ตามลำต้นไม้เป็นจำนวนมาก ประเทศผู้รับซื้อจึงหันมาซื้อจากไทยซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ราคาครั่งในเมืองไทยประสบภาวะปัญหาราคา ต่ำลง ดังนั้นเมื่อเนื้อไม้สามารถขายได้ราคาดีกว่าประกอบกับความต้องการที่จะเปลี่ยนชนิดพืชเศรษฐกิจไปเป็นพืชอื่น ชาวสวนครั่งทางภาคเหนือของไทยจึงตัดฟันไม้จามจุรีลงเพื่อขายเนื้อไม้ในราคาไม้ท่อน ซึ่งราคาดีกว่า จึงพบว่าพื้นที่สวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั้งทางภาคเหนือได้ลดลงมาก จนเหลือเพียงเล็กน้อยในปัจจุบันทั้งที่ความต้องการใช้เนื้อไม้จามจุรีเพื่อการแกะสลักในประเทศไทยได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการขาดแคลนไม้สักในการแกะสลัก และไม้สักมีราคาแพง ผู้ผลิตจึงหันมาใช้ไม้จามจุรีซึ่งสามารถหาได้ในชนบท และราคาถูกกว่าไม้สักมาก เนื้อไม้ยังมีสีสวยเหมาะในการทดแทนไม้สักในอุตสาหกรรมไม้แกะสลัก
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้นี้จะโตขึ้นอย่างสังเกตเห็นได้ชัดจามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็วต่างประเทศ เรือนยอดแผ่กว้างคล้ายรูปร่มเรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำ แตกและร่อนลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายมะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาวนับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ กำลังของไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือมีกำลังดัดงอ (bending strenght) สูงมาก และความชื้นในเนื้อไม้สูงทั้งต้นของจามจุรีมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
ประโยชน์
จามจุรีเป็นไม้เอนกประสงค์ คือสามารถใช้ประโยชน์จากต้นจามจุรีได้ในหลายๆ ด้าน เช่น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมอีก เช่น ร่มเงา การเลี้ยงครั่งเป็นต้น ประโยชน์ของไม้จามจุรีทางด้านต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น
ลักษณะทั่วไป
สรรพคุณ:
การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
จามจุรีเป็นไม้ต่างถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ เช่น กัวเตมาลา เปรู โบลิเวีย บราซิล รวมทั้งในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก และในแถบยุโรป ปัจจุบันได้มีการนำไปปลูกกันอย่างแพร่หลายในประเทศโซนร้อนเกือบค่อนโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
จามจุรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกปานกลาง ถึงฝนตกหนักตลอดปีเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำ และความชุมชื้น เช่นในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และไทย
การขยายพันธุ์
ปัจจุบันจามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี โดยทั่วๆ ไป สำหรับแหล่งเมล็ดพันธุ์จามจุรีของกรมป่าไม้ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากมีต้นจามจุรีอยู่มาก
การปลูก
การปลูกจามจุรีที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อผลทางการเศรษฐกิจจึงเป็นไปเพื่อการเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ประโยชน์อย่างอื่น เช่น เนื้อไม้ พืชอาหารสัตว์ จึงเป็นผลพลอยได้ และการปลูกสวนจามจุรีเพื่อการเลี้ยงครั่ง นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การป้องกันกำจัดและการควบคุม
การควบคุมแมลงศัตรูจามจุรี ในระยะยาวน่าจะเป็นวิธีผสม (Integrated control) นั่นคือหลังจากใช้สารเคมีลดจำนวนศัตรูพืชจามจุรีลงไปมากแล้ว ก็น่าจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศัตรูตามธรรมชาติที่จะจัดการควบคุมกันเอง เราสามารถพบศัตรูธรรมชาติของจามจุรีได้หลายชนิดทั้งตัวห้ำและตัวเบียน อาจกล่าวได้ว่าสาเหตุของการระบาดของแมลงศัตรูพืชต่างๆ คือ การขาดดุลทางธรรมชาติอย่างรุนแรงระหว่างศัตรูจามจุรีและศัตรู ธรรมชาติ นอกเหนือไปจากความอ่อนแอของต้นไม้ ภาวะแห้งแล้งและการต้านทานต่อสารเคมีของแมลงศัตรู
ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากการปลูกไม้จามจุรีโดยทั่วไปเพียงเพื่อการเลี้ยงครั่งและเป็นไม้ประดับยืนต้น เท่านั้น แม้แต่การเลี้ยงครั่งเองชาวสวนครั่งของไทยประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพรองผลผลิตที่ได้จะไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นกับราคาครั่งถ้าราคาต่ำผู้เลี้ยงจึงไม่สนใจที่จะเลี้ยงครั่ง ความสนใจในไม้จามจุรีจึงพลอยน้อยลงไปด้วย ถึงแม้ปัจจุบันเนื้อไม้จามจุรีจะสามารถนำไปเป็นวัตถุดิบในการแกะสลัก นั่นก็เป็นเหตุทำให้การลดจำนวนของต้นจามจุรีลงการปลูกทดแทนในอัตราส่วนเท่าเทียมกันจึงไม่ได้เกิดขึ้น จามจุรีโดยทั่วไปจึงมีแต่ขนาดใหญ่ต้นเล็กๆ ที่กำลังเจริญเติบโตหาได้ยาก อาจเป็นเพราะว่าจามจุรีเป็นไม้โตเร็ว แต่การที่จะใช้ประโยชน์เนื้อไม้หรือเลี้ยงครั่งได้นั่นก็กินเวลามากกว่า 5 ปี ผลผลิตระยะแรกน้อยมากเพียง 5 กิโลกรัมต่อต้น หากจะปลูกพืชแทรกโดยใช้ระบบวนเกษตรก็ทำได้ยาก เพราะร่มของจามจุรีหนาทึบ แสงแดดผ่านลงมายาก ถ้าหากปลูกในสภาพสวนป่าผลผลิตต่อพื้นที่ต่อปีก็น้อยเกินไป รวมทั้งรัฐบาลให้ความสนใจน้อย จึงยังคงเป็นอาชีพของกลุ่มคนเล็กๆ ที่สภาพสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยให้จึงสามารถทำได้ แต่ก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่ประโยชน์ของไม้จามจุรีมีมากมายหลายอย่างนับเป็นไม้อเนกประสงค์ชนิดหนึ่ง หากแต่การเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมให้ได้ใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของจามจุรีอย่างเต็มที่ มีตลาดรองรับไม่เพียงแต่ด้านเนื้อไม้เท่านั้น เชื่อว่าจะเป็นการลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าลงได้บ้างทีเดียว สภาพสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ความชื้น และความร่มเย็นตาก็ตามมาเนื่องจากจามจุรีเป็นต้นไม้แห่งฝนนั่นเอง
การเจริญเติบโตและผลผลิต
ประเทศไทยได้กำหนดความหมายของไม้โตเร็วจากความโตของเส้นรอบวงของต้นไม้นั้นโดยวัดที่จุดสูงเพียงอก (DBH) เป็นหลักเน้นเกี่ยวกับความโตของต้นไม้ที่ใช้งานได้เป็นเกณฑ์ คือเส้นรอบวงที่จะสูงเพียงอก 100 เซนติเมตร ซึ่งไม้ที่โตวัดรอบตรงระดับความสูงได้ 100 เซนติเมตร ภายในอายุ 15 ปี จัดเป็นไม้โตเร็ว และไม้จามจุรีก็เช่นกันถ้าหากปลูกในดินทรายจะมีความเจริญเติบโตทางเส้นรอบวงถึง 10.80 เซนติเมตรต่อปี และเฉลี่ยความเจริญเติบโตทางความสูง 68 เซนติเมตร เมื่ออายุน้อยจามจุรีจะเจริญเติบโตเร็วกว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุ 15 ปี ซึ่งสามารถให้ผลผลิตครั่งได้สูงสุด 100 250 กิโลกรัม โดยจามจุรีชนิดดอกสีเหลืองชมพูเปลือกเทาดำ ใบเขียวเข้ม ปล่อยครั่งได้ดีกว่าชนิดดอกสีเหลือง เปลือกขาวเทา และใบเขียวอ่อน อัตราการเจริญเติบโตของไม้จามจุรีจะมีอัตราสม่ำเสมอให้ผลผลิตทางเนื้อไม้มากหากเปรียบเทียบกับไม้มะขามแล้ว จามจุรีให้ผลผลิตเนื้อไม้มากกว่า
การใช้ประโยชน์
จามจุรีเป็นไม้เอนกประสงค์ คือสามารถใช้ประโยชน์จากต้นจามจุรีได้ในหลายๆ ด้าน เช่น เนื้อไม้ ใบ ดอก ผล นอกจากนี้ยังมีผลทางอ้อมอีก เช่น ร่มเงา การเลี้ยงครั่งเป็นต้น ประโยชน์ของไม้จามจุรีทางด้านต่างๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น
ประโยชน์ทางด้านเนื้อไม้
ในปัจจุบันเนื้อไม้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้ วัตถุดิบ นอกจากไม้จามจุรีคือไม้สักมีราคาแพงและหายากทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากไม้จามจุรี ราคาถูก สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สัก เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาว เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกระดับทั่วไป เนื่องจากความชื้นในไม้จามจุรีมีมาก ทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากเป็นผลิตภัณฑ์ วิธีแก้ไข คือ การอบไม้โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิจนกระทั่งไม่มีความชื้นหรือใกล้เคียงกับบรรยากาศทั่วไป มูลค่าของไม้แกะสลักที่จำหน่ายจะสูงกว่ามูลค่าไม้แปรรูปเพียงใด ขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของไม้แกะสลักในเรื่องนี้ไม้จามจุรีจะด้อยกว่าไม้สัก และมูลค่าของไม้แกะสลักจะสูงกว่าไม้แปรรูปถึง 3 เท่า ในปี พ.ศ. 2521 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักสูงถึง 300 ล้านบาท
ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
วิธีใช้เป็นยาสมานรักษาแผล ให้นำเปลือกที่แห้งแล้ว มาบดหรือป่นให้ละเอียดจนเป็นผง จากนั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย
ข้อควรระวัง เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง
ประโยชน์อื่น ๆ
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง