จำนงค์ ประวิทย์ เครือข่ายลุ่มน้ำคลองยัน

คุณจำนงค์ ปราญช์ชาวบ้านอำเภอคีรีรัฐนิคม ดำเนินชีวิตแบบพอเพียง เป็นหนึ่งในบุคคลที่ทำที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับการทำงานเพื่อสังคม จากชาวบ้านธรรมดาและเกษตรกรระดับ ป.4 ผู้ลุ่มลึกด้วยองค์ความรู้เรื่องระบบนิเวศริมน้ำ นักต่อสู้ของชุมชนที่ใช้ปรัชญา “กินข้าวต้ม” ดึงแนวร่วมแก้ไขปัญหาความยากจน สร้างองค์กรเข้มแข็ง และสานเครือข่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วลุ่มน้ำคลองยัน
นอกจากนี้ ยังคงยึดการดำรงชีวิตของตนเอง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน บนเนื้อที่ของบรรพบุรุษ เนื้อที่เพียง 8 ไร่ ในเนื้อที่แห่งนี้ คุณจำนงค์ จะ ผักสวนครัว สมุนไพร ผลไม้ และอื่นๆอีกมายมาย ที่ทำให้คุณจำนงค์ ลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างมาก ไม่ต้องไปซื้อ และมั่นใจเรื่องสุขภาพของตนเอง เพราะคุณจำนงจะไม่ใช้สารเคมีเลย
และนอกเหนือกว่านี้ คุณจำนงค์ ได้เปิดศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน อบรมให้ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องการเกษตร และเปิดบ้านของตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกด้วย แต่ปัจจุบันยังคงประสบปัญหา ในเรื่องของการทำให้ประชาชนมั่นใจในเรื่องความพอเพียง ซึ่งมันมีรายได้น้อย แต่ทำให้ชีวิตมีความยั่งยืน รวมไปถึงปัญหาของหน่วยงานราชการ ไม่มีการส่งเสริมการเกษตรอย่างจริงจัง ทำให้เกษตรกรไม่มีทางออก จึงอยากจะฝากไปยังหน่วยงานให้ช่วยเข้ามาดูแลแก้ไขอย่างจริง เพื่อให้ประชาชนมีอยู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

จำนงค์ ประวิทย์ เกิดและเติบโตที่บ้านปากหาร ต.บ้านยาง อ.คีรีรัตน์นิคม ริมน้ำคลองยัน สายน้ำที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำตาปี สายเลือดสำคัญของคน จ.สุราษฎร์ธานี

เมื่อ บิดาของเขาได้เสียชีวิตเมื่อเขาอายุได้ 5 ขวบ เขากับน้องชายจึงต้องอาศัยอยู่กับแม่ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่โชคยังดีที่สายน้ำคลองยันซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ ได้ทำให้เขาสามารถทำมาหากินได้ เขาจึงมีความรู้สึกว่า ธรรมชาติคือครอบครัวใหญ่ของมนุษย์ทุกคน

เมื่อมีโครงการสร้างเขื่อนแก่งกรุง ซึ่งต้องทำลายป่าถึง 3 หมื่นไร่ สายน้ำต้องเปลี่ยนแปลง เขาจึงเป็นผู้นำชาวบ้านต่อต้านการสร้างเขื่อน จนโครงการระงับไปในที่สุด

กระแสการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรีบเร่ง ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้อย่างขาดความระมัดระวัง เพียงไม่กี่ปีทำให้หลายๆ พื้นที่ของประเทศไทยแทบไม่เหลือความอุดมสมบูรณ์ เหมือนครั้งในอดีต ที่ “ดินงาม น้ำดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ชาวไทยมีความสุขสุขภาพดี อาหารดี อากาศดี อารมณ์ดีและเอื้ออาทรกัน” เหล่านี้คือบุคลิกคนไทยที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายพอเพียงและอยู่กับธรรมชาติ มานาน

ชุมชนลุ่มน้ำคลองยันตลอดพื้น ตำบลบ้านยาง และตำบลท่ากระดาน อ.คีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่อาศัยและพึ่งพิงสายน้ำคลองยัน คลองสาขาของแม่น้ำตาปี ซึ่งหากย้อนกลับไป 10 กว่าปี ให้หลัง ชุมชนแห่งนี้ ยังคงแวดล้อมด้วยป่า สัตว์ป่า ปลาหลากพันธุ์มากมายในลำคลอง เนื่องจาก การคมนาคมที่ทุรกันดาน ห่างไกลจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ร่วม 60 กิโลเมตร ทำให้ชุมชนแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยธรรมชาติอันสมบูรณ์ แต่เมื่อมีนายทุนหัวใส เจ้าหน้าที่รัฐเห็นแก่ได้และนโยบายที่ผิดพลาด เปิดให้มีการสัมปทานป่าไม้ และเร่งรัดขยายแนวคิดการเกษตรแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวและพึ่งตลาดเป็นหลัก ทำให้ผืนป่ามหาศาลหายไป ปลาที่เคยหลากหลายสูญพันธุ์และลดจำนวนลง ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติเหือดหาย หมดสิ้น ภาคการเกษตรก็เร่งใส่ปุ๋ยและสารเคมีเพื่อให้มีผลิตผลออกมามาก จนทำให้ดิน น้ำ สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ที่สำคัญคือทำให้ร่างกายและสุขภาพของคนในชุมชน เริ่มเจ็บป่วยมากขึ้น เมื่อรวมกับปัญหาหนี้สิน จากผลผลิตราคาต่ำและต้นทุนสูงขึ้น ชุมชนที่เคยดำรงวิถีอย่างปกติสุขก็เริ่มเผชิญปัญหามากมาย มาตลอดระยะเวลา 10 กว่าปี

jamnongprawitp

นายจำนงค์ ประวิทย์ ประธานเครือข่ายลุ่มน้ำคลองยัน ได้เสนอแนวคิดการสร้างชุมชนเข้มแข็งว่าต้องสร้างศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และสรุปถึงบทเรียนการพัฒนาชุมชนแห่งนี้ให้ฟังว่า ” ชาวบ้านทุกคนดีใจที่มีองค์กรต่างๆ มาให้ความสำคัญ มาเรียนรู้ดูงาน ที่นี่ ซึ่งเยอะมาก ทำให้ชาวบ้าน ทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ดูงาน เชื่อมกันเป็นเครือข่าย และที่สำคัญ ทำให้ชุมชนเราได้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกศูนย์หนึ่งของมหาวิชชาลัยชุมชนปักษ์ใต้ ซึ่งเป็นฐานถ่ายทอดองค์ความรู้ของชุมชนปักษ์

จำนงค์ ประวิทย์ทำงานขับเคลื่อนผลักดันชุมชนอย่างจริงๆ จังๆ และต่อเนื่อง มาตั้งแต่ ปี 2539 สิ่งที่เห็นว่าได้เกิดขึ้นแล้ว และดีขึ้นเรื่อยๆ คือ ความสมดุลกันอย่างมีดุลยภาพ ในท่ามกลางกระแสยุคโลกาภิวัตน์ เพราะกระแสนี้มันแรงมาก เชี่ยวมาก เราจึงพยายามทัดทานยืนขึ้นให้ได้ แม้ว่ายุคแรกๆ เราจะถูกกล่าวหาว่า สติไม่ดีที่คิดและทำอย่างนี้ แต่วันนี้ ต่างก็ได้เห็นแล้ว ว่า เป็นความจริงและพิสูจน์ได้ เพราะว่ายิ่งนานวันเข้า คนยิ่งขาดแคลนอาหารที่สะอาดและปลอดภัยที่สุด เพราะคนเราเริ่มเจ็บป่วยบ่อยๆ จากอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ในคลองก็ไม่มีปลา แต่วันนี้ก็เริ่มมีแล้ว การกำจัดหญ้าที่ใช้สารเคมี ก็เริ่มหมดไปแล้วหันมาใช้เครื่องตัดหญ้าแทน คนในชุมชนรู้สึกรักธรรมชาติมากขึ้น ฝนฟ้าก็ตกถูกต้องดีขึ้น ถึงที่สุดก็คือ ชุมชนเกิดสำนึกหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดในชุมชนตัวเองมากขึ้น ด้วย ครับ

วันนี้ ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรจะต้องตอบได้แล้วว่าตัวเองไม่มีหลักประกันชีวิตเลย เพราะว่าเงินทอง ทรัพยากรของเกษตรกรนั้นถูกดูดเอาไปจนหมดแล้ว วันนี้ชาวบ้านจึงเดินตามแนวทางพระราชดำรัสของในหลวง เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักดูแลตัวเอง ดูแลชุมชน ทำเพื่ออยู่พอกิน เราเอื้ออาทรต่อกันแบ่งปันกัน และทำอย่างไรที่จะให้ลุกหลานของเรามีจิตสำนึกท้องถิ่น และคิดว่าเราจะมีการเขียนประวัติศาสตร์ของชุมชนขึ้น เพื่อปลุกสำนึกคนรุ่นใหม่ ด้วย” นายจำนงค์ กล่าว ก่อนจะวิเคราะห์ถึงความก้าวของเครือข่ายชุมชนคลองยันว่า

jamnongprawitt

“ชุมชนใดจะทำสำเร็จหรือไม่นั้น มันเกิดจากโครงสร้าง ว่าโครงสร้างที่สัมพันธ์กันเป็น แบบชุมชนหรือแบบหมู่บ้าน ที่รัฐแบ่งแยกให้ เพราะ 2 อย่างนี้ ความสัมพันธ์แตกต่างกัน ถ้าเป็นแบบชุมชน ก็จะมีเรื่องราวเดียวกันในละแวกนั้น มีวิถีชีวิตคล้ายกัน มาร่วมกันพัฒนาชุมชน ซึ่งแตกต่างจากหมู่บ้าน มันตัดออกไปเลย เป็นหมู่บ้านใครหมู่บ้านมัน ตัดความสัมพันธ์อื่นๆหมด เอาพื้นที่เป็นหลัก อีกอย่างคือเรื่องบริบทของชุมชน มันมีทั้งแตกต่างกันและเหมือนกันอยู่มาก คนในชุมชนจึงคิดเหมือนกัน มีเป้าหมายเหมือนกัน ตรงนี้เองที่เราต้องจัดคน จัดระบบ ให้สอดคล้องกัน เช่น ทุกคนต้องการเป็นผู้นำ ทุกคนต้องการทำงานที่ตัวเองรัก เราก็ให้เขาตั้งกลุ่ม เช่น กลุ่มทำขนม กลุ่มทอผ้า กลุ่มทำแชมพูยาสระผม เป็นต้น ซึ่งเป็นการพยายามนำความหลากหลายในชุมชนมาทำให้เกิดความเป็นเอกภาพขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น ทุกคนมีบทบาทร่วมกันมากขึ้น เหล่านี้คือกุญแจสู่ความสำเร็จในการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งครับ

การจะสร้างพลังแก้วิกฤติให้สังคมไทยได้ นั้น คือ เราต้องสร้างปัญญาก่อนครับ ดังนั้น ตอนนี้เราจึงพยายามสร้างศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนขึ้น เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ มีคุณธรรม ต่อสังคมต่อส่วนรวม ซึ่งวันนี้เราวิเคราะห์ได้แล้วว่า นโยบายของรัฐที่ต้องการปราบปราม ยาเสพติด หรือคอรร์รัปชั่น ก็ดี มันเป็นแค่ภาพภาพหนึ่งของสังคมเท่านั้น ยังไม่ใช่ความจริงทั้งหมด และถ้ายิ่งรัฐโยนเงินให้ชุมชน ก็ยิ่งทำให้ชุมชนแตกแยกกัน มากขึ้น ดังนั้น การจัดกระบวนการของชุมชนเพื่อรองรับนโยบายนั้นสำคัญมาก ไม่ใช่พออยากจะให้ก็ให้พร้อมๆ กัน ทีเดียวทั่วประเทศ โดยไม่คัดสรรว่าชุมชนนั้นแข็ง หรือไม่แข็ง พร้อมหรือไม่พร้อม อย่างไร ”

หลังจากนั้นเขาได้ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา ทำให้คิดได้ว่าคนที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติ ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี เขาจึงตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อสิ่งแวดล้อมและทำกิจกรรมตั้งกองทุนออมทรัพย์ และสร้างร้านค้าชุมชน รวมถึงการจัดทำเขตอภัยทานเพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำ

ทุกวันนี้ ร้านค้าชุมชน เขตอภัยทาน เป็นจุดเรียนรู้ที่คนภายนอกเข้ามาศึกษาวิธีการอยู่ตลอดเวลา

jamnongprawits

นายจำนงค์ ประวิทย์
อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 2 ต.บ้านยาง อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น