ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบาอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Hibiscus rosa-sinensis L
ชื่อวงศ์ :MALVACEAE
ชื่อสามัญ :Shoe Flower , Chinese Rose
ลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดปานกลาง สูง 3 เมตร เป็นพืชที่มีเนื้อไม้อ่อน เป็นพืชอยู่กลางแจ้ง ลักษณะของลำต้นอยู่เหนือดินตั้งตรงได้เอง ลักษณะผิวหยาบขรุขระเห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน เปลือกเหนียว สีของลำต้น ต้นอ่อนสีน้ำตาลอ่อนออกสีเทา ต้นแก่สีเทาไม่มียาง
- ใบ เป็นใบเดี่ยว การเรียงตัวของใบบนกิ่ง เรียงสลับ ใบรูปไข่ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 1-5 เซนติเมตร สีของใบ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวแก่ ลักษณะพิเศษของใบขอบหยาบปลายแหลม รูปร่างของใบคล้ายรูปไข่ โคนใบมน รูปร่างของใบเป็นจักฟันเลื่อย
- ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบและปลายยอด ดอกมีสีแดง ดอกเดี่ยว ริ้วประดับที่โคนดอก 5-8 แฉก โคนเชื่อมกันเล็กน้อยกลีบเลี้ยงแยกกัน 4-5 กลีบ สีเขียวอ่อนเชื่อมกันเป็นรูประฆัง กลีบดอก แยกกันมี 17 กลีบ รูปกากบาท สีกลีบดอกแดง รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-8 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มีจำนวน 30 ก้าน สีเหลืองอับเรณูติดบริเวณปลายเกสรเพศเมีย เป็นสีแดงเชื่อมเป็นหลอดยาวประมาณ 9 เซนติเมตร แยกเป็น 5 แฉก โผล่พ้นหลอดดอกชูก้านสูงขึ้นไป กลีบดอก สีแดง ตำแหน่งของรังไข่ใต้วงกลีบ ไม่มีกลิ่น รูปร่างดอกมีลักษณะ ทรงกลมกลีบย่น ขอบหยัก
สรรพคุณของดอกชบา
- ต้นชบามีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
- สรรพคุณดอกชบาช่วยฟอกโลหิต
- สรรพคุณของชบาช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต
- สรรพคุณของดอกชบาช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้ดอกชบา 4 ใบนำมาแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้วแล้วดื่มตางน้ำ (ดอก)
- ช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบาน้ำไปต้มกับน้ำดื่ม
- ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว ด้วยการใช้ดอกชบาสดประมาณ 4 ดอกนำมาตำให้ละเอียด แล้วกินตอนท้องว่างในช่วงเช้า ติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะนำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาบดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชาติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (ดอก)
- สรรพคุณชบาช่วยแก้ประจำเดือนไม่มา หรือมาช้า ด้วยการใช้ดอกชบา 3 ดอกนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (หรือจะผสมกับนม 1 แก้วก็ได้) แล้วนำมาดื่มตอนท้องว่างในช่วงเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำได้ (ดอก)
- ดอกชบาสรรพคุณ ดอกชบาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงประจำเดือน ด้วยการใช้กลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊ป อย่างละเท่าๆกันใส่ลงไปในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ น้ำตาลก็จะละลายผสมกับดอกชบา แล้วยำมากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละสองครั้งติดต่อกันประมาณ 3 สัปดาห์ (ดอก)
- ใบชบาสามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ด้วยการใช้ใบชบาหรือฐานของดอกชบาก็ได้ นำมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบนิเวณที่ถูกเป็นแผล ก็จะช่วยรักษาแผลได้ (ใบ)
- เปลือกต้นชบาสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (เปลือก)
- รากสดๆของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดง นำมาตำละเอียดใช้พอกฝีได้ (ราก)
- ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้รากสดของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดงนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
- ใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม ด้วยการใช้ใบชบาประมาณ 1 กำมือล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย ให้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วกรองกากทิ้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำเมือกจากใบชบามาใช้สระผม จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย (ใบ)
- ประวัติดอกชบาประโยชน์ดอกชบา สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า (จึงเป็นที่มา ของ Shoe Flower หรือดอกรองเท้านั่นเอง) (ดอก)
- ประโยชน์ของชบา เปลือกของต้นชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก หรือใช้ทอกระสอบได้อีกด้วย (เปลือก)
- ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้ว เพื่อชมดอก เพราะนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรงและตายยากอีกด้วย (ต้นชบา)
- ประโยชน์ของชบา เหมาะอย่างมากสำหรับนำมาร้อยเป็นพวงมาลัย เพราะมีสีสดใสและดอกโต (หากไม่ยึดติดกับอคติในอดีต) เป็นดอกไม้ที่ทัดหูที่งดงามอีกชนิดหนึ่งเลยล่ะครับ
การดูแล
- แสง ชอบแสงแดดมาก
- น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ
- ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป
- ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
- การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ
- โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่
ลักษณะเด่น
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
- ดอกบานเป็นรูปถ้วย
- ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
- กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
- การปักชำ
- การเสียบยอด
- การติดตา
โรคและแมลงศัตรู
- โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
- แมลงศัตรู ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอยดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
- สัตว์ศัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์ เดอะแดนดอทคอม, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน