ชมจันทร์ ไม้ประดับกินได้ มากคุณค่า

3 สิงหาคม 2556 ไม้เลื้อย 4

ดอกชมจันทร์ หรือ ดอกพระจันทร์ ในบางพื้นที่อาจเรียกว่าดอกบานดึก ที่มาของชื่อนี้คาดว่าเรียกตามช่วงเวลาการบานของดอก คือ ดอกจะบานในช่วงกลางคืนประมาณ 19.00-20.00 น. เป็นต้นไป

ดอกชมจันทร์ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง สามารถพบได้ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย และในกลุ่มประเทศเขตร้อนของทวีปเอเชีย พืชในสกุลนี้มีประมาณ 650 ชนิด ซึ่งมีมากที่สุดในวงศ์ หลายชนิดเป็นไม้ประดับที่รู้จักกันดีคือมอร์นิ่งกลอรี่หรือผักบุ้งฝรั่ง และบางชนิดสามารถรับประทานได้ ที่รู้จักกันดี เช่น ผักบุ้ง และมันเทศ เป็นต้น นอกจากนี้บางชนิดในต่างประเทศใช้เป็นยาสมุนไพร

chomchankang

ดอกชมจันทร์หรือ ดอกพระจันทร์ (อังกฤษ: Moonflower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea albaL.
วงศ์ Convolvulaceae
ชื่อท้องถิ่น บานดึก ,ดอกพระจันทร์ , แสงนวลจันทร์ อยู่ในวงศ์เดียวกับผักบุ้ง และผักบุ้งฝรั่ง บางที่นิยมเรียกดอกไม้จีน แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับดอกไม้จีนแห้งที่นิยมใส่อาหารจีน

ต้นชมจันทร์มีดอกสีขาวสวยงาม บานในเวลาตอนกลางคืน และกลิ่นหอม ในต่างประเทศ เช่นยุโรปและสหรัฐอเมริกาปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ แต่บางพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่มมีการนำดอกมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริก ผลการการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่าเป็นผักที่ไขมันต่ำมากและมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส และยังประกอบด้วยวิตามินต่าง ๆ ได้แก่ วิตามินบี เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ต้นชมจันทร์เป็นไม้เลื้อยที่มีอายุหลายปี (ปลูกเขตร้อน) แต่ถ้าปลูกเขตที่อากาศค่อนข้างหนาวมีการปลูกเป็นไม้ประดับปีต่อปี ความสูงของต้นชมจันทร์ขึ้นอยู่กับค้างที่ทำให้ยึดเกาะ

  • ลักษณะต้นและใบคล้ายกันกับต้นมอร์นิ่งกลอรี คือมีใบเป็นรูปหัวใจสีเขียวเข้ม ชมจันทร์ออกดอกบริเวณซอกก้านใบ ความยาวของดอกตูมประมาณ ๑๐-๑๕ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกบานประมาณ ๑๑-๑๔ เซนติเมตร ดอกมีสีขาวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกทั้ง ๕ กลีบเชื่อมติดกัน ดอกจะบานตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงกลางคืน และจะหุบในตอนเช้า
  • ผลของต้นชมจันทร์มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมขนาดเล็ก มีเมล็ดอยู่ภายใน ๒-๔ เมล็ด ใช้สำหรับการขยายพันธุ์

chomchankor

chomchanban

chomchandokคุณค่าทางโภชนาการของดอกชมจันทร์ พบว่า เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบาย มีฤทธิ์เย็น ประกอบด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพเช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โปรตีน และวิตามินเอ ดอกชมจันทร์จึงเป็นอาหารที่กินได้ทุกเพศทุกวัย วิตามินบีในดอกไม้จีนช่วยให้สมองทำงานได้ดี และเพิ่มความจำ วิตามินซีในดอกชมจันทร์ช่วยต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ดอกชมจันทร์มีสรรพคุณแก้ร้อนใน บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคดีซ่าน ขับปัสสาวะ และบรรเทาริดสีดวงทวาร เกสรดอกชมจันทร์มีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท ช่วยให้ผ่อนคลายทำให้สดชื่น และมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับอ่อนๆ จึงช่วยให้หลับสบาย ดอกชมจันทร์เป็นพืชที่มีแคลอรีต่ำ เหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนัก

ดอกชมจันทร์สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด และเข้ากันดีกับทั้งเนื้อสัตว์และพืชผักอื่น ๆ เช่น หมู ปอดหมู ถั่วแดง น้ำผึ้งและเห็ดหูหนูต้มเนื้อหมูกับดอกชมจันทร์ กินเพื่อบำรุงตับและช่วยให้นอนหลับได้ดี ต้มดอกชมจันทร์กับน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย กินตอนเช้าช่วยให้ขับถ่ายได้ดี และบรรเทาอาการริดสีดวงทวารต้มดอกชมจันทร์ 30 กรัม กับถั่วแดง 30 กรัม เติมน้ำผึ้งพอประมาณ กินช่วยขับปัสสาวะคลายร้อน และเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหินเรื้อรัง นึ่งหมูเนื้อแดงกับดอกชมจันทร์ กินเพื่อเพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอด

chomchanko
chomchandokkin

ขั้นตอนและวิธีการปลูกและการขยายพันธุ์

  1. นำเมล็ดแห้งของต้นดอกชมจันทร์ไปแช่น้ำ ไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดพองน้ำ และทำให้หน่อหรือรากงอกออกมา ในขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นการคัดเลือกเมล็ด เพราะจะมีทั้งเมล็ดที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
  2. การสังเกตเมล็ดที่สมบูรณ์จะพองน้ำ หน่อจะงอก ส่วนเมล็ดที่ไม่พองน้ำ จะฟ่อและไม่งอกหน่อออกมาถือว่าไม่สมบูรณ์
  3. หลังจากที่แช่เมล็ดไว้แล้ว 1 คืน ให้นำเมล็ดไปเพาะในแปลงดินที่เตรียมไว้ โดยการหยอดลงไปในดินที่เราเขี่ยดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วทำการหยอดเมล็ดลงไปเกลี่ยดินกลบเมล็ดให้พอท่วมเมล็ดด้านบนของเมล็ด
  4. ทำการรดน้ำดูแลใช้ระยะเวลาประมาณ 15-20 วัน หลังจากนั้นให้ทำการถอนมาปลูกในดินที่เราเตรียมไว้ต่อไป

chomchanngog
chomchanpao

วิธีปลูก

  1. ให้ขุดหลุมลึกประมาณ 20-30 ซม.
  2. ทำการรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/หลุม แล้วนำต้นกล้าลงปลูก
  3. ระยะปลูกที่เหมาะสมใช้ระยะห่างระหว่างต้น 40-50 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 70-100 ซม.
  4. ช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูกควรให้น้ำวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้นสามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น้ำวันละครั้ง
  5. เมื่อต้นดอกชมจันทร์เริ่มแตกยอดอ่อนควรทำค้างเป็นโครงไม้เพื่อให้ต้นดอกพระจันทร์ได้เลื้อยขึ้น การทำค้างทำลักษณะเหมือนกับค้างถั่วฝักยาวก็ได้ หรือจะทำแบบซุ้มก็ได้
  6. หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนก็จะเริ่มออกดอก ลักษณะดอกจะมีสีขาวสวย จะบานในตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอม เริ่มมีการนำดอกชมจันทร์มารับประทานเป็นอาหาร โดยนำดอกตูมมาผัดกับน้ำมันหอย หรือ นำมาลวกเพื่อจิ้มน้ำพริกรับประทาน
  7. หลังเก็บผลผลิตแล้วการใส่ปุ๋ยจากก้อนเห็ดเก่าจะช่วยเร่งให้เกิดดอกได้มากขึ้นและเจริญเติบโตเร็วถือว่าปุ๋ยจากก้อนเห็ดเก่าที่ใช้เป็นปุ๋ยชั้นดี อัตราการใส่ต่อต้น 1 กำมือต่อ 1 ต้น

สำหรับการดูแลบำรุงดอกชมจันทร์ จะใช้เทคนิคพิเศษที่ปุ๋ยโดยการนำก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่ติดเชื้อราหรือก้อนเชื้อเห็ดที่ไม่ติดดอกนำมาเป็นปุ๋ยโดยการแกะก้อนเห็ดนั้นออกและกองไว้ให้แห้งปล่อยให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยชั้นดีที่ช่วยให้ดอกชมจันทร์ที่ปลูกได้ผลผลิตเกิดดอกม และได้ผลผลิตมากขึ้น

chomchansuan

ประโยชน์ดอกชมจันทร์ เป็นผักที่มีไขมันต่ำมาก และมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และยังประกอบไปด้วยวิตามินเอ บี1 บี2 บี3 โปรตีน อีกด้วย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

4 ความคิดเห็น

  1. คงศักดิ์
    บันทึก กันยายน 6, 2556 ใน 19:49

    ต้องการจะปลูกติดต่อที่ไหนครับ

  2. เปียร์
    บันทึก มกราคม 19, 2557 ใน 10:17

    อยากได้ต้นกล้าดอกไม้จีนมาปลูกติดต่อยังไงได้คะ

  3. Pobtham
    บันทึก มกราคม 25, 2557 ใน 12:08

    จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ดอกชมจันทร์ เมล็ดละ 1 บาท ไม่รวมค่าจัดส่ง (1 เมล็ดก็ส่งค่ะ ) สนใจติดต่อ 090-8098849 ร้านพบธรรม หรือ inbox เข้ามาที่ http://www.facebook.com/pobtham.lp

แสดงความคิดเห็น