ชะพลู ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

1 ตุลาคม 2556 พืชผัก 0

ชะพลู เป็นผักพื้นบ้านที่คนนิยมมารับประทานสด ๆ เป็นส่วนประกอบของเมื่ยงคำ เชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงธาตุ เป็นพืชที่มีโปรตีนสูง มีคุณค่าทางโภชนาการ การทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดทั้งต้น มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้และคลายกล้ามเนื้อ ในประเทศไทยมีตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้การต้มชะพลูทั้งห้า แก้เบาหวาน จากการศึกษาวิจัยในกระต่ายพบว่าน้ำชะพลูลดน้ำตาลในเลือดกระต่ายที่เป็นเบา หวานได้ แต่ไม่สามารถลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายปกติ และเมื่อให้กินน้ำชะพลูต่อไปอีก 4 สัปดาห์ พบว่าชะพลูยังคงสามารถทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงได้ ชะพลูเป็นสมุนไพรแนะนำสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเนื่องจากมีฤทธิ์แอนตี้ออกซิ แดนซ์สูงมาก นอกจากนี้ชะพลูยังไม่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในคนปกติ จึงเหมาะที่จะนำมาชงเป็นชา หรือรับประทานเป็นผัก สำหรับคนทั่วไปและผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อสามัญ : Wildbetal Leafbush
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่ออื่น : ช้าพลู (ภาคกลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน) พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
ส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ทั้งต้น ราก

chaplukor
chaploodokd
chaplooton

สารที่พบ
ชะพูลมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุน และมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญ คือ มีแคลเซียม และสารเบต้า-แคโรทีนจากการศึกษาของ มหาวิทยาลัยมหิดลโดยศึกษาฤทธิ์การลดน้ำตาลในเลือดของสารสกัดจากใบชะพลู โดยการ ใช้น้ำสกัดเอาสารสำคัญของชะพลูทั้งต้นโดยใช้หนูทดลอง โดยการแบ่งหนูออกเป็น 2 กลุ่ม โดยหนูกลุ่มที่1จะเหนี่ยวนำทำให้เป็นเบาหวาน และหนูกลุ่มที่ 2 จะเป็นหนูปกติ แล้วฉีดสารสกัดของชะพลูเข้าไปในหนูทั้งสองกลุ่ม จากนั้นวัดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อฉีดเข้าไปครั้งแรก
พบว่าสารสกัดชะพลูในขนาด 0.125 และ 0.25 กรัมต่อน้ำหนักของหนู 1 กิโลกรัม ไม่ช่วยลดระดับน้ำตาลของหนูกลุ่ม ที่เป็นเบาหวานแต่เมื่อให้สารสกัดต่อไปอีก 7 วันพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานลดลงซึ่งผู้ทดลองก็ได้ นำยาแผนปัจจุบัน คือ ไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) มาทดสอบกับหนูทั้งสองกลุ่มเช่นกันพบว่าได้ผลเช่นเดียวกับสารสกัดชะพลู

chaploopol

ในใบชะพลู 100 กรัม ให้พลังงานกับร่างกาย 101 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

  • เส้นใย 4.6 กรัม
  • แคลเซียม 601 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 7.6 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.13 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.11 มิลลิกรัม
  • ไนอาซิน 3.4 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 22 มิลลิกรัม
  • โปรตีน 5.4 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 14.2 กรัม
  • เบต้า-แคโรทีนสูงถึง 414.45 ไมโครกรัมเทียบหน่วยเรตินัล

ข้อควรระวัง
ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต

chaploodok

คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู

ประโยชน์ของใบชะพลู
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

chaploo

สรรพคุณ:

  • ใบ: รสเผ็ดร้อน เจริญอาหาร ขับเสมหะ ทำเสมหะให้งวด ทำให้เลือดลมซ่าน
  • ดอก (ลูก): รสเผ็ดร้อน แก้ศอเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้
  • ราก: รสเผ็ดร้อน แก้คูถเสมหะ ขับเสมหะให้ตกทางทวารหนัก บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
  • ต้น: รสเผ็ดร้อน แก้เสมหะในทรวงอก ขับเสมหะ

ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ใบสดมีรสเผ็ดซ่าลวกเป็นผักจิ้มหรือรับประทานสดโดยใช้เป็นใบห่อเมี่ยงคำ เมี่ยงปลาทู รองก้นกระทงห่อหมก ซอยใส่ข้าวยำ หรือนำไปชุบแป้งทอดเป็นกับแกล้มก็ได้ นอกจากนี้ใบอ่อนนำไปใส่ในแกงกะทิต่าง ๆ เช่น คั่วไก่

chaploosuan

วิธีปลูก
ขยายพันธ์โดยปักชำในดินร่วนซุย รดน้ำให้ชุ่มในระยะที่ต้นกล้ายังไม่แข็งแรง ไม่ควรให้โดนแดดมากนัก

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น