ชาวใต้และตะวันออกรับประทานชะมวง โดยนำมาปรุงอาหารให้สุกก่อน เช่น แกงหมูใบชะมวงแกงใบชะมวงกับเนื้อวัว และอาหารประเภทต้มส้ม (ต้มส้มปลาไหล ต้มส้มปลาแห้ง)เป็นต้น ส่วนชาวอีสานจะนำยอดอ่อนของใบชะมวงใส่แกงอ่อมหรืออาจรับประทานเป็นผักสดร่วมกับป่นแจ่ว
ใบชะมวงจากต้นชะมวง หรือที่ทางปักษ์ใต้เราเรียกว่า ต้นส้มมวง ถือเป็นไม้ไทยใกล้มือที่คนท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกแถวเมืองจันทร์ไปจนถึงตราดและแถวปักษ์ใต้บ้านเรา นิยมเก็บยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหารประเภทต้มส้ม แกงส้ม โดยต้มกับกระดูกหมู กระดูกวัว หรือซี่โครงหมู ที่เรียกกันว่า ซี่โครงหมูต้มใบชะมวง สำหรับที่เป็นอาหารขึ้นโต๊ะในเมนูอาหารรสเด็ดที่รู้จักกันดีก็คือ แกงกะทิใบชะมวง ทั้งนี้ก็เพราะจะได้ รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
ชื่อวิทยาศาสตร์: (Garcinia cowa Roxb)
ชื่อวงศ์: GUTTTIFERACEAE เช่นเดียวกับกระทิง ติ้วเกลี้ยง ติ้วขน บุนนาค มะดัน มะพูด มังคุด รงทอง ส้มแขก และสารภี
ชื่อท้องถิ่น: ส้มป้อง มะป่อง (คนเมือง), หมากโมก (อุดรธานี), มวงส้ม (นครศรีธรรมราช), กะมวง มวง ส้มมวง (ภาคใต้), กานิ (มลายู-นราธิวาส), ตระมูง (เขมร), ยอดมวง, ส้มม่วง, ส้มโมง, ส้มป่อง
ต้นชะมวงหรือต้นส้มมวงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า การ์ซิเนีย โคว่า (Garcinia cowa Roxb) ลักษณะของต้นชะมวงและต้นมะดันมีความคล้ายกัน เพราะต้นไม้ 2 ชนิดนี้ มีรากเหง้าเหล่ากออยู่ในวงศ์กัททิฟเฟอราซี้ (Guttifferacae) เหมือนกัน แต่ถ้าหากเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นว่า ส้มมวงหรือต้นชะมวง มีรูปทรงใบ ข้อ และผล ที่มีรสเปรี้ยวเหมือนกับมะดันก็จริง แต่ต้นมะดันจะมีลำต้นค่อนข้างเตี้ย ไม่ใหญ่โต ชอบขึ้นตามดินจืดทั่วไป ส่วนต้นชะมวงจะมีลำต้นค่อนข้างใหญ่โต ต้นสูง ชอบขึ้นตามดินน้ำเค็มถึงดินกร่อยชายทะเล
ลักษณะของชะมวง
ต้นชะมวง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำทรงสูง มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 15-30 เมตร ลำต้นเกลี้ยงและแตกกิ่งใบตอนบนของลำต้น กิ่งย่อยผิวเรียบ เปลือกลำต้นเป็นสีดำน้ำตาลมีลักษณะขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีขมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตอนกิ่ง พบทั่วไปตามป่าชื้นที่ระดับต่ำ เป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
ใบชะมวง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมใบหอกหรือแกมขอบขนาน โคนใบสอบแหลม ปลายใบป้านหรือแหลมเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีความกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-13 เซนติเมตร ใบอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนหรือเขียวอมสีม่วงแดง ส่วนใบแก่เป็นสีเขียวเข้ม (สีน้ำเงินเข้ม) บริเวณปลายกิ่งมักแตกเป็น 1-3 ยอด หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน ท้องใบเรียบ เนื้อใบมีลักษณะค่อนข้างหนาและเปราะ เส้นใบเห็นได้ไม่ชัด แต่ด้านหลังใบจะเห็นเส้นกลาง ส่วนก้านใบเป็นสีแดงมีความยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
ดอกชะมวง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ออกดอกตามซอกใบและตามกิ่ง ดอกตัวผู้จะออกตามกิ่งเป็นกระจุก มีดอกย่อยประมาณ 3-8 ดอก ดอกมีเกสรตัวผู้จำนวนมากเรียงกันเป็นรูปสีเหลี่ยม ส่วนกลีบดอกเป็นสีเหลืองนวลและมีกลิ่นหอม มีกลีบดอกแข็งหนา 4 กลีบ และกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบกลม ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร ส่วนดอกตัวเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยวตามปลายกิ่ง ดอกมีเกสรตัวผู้เทียมเรียงอยู่รอบรังไข่ มีก้านเกสรติดกันเป็นกลุ่ม ที่ปลายก้านมีต่อม 1 ต่อม โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพพันธ์ถึงเดือนเมษายน
ผลชะมวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน มีขนาดประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงส้มหม่น และตามผลมีร่องตื้นๆ ประมาณ 5-8 ร่อง ด้านบนปลายบุ๋ม และมีชั้นกลีบเลี้ยงประมาณ 4-8 แฉกติดอยู่ เนื้อหนา สีเหลือง ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 4-6 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรีหนา เรียงตัวกันเป็นวงรอบผล ผลสุกมีรสเปรี้ยวใช้รับประทานทานได้ แต่มียางมากและทำให้ติดฟันได้ โดยจะติดผลในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
ประโยชน์ทางยา
ประโยชน์ทางอาหาร
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ
ยอดอ่อนและใบอ่อนของชะมวงรสเปรี้ยว ช่วยระบาย แกัไข้ ขับเสมหะ แก้ธาตุพิการ
ใบชะมวง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 51 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 3.2 กรัม
สรรพคุณของชะมวง
การปลูก
ต้นชะมวงพบได้บริเวณชายป่าธรรมชาติหรือบริเวณโคกในภาคอีสานปลูกโดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน