ป่าเด็งคือสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ข้อจำกัดด้านพลังงานสิ้นเปลืองด้วยพลังงานทดแทนพึ่งตนเอง
ภาย ในปี 2557 โครงการวางแผนพลังงานชุมชนจะมีการปรับทิศทางการทำงานใหม่โดยมุ่งเน้นดำเนิน กิจกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน เพื่อตอบสนองต่อแผนการพัฒนาพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงาน ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของพื้นที่จะขึ้นอยู่ศักยภาพของพื้นที่และของพลังงานจังหวัดเป็นหลัก ศูนย์ประสานงานกลางโครงการวางแผนพลังงานชุมชน สนย. สป.พน.จึงจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมผู้ประสานงาน โครงการวางแผนพลังงาน ในหลักสูตรการประเมินผลการดำเนินโครงการพลังงานชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา กรณีศึกษา ชุมชนผลิตพลังงานครบวงจรบ้านป่าเด็ง ในนามเครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อ ร่วมกันออกแบบกระบวนการ ให้เกิดการมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน การพัฒนาขั้นตอนการผลิต การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนครบวงจรเพื่อการพึ่งตนเอง การทดสอบการใชงานวัดผลการปรับลดที่เกิดขึ้น เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาระดมความคิด วิเคราะห์ การนำผลการศึกษามาใช้ร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนากิจกรรมต่อยอด ในชุมชนต่อไป
เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ พ.ศ. 2550 เกิดการรวมตัวของชาวบ้าน ที่มีความสนใจในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง จึงเริ่มมีการปรึกษาหารือกัน จึงเกิดแนวทางใน การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องพลังงาน และเรื่องสวัสดิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาชิกเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้การดำเนินงานเริ่มมีระบบระเบียบมากขึ้น มีการตั้งคณะกรรมการ มีระเบียบ มีระบบบัญชีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และความโปร่งใส โดยมีโครงสร้างคณะกรรมการแบ่งออกเป็นคณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการฝ่ายออกเป็น 5 ฝ่าย
เครือข่าย รวมใจตามรอยพ่อ
เป้าหมาย
เป็นเครือข่ายที่ทำให้ครอบครัวมีความอยู่ดี มีสุข บนพื้นฐานของกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง ดำเนินงานอย่างยั่งยืนภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ความต้องการร่วม
ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี แบ่งลักษณะพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นพื้นที่อยู่ในโครงการพระราชดำริ ได้แก่หมู่ที่ 2,3,4,5,7 เป็นพื้นที่ที่มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม มีโคนมอย่างน้อย 5,000 ตัว จึงเป็นปัญหาทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก และยังขาดการจัดการเชิงระบบ
อีกส่วนหนึ่งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้แก่หมูที่ 1,6,8,9,10 มีชุมชนไม่น้อยกว่า 500 ครอบครัว ต้องประสบกับปัญหาไม่มีสาธารณูปโภคได้แก่ ไม่มีไฟฟ้า ถนนเป็นถนนลูกรัง และความขัดแย้งในพื้นที่ บีบบังคับให้ชาวบ้านดิ้นรนในการใช้พลังงาน เช่น ถ่านไม้ การตัดไม้เพื่อปลูกสร้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงได้มีการรวมตัวกัน ของชาวบ้านกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า เครือข่ายรวมใจตามรอยพ่อ มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปรึกษาหารือกันทุกเดือน เพื่อพึงพากันในด้านต่างๆ เช่น การใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพด้านแบบเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตนเองด้วยการศึกดูงาน อบรม ด้านสิ่งแวดล้อม มีการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินทุกปีเพื่อมีไม้ไว้ใช้สอย และเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้านพลังงาน เช่น แก๊สชีวภาพ โดยนำมูลวัวมาผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อหุงต้มและผลิตไฟฟ้า เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ลดการใช้สารเคมี เตาชีวมวลต่างๆ เพราะมีแกนข้าวโพดที่ถูกทิ้งมากมายช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า การพัฒนาโซล่าเซลเพื่อใช้ในกิจกรรมแสงสว่างและสูบน้ำ และตั้งเป็นจุดศูนย์รวมเรื่องสวัสดิการ ทำออมบุญวันละบาท เพื่อช่วยกันเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย
บ้านป่าเด็งคือสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้เพื่อเอา ชนะข้อจำกัดด้านพลังงานสิ้นเปลือง ด้วยพลังงานทดแทนพึ่งตนเอง โดยชุมชน เพื่อชุมชน อย่างแท้จริง
ที่มา
โครงการอบต. Energy Awards กระทรวงพลังงาน
ป้ายคำ : พลังงานทดแทน, พึ่งตนเอง, ศูนย์เรียนรู้