ดอกดาหลา เป็นยาสมุนไพร แก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยาคล้ายกับพวก ขิง ข่ามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้
ดาหลาเป็นพืชล้มลุกมีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ลำต้นเทียมที่อยู่บนดินเป็นกาบ ใบสีเขียวเข้มเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ดอกสีแดง อมชมพู มีกลีบช้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง ส่วนปลายของขอบกลีบเป็นสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก ไม่มีกลิ่น ดอกตูม หน่ออ่อน กินได้ รสชาดเผ็ดเล็กน้อย หน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดแกงกะทิ แกงคั่ว ยำและผสมในข้าวยำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อพ้อง : Phaeomeria magnifica, Nicolaia elatior
ชื่อสามัญ : ดาหลา
วงศ์ : Zingiberales
ชื่ออื่น ๆ : กาหลา, กะลา
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ คือ Torch Ginger ที่มีคำว่า Ginger นั้น ดาหลาจัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับขิง และ ข่า ที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ส่วนคำว่า คบเพลิง หรือ เปลวไฟ ซึ่งมีลักษณะ สัมพันธ์กับกลีบดอกสีแดงเพลิงที่ห่อหุ้มไฟอยู่ภายในเมื่อครั้งเป็นดอกตูมและพอดอกบาน กลีบดาหลาก็คลี่ออกมาดังเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงชัชวาล
ลักษณะทางพฤกษ์ศาสตร์
การปรุงอาหาร
นำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้ หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน
สรรพคุณทางยา
ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีแยกหน่อ และที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีดตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถุงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก หรือโดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก หรือจะปักชำหน่อแก่ โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลงก็ทำได้เช่นกัน
การขยายพันธุ์
ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
ปัจจัยการผลิต
แสง ดาหลาเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้
ฤดูปลูก การปลูกดาหลาสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งดาหลาจะมีการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและแตกหน่อ ช่วงที่ดาหลาแตกหน่อได้มากคือ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม แต่ในที่ ๆ มีน้ำเพียงพอไม่จำเป็นต้องรอฤดูฝน
การเตรียมแปลงปลูกดาหลา
พื้นที่ดอน ทำการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด พื้นที่ลุ่มทำการขุดยกร่องสวน มีคูน้ำลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตามขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด เตรียมดิน โดยไถพรวนดิน แล้วขุดหลุมปลูก จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูก
ดาหลาแบบไม่ยกร่องสวน จะทำ การไถปรับดินให้สม่ำเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอก แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลักเช่น ไม้ผล
การปลูกขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะปลูกในระยะ 2×2 เมตร โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้ว สังเกตให้หน่อนั้น ๆ
มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้สูงประมาณ 6 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม อาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น หาไม้หลักมาผูกติดกับลำต้นกันต้นโยก
ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการน้ำในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้เป็น 2-3 วันต่อครั้ง ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย บนแปลงที่ไม่ยกร่อง
การกำจัดวัชพืชจะต้องกระทำมากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมาก ๆจะทำให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื้นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทำการกำจัดวัชพืชมากนัก
ดอกดาหลาที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้มีอายุประมาณ 2 อาทิตย์ นับตั้งแต่เริ่มแทงหน่อดอก ตัดดอกในช่วงเช้าโดยการตัดก้านดอกให้ยาวชิดโคนต้น แล้วแช่ก้านดอกลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่นำส่งจำหน่ายในท้องตลาดได้.
ฤดูกาลออกดอก: ออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม – พฤษภาคม
การดูแลรักษา
เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้ สามารถปลูกได้ทุกฤดู ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน
น้ำดอกดาหลา
น้ำดอกดาหลาเป็นเครื่องดื่มสีแดง รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ใช้ดื่มแก้กระหายคลายร้อน (ผลของดอกดาหลา และต้นหยวกดาหลาสามารถนำมาแกงส้มได้)
วัตถุดิบที่ใช้
ขั้นตอนในการผลิต
ประโยชน์ของน้ำดอกดาหลา
ดื่มแก้กระหาย คลายร้อน ชุ่มคอ ชื่นใจ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน, สมุนไพร