ดินสอพอง ผงแร่ประเทืองผิว

ดินสองพองเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ผลิตจากดินธรรมชาติกับน้ำ คนไทยส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมานาน โดยมักใช้ร่วมกับแป้ง หรือเครื่องหอม เพื่อประพรมตามร่างกายในหน้าร้อน หรือ ปัจจุบันใช้ในเทศกาลสงกรานต์

ดินสอพอง หรือ มาร์ล เป็นเป็นผงแร่ที่ได้จากธรรมชาติ มีลักษณะเป็นก้อนหรือผงสีขาว สีขาวขุ่น ขาวออกเหลืองขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ นิยมนำมาใช้สำหรับร่างกายในด้านความสวยความงาม และมีใช้ในภาคครัวเรือน และอุตสาหกรรมบางส่วน

dinsopong

ดินสอพองมีองค์ประกอบหลักเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CO3) และแร่ดินเหนียว หรือเรียกว่า หินปูนเนื้อดิน รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม ซิลิกา เหล็ก และอาราโกไนต์ เป็นต้นสามารถพบได้ในชั้นดินที่มีกลุ่มของหินปูนเนื้อดินซึ่งจะพบอัตราส่วนของแคลเซียมคาร์บอเนตมากกว่าแร่ดินเหนียว ลักษณะของกลุ่มดินสอพองที่พบในชั้นดินจะมีลักษณะเป็นกลุ่มดินสีขาวขุ่นแทรกตัวอยู่ในชั้นดิน

ดินสอพองมีลักษณะเป็นดินขาวมีสารประกอบหินปูนที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ผสมอยู่มากกว่า 80 % ซึ่งดินที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตผสมอยู่จำนวนมากนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดินมาร์ล (Marl) ดินนี้เมื่อถูกกับกรดจะทำปฏิกริยาให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อหยดน้ำมะนาวซึ่งเป็นกรดลงบนดินสอพอง ดินสอพองจะเกิดการพองตัวขึ้นเป็นฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลอยตัวออกจากเนื้อดิน โดยทั่วไปเปลือกดินมีสีดำหนาประมาณ 0.5 – 2 เมตร

dinsopongdin

ดินสอพองเป็นดินที่ขุดจากพื้นผิวดิน เป็นสีขาวหรือบางคนเรียกว่า ดินสุก พบมากที่จังหวัดลพบุรี เมื่อขุดดินได้ตามความต้องการแล้ว นำมาแช่ในถังไม้หรือในย่อที่ขุดไว้บนพื้นดิน กวนดินและน้ำให้เหลว กรองด้วยตะแกรงแล้วพักดินไว้ให้ดินนอนก้น แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง อีก 2-3 ครั้ง หรืออาจจะใช้ผ้าเนื้อละเอียด เพื่อกรองกรวดทราย แล้วพักดินรินน้ำใสที่อยู่ส่วนบนที่อาจจะมีละอองดำๆ ลอยอยู่พร้อมทั้งหน้าดินที่ปนสีดำออก แล้วจึงกวนดินสอพองให้เหนียว เพราะส่วนก้นถังจะเหนียวและแข็งส่วนบนจะเหลว จึงจำเป็นต้องกวนให้ผสมกัน แล้วนำไปหยอดเป็นเม็ดกลม ยอดแหลม เม็ดเท่าปลายนิ้วก้อย แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง ตากสัก 1-2 แดด เมื่อแห้งสนิทดี นำไปอบร่ำด้วยกำยานและเทียนอบให้หอม เพื่อนำไปใช้

มาร์ลเกิดในทะเลสาบพบได้ทั่วไปในตะกอบทะเลสาบปลายยุคน้ำแข็งโดยปรกติแล้วจะพบวางตัวอยู่ใต้ชั้นพีต มาร์ลมีประโยชน์เป็นตัวปรับสภาพดินและเป็นตัวการปรับสภาพดินที่เป็นกรดให้มีสภาพเป็นกลาง มีลักษณะอ่อน ร่วนซุย และเป็นวัตถุเนื้อดินที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของแคลเซี่ยมคาร์บอเนต เคลย์ และตะกอนขนาดทรายแป้งและพบเป็นปฐมภูมิภายใต้สภาพแวดล้อมแบบน้ำจืด (Hubbard and Herman, 1990)

ดินสอพองในประเทศไทย
พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็นหินปูนเนื้อมาร์ล (marly limestone) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีกรดซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น ดูเผินๆก็เห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง โบราณใช้ทำแป้งประร่างกายเพื่อให้เย็นสบาย เมื่อผสมน้ำหอมเข้าไปด้วยกลายเป็นแป้งกระแจะ ปัจจุบันนี้ใช้มากในการแก้ดินเปรี้ยว ผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะเสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ดินสอพอสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย แต่จะพบ และมีการขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์มากในแถบพื้นที่ที่มีหินปูน ได้แก่

  • ภาคกลาง ได้แก่ สระบุรี ลพบุรีนครสวรรค์
  • ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี
  • ภาคเหนือ ได้แก่ เพชรบูรณ์ ตาก ลำปาง เชียงใหม่
  • ภาคอีสาน ได้แก่ เลย ชัยภูมิ
  • ภาคใต้ ได้แก่ กระบี่

การนำมาใช้ประโยชน์

  1. ใช้สำหรับเป็นส่วนผสมสำหรับประเทืองผิว และในด้านความสวยความงามต่างๆ
  2. ใช้เป็นสารปรับปรุงดิน เนื่องจากมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ที่ให้ความเป็นด่างได้ดีสำหรับปรับสภาพดินที่เป็นกรด และสำหรับการฆ่าเชื้อในดิน นอกจากนั้น ยังมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียมที่อยู่ในรูปสารประกอบต่างๆ สามารถเป็นแร่ธาตุอาหารให้แก่พืชได้
  3. ใช้สำหรับการปรับความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ ทำให้น้ำมีสภาพเป็นด่างมากขึ้น เช่น กระบวนการบำบัดน้ำเสีย หรือ เติมปรับสภาพน้ำในแหล่งน้ำขังตามบ้าน ฟาร์ม แปลงเกษตร เป็นต้น
  4. ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อในดิน ฆ่าเชื้อในแหล่งน้ำ เช่น ใช้โรยฆ่าเชื้อบริเวณฟาร์มหรือคอกปศุสัตว์ เป็นต้น
  5. ช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิ
    – อุตสาหกรรมผลิตปูน เช่น เป็นส่วนผสมของการผลิตปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ขาว
    – อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ เช่น ใช้ขัดผิวไม้ ขัดเฟอร์นิเจอร์
    – อุตสาหกรรมขึ้นรูปโลหะ เช่น ใช้ขัดทำความสะอาดผลิตภัณฑ์ทอง ทองแดง เงิน นาค อะลูผลิตภัณฑ์โลหะอื่นๆ

การใช้ประโยชน์ด้านร่างกาย

  1. ดินสอพองถือเป็นสมุนไพรรสยาเย็น ใช้แก้พิษร้อนกับร่างกาย ถอนพิษอักเสบ แก้ผด ผื่น และคัน และที่พิเศษคือเป็นยาห้ามเหงื่อนอกจากไม่ทำให้ร่างกายเหนียวเหนอะจากอากาศร้อนแล้ว ยังทำให้ร่างกายเย็นสบาย
  2. การใช้ดินสอพองประหน้า สามารถป้องกันแดดด้วยมีฤทธิ์คล้ายยากันแดดชนิดกายภาพ และนักวิจัยเพิ่งพบว่าเป็นยากันแดดได้ดี
  3. มีสรรพคุณช่วยขจัดสิวเสี้ยน ลดอาการปวดบวมจากการอักเสบเขียวช้ำ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น เมื่อนำมาผสมกับสมุนไพรแล้วนำมาขัดผิว ขัดตัว พอกหน้า จะได้ผลดียิ่งขึ้น เหมาะกับผิวมัน เพราะหากใช้กับผิวแห้งจะทำให้ผิวยิ่งแห้งไปกว่าเดิม
  4. ใช้ขัดผิว คือ ดินสอพองผสมขมิ้นและมะขามเปียก ขัดหน้าขัดผิว ช่วยให้ผิวพรรณสดใสสวยงาม หรือใช้ดินสอพองผสมขมิ้น ลิ้นทะเล และพิมเสน ใช้ลอกฝ้า เป็นต้น
  5. นำดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง ก็มีสรรพคุณชั้นเยี่ยมในการรักษากลากเกลื้อนได้เช่นกัน
  6. ใช้ดินสองพอง ขมิ้นชัน ไพล เหงือกปลาหมอ ผสมรวมกันถ้าใช้เต็มสูตรนอกจากได้สีออกเหลืองๆ แล้ว เมื่อนำไปทาตัวไปจะเป็นเหมือนการขัดผิวนั่นเอง
  7. ใช้ทาแก้ผิวหนังแพ้ ลมพิษ และผื่นคัน ให้ผสมดินสอพองกับใบเสลดพังพอนตัวเมีย(พญายอ) สูตรนี้เป็นแป้งน้ำไทยหรือเรียกว่าคาลาไมน์สมุนไพร (จะมีสีเขียว) ถ้าจะเปลี่ยนเป็นสีสันฉูดตาขึ้นบ้าง เหยาะน้ำยาอุทัยใส่ดินสอพอง ละลายน้ำก็จะได้แป้งน้ำสีสวยๆ อีกขนานหนึ่งหรืออยากได้สีส้มแสด ก็เอาชาดอกคำฝอยมาชงน้ำร้อน ใช้น้ำมาผสมดินสอพอง หรือต้องการสีน้ำเงินม่วงเด็ดดอกอัญชันมาขยี้ละลายน้ำ ถ้าต้องการสีแดง ไปถากเอาเปลือกต้นสะเดาใส่น้ำต้มให้เดือด หรือที่หาง่ายๆก็ใช้ดอกกระเจี๊ยบแดงต้มน้ำก็ได้สีแดง
  8. ช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษเผ็ดที่โดนพริก ใช้ดินสอพองผสมน้ำทาบริเวณที่ร้อน
  9. ผสมน้ำมะกรูด หรือน้ำมะนาว ทาแก้หัวโน

การผลิต
ขั้นแรก คือ การหาแหล่งบ่อดินสอพอง และขุดตักมากองบริเวณบ่อแยกกากหรือบ่อกาก เพื่อแยกส่วนประกอบอย่างอื่นออก เช่น เศษหิน เศษไม้ เป็นต้น ด้วยการใส่ดินสอพองลงในบ่อ และเติมน้ำให้ท่วม พร้อมเดินย่ำบ่อให้ดินละลาย ส่วนที่เป็นดินสอพองจะแขวนลอยอยู่ด้านบน ส่วนที่เป็นเศษหินหรือดินจะนอนตกตะกอนลงส่วนล่าง

dinsopongceeddinsopongtaer

เมื่อดินสอพองละลายในน้ำดีแล้วจนเหลือแต่ส่วนที่หนักจมลงด้านล่าง ให้ตักหรือสูบน้ำด้านบนใส่ในบ่อพักน้ำดินสอพองหรือบ่อเนื้อเพื่อรวบรวมน้ำดินสอพอง ให้แยกจากเศษวัสดุต่างๆ

dinsopongron

ขั้นที่สอง ตักหรือดูดน้ำจากบ่อเนื้อลงในบ่อตกตะกอนหรือบ่อทำแผ่น โดยทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อดินสอพองตกตะกอน หลังจากนั้น ทำตักน้ำส่วนด้านบนออกจนเหลือแต่ตะกอนดินสอพองที่มีลักษณะเป็นโลนเหลวอยู่ด้านล่าง

dinsopongbo

ขั้นที่สาม ทำการตักโคลนดินสอพองใส่ในแม่พิมพ์หรือปั้นเป็นก้อนวางตากบนลานตากที่ปูรองพื้นด้วยผ้าใบเพื่อดูดซับน้ำ ทิ้งไว้ประมาณ 2-5 ชั่วโมง ก้อนดินสอพองจะหมาดเกาะกันเป็นก้อนจนสามารถหยิบจับได้ แล้วจึงนำมาตากบนตะแกรงไม้ไผ่ต่อประมาณ 2-3 วัน ก็จะเป็นก้อนแห้งสนิท

dinsopongleaw dinsopongtuk dinsopongshet dinsopongs dinsoponglann

ข้อแนะนำ

  • การใช้ดินสอพองในการพอกหน้าอาจทำให้หน้าตึง และลดความชุ่มชื้นได้ เนื่องจากดินสอพองสามารถดูดซับความชื้นได้ดี และเมื่อละลายน้ำจะมีฤทธิ์เป็นด่าง โดยเฉพาะดินสอพองที่มีลักษณะเป็นผงสีขาวมาก เพราะมีความบริสุทธิ์ของแคลเซียมคาร์บอเนตสูง
  • ดินสอพองที่ผลิตไม่ควรใกล้แหล่งโลหะหนักหรือไม่ควรมีโลหะหนักปะปน เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม เป็นต้น
  • การใช้ดินสอพองแบบผง เช่น การหว่านโรย ควรสวมผ้าปิดจมูกทุกครั้งเพื่อป้องกันการสูดดมเข้าร่างกาย
  • เนื่องจากดินสอพองเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากดินธรรมชาติผสมกับน้ำแล้วนำมาตากแดดกลางแจ้ง ดังนั้นจึงมีโอกาสการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และจากการสังเกตุตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์นั้น ไม่สามารถจะระบุวิธีสังเกตได้ เพียงแต่ผู้บริโภคควรจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้ อย่าใช้กับบริเวณที่มีบาดแผล รอยถลอก หรือเข้าปาก เพราะจะเป็นทางที่เชื้อจุลินทรีย์จะเข้าสู่ร่างกายได้ ดินสอพองที่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อนในปริมาณมากและมีจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้ดังนี้ คือ ถ้าเข้าสู่ร่างกายทางตา สิว บาดแแผลอื่นๆ หรือเข้ากระแสโลหิต อาจมีผลให้เกิดการอักเสบรุนแรง โดยเฉพาะเชื้อ Pseudomonas aeruginosa อาจทำให้ตาอักเสบรุนแรงถึงตาบอดได้ สำหรับเชื้อ Escherichia coli, Salmonella spp. และ Clostridium spp ถ้าเข้าร่างกายทางปากอาจทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้

ไข่เค็มดินสอพอง

dinsopongkai
วิธีการทำไข่เค็มดินสอพอง
ไข่เค็มดินสอพอง ริเริ่มการผลิตและจำหน่ายโดยกลุ่มแม่บ้านกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา ศูนย์ สงครามพิเศษ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดลพบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2532 โดยใช้ดินสอพอง 3 ส่วน นำมาผสมกับเกลือ 1 ส่วน และน้ำพอสมควรคลุกให้เข้ากัน นำไข่เป็ดลงชุบให้ติดส่วนผสมแล้วคลุกในขี้เถ้าแกลบ ใส่ถุงพลาสติกปิดให้แน่นอย่าให้อากาศเข้า, ใช้ประกอบอาหารได้หลายรูปแบบคือหลังจากทำได้ 3 วัน, ใช้ทำไข่หวาน 5 วัน ทำไข่ดาว 15 วันนำไปต้มทำไข่เค็มหรือนำไปทำไข่เค็มผัดพริกขิง และแกงเขียวหวานปลากรายยัดไส้ไข่เค็ม
ประโยชน์ เป็นการถนอมอาหารเก็บไว้รับประทานได้หลายรูปแบบที่สำคัญไข่เค็มดินสอพอง จะมีที่จังหวัด ลพบุรี แห่งเดียวในประเทศไทย

dinsopongkem

 

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

แสดงความคิดเห็น