ดินหอม ดินหมักจากจุลินทรีย์พื้นบ้าน

4 มกราคม 2558 ดิน 0

ดินหอมคือดินธรรมดาแต่จะให้แร่ธาตุคือนำสารอาหารจากพืชผสมในดิน วิธีการคือจะหมักพืชเป็นชนิด ๆ ว่าพืชอะไรป้องกันอะไรและเสริมอาหารอะไร เอาพืชหลากหลายมาสกัดทดลอง การทำดินหอมคือผสมดินกับแกลบ รำ กับเอ็นพีเคเอ็นคือไขมันจากปลา พืชน้ำมัน พีคือกล้วยอ่อน เคก็คือไม้สุกได้กล้วย มะละกอสุก ซึ่งเราสามารถเลือกผสมแต่ละชนิด ซึ่งเป็นดินร่วน ซุย แต่หากเป็นดินลูกรังต้องนำมาร่อนเพื่อเอาก้อนกรวดออก

การผลิต ดินหมัก จาก จุลินทรีย์พื้นบ้าน หรือ ราใบไม้สีขาว
จุลินทรีย์พื้นบ้านสายพันธุ์ราใบไม้สีขาว จะทำหน้าที่ย่อยสลายเศษซากพืชซากสัตว์ให้เป็นผุยผง ปลดปล่อยธาตุอาหารพืช (ปุ๋ย) ทำให้ดินดีเหมือนดินป่าเปิดใหม่ ในทุกปี เมื่อนำมาผลิต ดินหมักและน้ำหวานหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน สามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับชาวสวนผลไม้ได้หลายอย่าง อาทิ ช่วยชีวิตทุเรียนให้รอดตายจากการราดสารเคมีทำลาย แก้ปัญหาหน้ายางตาย แก้ปัญหาเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งกัดกินน้ำเลี้ยงลูกเงาะ และ ทุเรียน ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาขี้กลากหนังคางคกเกาะต้นลองกอง แก้ปัญหาหนอนชอนต้นทุเรียน เพิ่มปริมาณและคุณภาพน้ำยาง เพิ่มปริมาณและคุณภาพของไม้ผล ที่สำคัญช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยให้ชาวสวนมีสุขภาพดีขึ้น

dinhomsoot

คุณปรีชาบอกวิธีการทำดินหมักจุลินทรีย์พื้นบ้านว่า เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเพาะราใบไม้สีขาว ก่อนอื่นต้องเตรียมสถานที่ที่มีหลังคา (ห่างไกลจากกองขยะปฏิกูล ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและสัตว์เลี้ยง) แล้วเตรียมรำหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน 1 ส่วน หน้าดิน (ดินในแปลงเพาะปลูก) 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน จากนั้นคลุกเคล้าหน้าดินกับแกลบดำให้เข้ากันก่อน ตามด้วยรำหมักคลุกเคล้าให้เข้ากัน พรมน้ำให้ทั่วกองคลุกเคล้าให้ได้ความชื้น 65% ทั่วทั้งกอง แล้วกองดินเป็นรูปหลังเต่าสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร ถ้าเป็นพื้นปูนควรปูรองพื้นด้วยพลาสติกหรือกระสอบปุ๋ยเพราะจุลินทรีย์จะย่อยปูนจนผุ

จากนั้นคลุมกองดินด้วยกระสอบป่านหรือตาข่ายพรางแสง แล้วปักเทอร์โมมิเตอร์ลงลึกครึ่งกองเพื่อควบคุมอุณหภูมิไม่เกิน 64 องศาเซลเซียส หมักทิ้งไว้ประมาณ 20 วันโดยไม่ต้องกลับกองดิน จะกลายเป็นดินหมักซึ่งเต็มไปด้วยจุลินทรีย์พื้นบ้าน เสมือนโรงงานปุ๋ยที่มีคนงานเป็นล้านช่วยย่อยเศษซากพืชซากสัตว์ ให้เป็นปุ๋ย ถือเป็นการสร้างดินเพื่อช่วยชุมชน และชุบชีวิตดินให้กลับมาอุดมสมบูรณ์

จากการใช้ดินหมักและน้ำหมักจุลินทรีย์พื้นบ้านในสวนไม้ผลของตนเอง ทั้งเงาะ มังคุด ทุเรียน กระท้อน มะม่วง มะปราง มะพร้าว ชมพู่ นาข้าว และแปลงผักสวนครัวทดแทนการใช้สารเคมี ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างการใช้ดินหอมสำหรับสวนยาง / ผลไม้ใช้ 1 ไร่ ต่อดินหอม 50 กก.พบว่ายางไม่เป็นโรคเพิ่ม 1 เดือนก็เห็นผล

dinhomtam

หากสนใจการผลิตดินหมัก และน้ำหมักเพื่อสร้างผืนดินหอมของตนเอง สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 81 หมู่ 1 บ้านคลองหิน ตำบลห้วยทับมอญ กิ่งอำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง โทร. 08-9096-8681.

การทำจุลินทรีย์ก้อนดินหอม

ส่วนประกอบ

  1. ดินบริสุทธิ์ 1 ส่วน (ดินบริสุทธิ์ คือ ดินที่มีชีวิต ไม่ผ่านการใช้สารเคมี เช่น ดินป่า ดินกอไผ่ ดินใต้โคน ต้นไม้ใหญ่ หรือดินที่มีราใบไม้สีขาวปกคลุมอยู่ โดยนำหน้าดินลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร)
  2. รำละเอียด 1 ส่วน
  3. น้ำสะอาด
  4. น้ำตาลอ้อยหอม น้ำตาลสีรำ หรือน้ำตาลทรายแดง

กรรมวิธี

  1. คลุกเคล้าดินบริสุทธิ์กับรำให้เข้ากัน
  2. ละลายน้ำตาลสีรำ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ราดรดส่วนผสม
  3. ยีให้มีความชื้น 65% ปั้นเป็นก้อน
  4. บ่มเชื้อไว้ในที่ร่ม กันแดดฝน คลุมด้วยกระสอบป่าน เศษผ้าหรือใบไม้แห้ง 15 วัน

การนำไปใช้

  1. โรยใส่กระถาง แปลงผัก โรยบางๆ 1ขีดต่อ 2 ตารางเมตร
  2. โรยใส่กองใบไม้หมัก ย่อยใบไม้ เศษผัก กองปุ๋ยหมัก
  3. ย่อยฟางข้าว ดินหอม 1 ก้อนต่อน้ำ 1000 ลิตร
  4. บำบัดน้ำเสีย ดินหอม 1 ก้อนต่อน้ำ 1000 ลิตร
  5. ดับกลิ่นห้องน้ำ ห้องส้วม (ย่อยปฏิกูล) ดินหอม 1 ก้อนต่อ 1 บ่อ

การทำจุลินทรีย์น้ำ
ดินหอม 1 ก้อน น้ำ 10 ลิตร น้ำตาลอ้อยหอมครึ่งกิโลกรัม หมักไว้ 15 วัน คนเช้าเย็น

ที่มา
เกษตรกรรมธรรมชาติ ฉ.9/2552

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น