ด้วงสาคู อาหารพื้นบ้านโปรตีนสูง

9 กุมภาพันธ์ 2557 สัตว์ 0

“ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน จัดเป็นแมลงอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมบริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากขนาดของตัวหนอนค่อนข้างโต มีน้ำหนักดีและขายได้ราคาดี มีวงจรชีวิตสั้น มีโปรตีนสูงเช่นเดียวกับแมลงชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันมากในเขตพื้นที่ภาคใต้ของไทย เกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้จะเลี้ยงด้วงสาคูในท่อนสาคูหรือท่อนลาน ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การเลี้ยงด้วงสาคูให้ประสบความสำเร็จคือเรื่องของความสะอาดและการจัดการเลี้ยงอย่างมีระบบ อาทิ สถานที่เลี้ยงจะต้องไม่มีน้ำท่วมขังและบริเวณที่เลี้ยงสามารถวางตากแดดและตากฝนได้ แต่ต้องมีกระดานทำจากกาบต้นไม้ที่เลี้ยงครอบปิด

nonsakoobanto

ด้วงสาคูเป็นอาหารพืื้นบ้านชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคกันทั่วไปโดยเฉพาะชาวใต้นิยมนำมาทอด ผัดเป็นอาหารเนื่องจากด้วงมีรสชาติอร่อย หอม มัน และยังมีโปรตีนสูง ด้วงชนิืดนี้หาได้จากป่าสาคูและป่ามะพร้าวตามธรรมชาติ การเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมังเป็นอาชีพที่ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ลงทุนน้อย เลี้ยงง่ายได้ผลผลิตเร็วและที่สำคัญตลาดมีความต้องการสูง

nonsakoostep

การเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง
วัสดุอุปกรณ์

  1. สาคูบด
  2. กะละมัง No. 50-69
  3. ไม้แบนๆ รับน้ำหนัก 50 กิโลกรัมขึ้นไปได้
  4. อาหารหมูรุ่นใหญ่+รำข้าว
  5. ฝาปิดพลาสติกแบบมีช่องระบายอากาศได้หรือเปลือกต้นสาคู
  6. เครื่องบดย่อยพืชสด

ขั้นตอนการเลี้ยง

  1. นำทางเนื้อสาคูที่เพิ่มตัดมาแล้วนำไปบด
  2. นำสาคูที่ได้ไปแช่น้ำธรรมดาประมาณ 3 วัน 3 คืนเพื่อฆ่ายางสาคูและให้สาคูมีความชื้นตามที่ธรรมชาติของด้วง
  3. ถ่ายน้ำออกแล้ววางให้สะเด็ดน้ำ
  4. จากนั้นนำมาใส่กะละมังให้เต็มอัดให้แน่น
  5. นำอาหารสุกรและรำเนียนอย่างละ 1 กำมือ ผสมลงไปให้เข้ากัน
  6. ปล่อยแม่พันธุ์และพ่อพันธุ์ของด้วงที่หาได้ตามธรรมชาติ ลงใน กะละมังในอัตรา 7-10 ตัว/หนึ่งกะละมัง
  7. ปิดฝาพลาสติกแบบมีช่องระบายอากาศหรือเปลือกต้นสาคู
  8. นำกะละมังมาวางซ้นกันเป็นชั้นๆ โดยใช้ไม้ไผ่วางรองรับน้ำหนักที่ขอบกะละมัง
  9. เมื่อเวลาผ่านไป 10 วัน ด้วงจะวางไข่และฟักเป็นตัวหนอน
  10. เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1 เดือน ก็สามารถคัดเลือกเอาตัวด้วงที่ได้ขนาดไปจำหน่ายได้
  11. ผลผลิตที่ได้รับประมาณ 1-3 กก./กะละมัง สามารถจำหน่ายได้ในราคา กก.ละ 250-500 บาท (ตามพื้นที่จังหวัด)

nonsakookala

nonsakookal

nonsakookalp

nonsakookalnon

nonsakookals
ข้อดีของการเลี้ยงด้วงจากต้นสาคู

  1. ลงทุนน้อย
  2. สะดวกในการหาวัสดุ สามารถหาได้ง่ายในพื้นที่ภาคใต้
  3. จำหน่ายได้ในราคาดี
  4. ใช้เวลาในการเลี้ยงไม่มาก ดูแลรักษาง่าย สะดวกต่อการจัดการ
  5. สะอาด เป็นที่ต้องการของตลาดหรือไว้ทานเอง

การเลี้ยงด้วงสาคูแบบธรรมชาติ
ขั้นตอนการเลี้ยง

  1. ตัดต้นสาคูเป็นท่อน ยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร
  2. นำมาวางเรียง แล้วใช้ขวานบากบริเวณผิวด้านหน้าเล็กน้อย
  3. เหยาะน้ำปลาเล็กน้อยบริเวณที่เป็นรอยบาก เพื่อเรียกให้พ่อ-แม่พันธุ์ด้วงมาวางไข่ หรือหากมีพ่อ-แม่พันธุ์ด้วงอยู่แล้วก็สามารถนำมาปล่อยที่ท่อนสาคูได้เลย (ปล่อยท่อนละ 10 ตัว)
  4. วางเปลือกมะพร้าวปิดไว้ด้านบนป้องกันไม่ให้พ่อ-แม่พันธุ์ด้วงสาคูบินหนีไป
  5. รดน้ำพอหมาดๆวันเว้นวัน (วันละครั้ง)
  6. พอครบ 1 เดือน ก็สามารถผ่าท่อนสาคูเพื่อนำตัวด้วงมาจำหน่าย

nonsakootonnonsakooban

การเพาะเลี้ยงและคัดแยกให้เป็นพ่อแม่พันธ์ที่ดี
เมื่อวันที่ 1 ปีที่ผ่านมา

เลี้ยงและคัดแยกให้เป็นพ่อแม่พันธ์ที่ดี

  1. ทำการคัดแยกตัวหนอนด้วงที่สมบูรณ์ อายุ 30 วันขึ้นไปเลือกเฉพาะตัวที่โตที่สุด แข็งแรง สมบูรณ์
  2. เตรียมกะละมังที่ใช้ในการคัดแยกเลี้ยง เบอร์ 59 ขึ้นไปหรือใหญ่กว่า
  3. เตรียมสาคู(แช่น้ำตามปกติ)+เปลือกมะพร้าวขุ่ยมะพร้าว(เพื่อทำรังเร็วได้ขึ้น)
  4. การวางอาหารลงในกะละมัง
    4.1 เปลือกมะพร้าวขุ่ยมะพร้าวรองพิ้น
    4.2 ตามด้วยสาคูลง(ปิดใยมะพร้าวทั้งหมด)
    4.3 ตามด้วยเปลือกมะพร้าวขุ่ยมะพร้าวลงเพิ่มอีกชั้น
    4.4 ใส่สาคูปิดทับบน
  5. ทำการปล่อยด้วงที่เลือกไว้ลงไป กะละมังละ 200 ตัวหรือตามขนาดกะละมัง
  6. ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15-25 วันจะมามารถเก็บแยกรังมาไว้ในกะละมัง ประมาณ 7 วันก็พร้อมที่จะวางไข่รุ่นต่อไป

nonsakooto

การเลี้ยงเพื่อให้ได้สายพันธ์ที่ดีต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ

  • การดูแลเอาใจใส่ดูศัตรู เช่น มด
  • นำตัวที่มาจากป่าโดยธรรมราชมาผสมบ้างเพื่อให้ได้สายพันธ์ที่ใหญ่ขี้น แข็งแรง

แม่พันธ์ที่ดีจะให้ผลผลิตตัวอ่อนสูงถึง 200-300 ตัว

nonsakoopan

การนำไปปรุงอาหาร
ผัด,ทอดน้ำปลาหมึก,ชุบทอด,เครื่องแกง,ทานกับข้าวต้ม ทำอาหารได้ประเภทเดียวกับเนื้อสัตว์ทั่วไป

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สัตว์

แสดงความคิดเห็น