ตะบูนดำ เป็นไม้ป่าชายเลนที่พบมากในที่ดินเลนแข็งน้ำท่วมถึงเล็กน้อย ขึ้นได้ดีในดินที่เป็นกรด รากหายใจ (pneumatophore) เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ไม้ตะบูนดำดำรงชีวิตอยู่ในเขตที่น้ำท่วมถึงเป็นเวลานานได้ ต้นสีดำแดงถึงดำ ใบยาวเข้มเป็นรูปใบพาย ออกดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเย็น และกลิ่นของดอกจะหอมมากขึ้นในเวลาเย็นถึงค่ำ ผลสีเขียว ไม่ใหญ่นัก พันธุ์ไม้ชนิดนี้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดีมาก ตัวต้นใช้ทำพื้นกระดานได้ดี เป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเด่นของไม้ชนิดนี้คือ มีรากหายใจ (pneumatophore) กลมบ้างแบนบ้างแล้วแต่สภาพของดินเลน โคนต้นมีพูพอน ต้นเล็ก สภาพลำต้นจะแตกต่างไปบ้าง คือ เปลือกเรียบ สีออกดำแดง มีร่องสีขาวเป็นทางยาวตามลำต้น เป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่งของไม้ป่าชายเลน ลำต้นมักเป็นโพรงเมื่อต้นแก่
ชื่อที่เรียก : ตะบูนดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Xylocarpus moluccensis
วงศ์ Meliaceae
ชื่ออื่น ๆ : ตะบูน, ตะบัน (กลาง, ใต้)
ลักษณะ
ตะบูนดำเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-35 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร เนื้อไม้สีน้ำตาล มีรากหายใจ รูปคล้ายกรวยคว่ำ กลม หรือแบน ปลายมน ยาว 20-40 เซนติเมตร จากผิวดิน
ขื้นกระจายในบริเวณทื่เป็นดินเลนค่อนข้างแข็ง เนื้อไม้มีสีและลวดลายสวยงาม ใช้ตกแต่ง ทำเฟอร์นิเจอร์ และก่อสร้างได้
นิเวศวิทยา พบตามป่าชายเลนในที่ดินเลนแข็ง น้ำท่วมถึงเล็กน้อย ตะบูนดำขึ้นได้ดีในดินที่เป็นกรด รากหายใจ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ไม้ตะบูนดำ ดำรงชีวิตอยูในเขตที่น้ำท่วมถึงเป็นเวลานาน
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ผล ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย แก้บิด แก้อหิวาห์ ตากแห้งและเผาไฟกับเห็ดพังกา เผากับน้ำมันมะพร้าว เป็นยาแก้มะเร็งผิวหนัง ถ้าผสมเปลือกพังกาจะทำให้แผลมะเร็งยุบตัวเร็ว เปลือก ต้มน้ำดื่มรักษาแผลภายใน ต้มตำให้ละเอียดพอกแผลสด
แหล่งข้อมูล
– หนังสือพรรณไม้ในป่าชายเลน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2549.
– วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง