ถั่วพร้า พืชปุ๋ยสดธาตุไนโตรเจนสูง

19 กันยายน 2557 ดิน 0

ถั่วพร้า เป็นพืชปุ๋ยสด (พืชที่ปลูกแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด) ที่เหมาะกับพื้นที่นาดอน ได้รับการยอมรับจากเกษตรกรจำนวนมาก ว่าทำให้ดินดำและข้าวงามดีเพราะให้น้ำหนักสด (เป็นปุ๋ยอินทรีย์) ถึง 2-3 ตันต่อไร่ เท่ากับเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์จำนวนมากให้แก่ข้าว โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยมาก นอกจากนี้ยังให้ปุ๋ยไนโตรเจน คิดเทียบเป็นปุ๋ยยูเรียได้ถึง 30-39 กิโลกรัมต่อไร่ จึงทำให้ลดการใช้ปุ๋ยเคมี โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนลงได้มาก และทำให้ข้าวมีผลผลิตและคุณภาพดีขึ้นด้วย

ถั่วพร้า เป็นพืชประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจในปัจจุบัน เพราะเป็นพืชที่ให้ธาตุไนโตรเจนในปริมาณสูง จึงนำมาทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐก็ให้การสนับสนุนในการเพาะปลูก เนื่องจากสามารถเพาะปลูกได้ง่าย มีค่าใช้จ่ายต่ำในการนำมาใช้ประโยชน์ และไม่ส่งกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ถั่วพร้าเมล็ดยาว (Jack bean)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canavalia ensiformis
ลักษณะโดยทั่วไป เป็นพืชตระกูลถั่วเมืองร้อน ส่วนใหญ่พบว่ามีการเพาะปลูกในเขตร้อนชื้นของทวีปอเมริกา เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์หรือปลูกเป็นพืชหมุนเวียนสลับกับพืชหลัก เมล็ดและฝักของถั่วพร้ามีความเป็นพิษ จึงไม่นิยมที่จะนำมาบริโภค แต่ก็สามารถบริโภคฝักอ่อน ใบ หรือเมล็ดที่ผ่านกระบวนการชะล้างพิษ เช่น คั่ว หรือต้มถ่ายน้ำหลาย ๆ ครั้งได้ ลักษณะเป็นทรงพุ่มเจริญเติบโตและปรับตัวได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศเกือบทุกภาคของประเทศไทยได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีลำต้นแข็งแรงและระบบรากลึก สามารถขึ้นได้ดีในสภาพดินเหนียวและดินกรด ปลูกในช่วงเวลาต้นฤดูฝน

taopramed

ลักษณะลำต้นของถั่วพร้าเป็นเถา ซึ่งสามารถเลื้อยสูงได้ถึง 10 เมตร อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรพบว่า สามารถปลูกในลักษณะไม้พุ่มได้ เพราะลำต้นมีเนื้อไม้แข็งเป็นแกน โดยจะมีความสูงประมาณ 60 120 เซนติเมตร ลักษณะของใบเป็นใบรวมแบบสามใบ (trifoliolate) มีรูปร่างมนค่อนข้างกลมคล้ายไข่ ยาว 7 12 เซนติเมตร ดอกเป็นกลุ่ม มีสีชมพู แต่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีความแตกต่างคือ ปลายดอกจะมีสีแดง ทั้งสองชนิดมีกลีบเลี้ยงโค้ง ส่วนบนมีสีขาว ภายในดอกมีเกสรครบทั้งสองเพศ และส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 80 ของการติดผล) จะผสมพันธุ์กันเองภายในดอก

ถั่วพร้าชอบทำเลพื้นที่ที่มีแดดค่อนข้างจัด แต่ก็สามารถขึ้นได้ดีในบริเวณพุ่มเงาไม้ ทนแล้งและเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย ประมาณ 700 มม. จนกระทั่งฝนตกมากถึง 4,200 มม. ต่อปี โดยทั่วไปชอบดินดอนระบายน้ำดี ทนต่อสภาพความเค็มได้ดีกว่าพืชถั่วชนิดอื่น ๆ
เพื่อใช้คลุมดิน ป้องกันการชะล้างพังทลายใช้คลุมได้อายุสั้นไม่เกิน 6 เดือน เพราะมีทรงพุ่มแตกกิ่งก้านสาขาได้ดี ใบขนาดใหญ่ประสานกัน มีจำนวนมาก จึงสามารถป้องกันเม็ดฝนตกกระทบผิวดินได้ น้ำหนักสดที่มีผลต่อการคลุมดิน ประมาณ 4 ตันต่อไร่ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์สูง

taopraton

ลักษณะของฝักจะมีรูปร่างคล้ายดาบ ห้อยปลายลง เมื่อสุกจะมีสีเหลืองคล้ายฟางข้าว ถั่วพร้าเมล็ดยาวจะมีขนาดฝักกว้าง 3 3.5 เซนติเมตร ยาว 15 35 เซนติเมตร เมล็ดมีสีขาวคล้ายงาช้าง มีขนาด 1.5 2 เซนติเมตร ขั้วเมล็ด (hilum) ยาว 0.5 1 เซนติเมตร ในขณะที่ถั่วพร้าเมล็ดแดงจะมีขนาดฝักกว้างประมาณ 3.5 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 40 เซนติเมตร เมล็ดมีสีแดงอมน้ำตาล มีขนาด 2 3.5 เซนติเมตร ขั้วเมล็ดยาว 1.5 2 เซนติเมตร

วิธีการปลูก ปลูกเป็นหลุม ระยะปลูก 50 x 50 ซม.ใช้เมล็ดอัตรา 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ วิธีการหว่านแล้วพรวนกลบเมล็ด ถ้าปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ใช้ระยะปลูก
70 x 100 ซม. อัตราเมล็ด 10 กิโลกรัมต่อไร่

taopraklataopraplangon taopraplang

การใช้ประโยชน์

  • เพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ควรทำการไถกลบเมื่ออายุประมาณ 64 วัน ระยะออกดอกให้ผลผลิตน้ำหนักสด 3-4 ตันต่อไร่ ให้ปริมาณธาตุไนโตรเจนประมาณ 35.55 กิโลกรัมต่อไร่

ปริมาณธาตุอาหารที่ได้ หลังจากไถกลบ 2-3 สัปดาห์ สามารถปลูกพืชหลักตามได้ มีเปอร์เซ็นต์ธาตุอาหาร N, P, K ประมาณ 3.04, 0.37 และ 3.12 ตามลำดับ

ถั่วพร้าเมล็ดแดง (Sword bean)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canavalia gladiata
ลักษณะโดยทั่วไป ส่วนใหญ่พบว่ามีการเพาะปลูกในเขตเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในลักษณะของผักสวนครัว โดยจะบริโภคฝักอ่อนและเมล็ดอ่อน นอกจากนี้ยังสามารถนำเมล็ดแก่ไปคั่วเพื่อบริโภคแทนกาแฟได้ ลักษณะแตกต่างจากถั่วพร้าเมล็ดขาวตรงที่จะมียอดออกสีแดงและเลื้อย ฝักจะมีขนาดใหญ่กว่า และเมล็ดจะมีสีแดง หรือสีแดงลายี

วิธีการปลูก การใช้ประโยชน์และปริมาณธาตุอาหารที่ได้เช่นเดียวกันกับถั่วพร้าเมล็ดขาว

taoprafag taopradok

วิธีการเพาะปลูกที่ใช้ปฏิบัติกันอยู่มี 3 วิธี คือ

  • ปลูกแบบหว่าน เป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงานที่สุด ทำโดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่ว ในอัตรา 8 – 10 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วพรวนดินกลบเมล็ด
  • ปลูกแบบโรยเป็นแถว เป็นวิธีที่ค่อนข้างช้าและสิ้นเปลืองแรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีแรก แต่จะทำให้ได้ต้นถั่วพร้าที่ขึ้นเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบ ทำโดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ซึ่งมีระยะระหว่างแถว 75 – 100 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 5 – 8 กิโลกรัมต่อไร่
  • ปลูกแบบหยอดเป็นหลุม เป็นวิธีที่ล่าช้า สิ้นเปลืองแรงงาน และไม่สะดวกในทางปฏิบัติที่สุด แต่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในกรณีที่มีปริมาณเมล็ดพันธุ์จำกัด ทำโดยการขุดหลุดเล็ก ๆ ลึกประมาณ 5 7.5 เซนติเมตร มีในระยะระหว่างแถวของหลุมประมาณ 75 90 เซนติเมตร และระยะระหว่างหลุมในแถวเดียวกันประมาณ 45 60 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 – 3 เมล็ดต่อหลุมแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ในอัตรา 3 – 5 กิโลกรัมต่อไร่

taoprafug taopratai

ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น