ถั่วพูเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่คนไทยรู้จักดีโดยการนำฝักอ่อนมารับประทาน ภายหลังที่ได้พบว่าถั่วพูมีความสามารถพิเศษ
ในการตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศ และเปลี่ยนเป็นโปรตีนของส่วนต่าง ๆ ทำให้ส่วนเหล่านั้นมีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น
ถั่วพู (Winged bean)
พืชตระกูลถั่ว(Leguminosae)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Psophocarpus tetragonolobus(Linn) DC.
ชื่ออื่น ๆ : ถั่วพูจีน, ถั่วพูใหญ่, ถั่วพูตะขาบ
วงศ์ : papilioneae
ลักษณะทั่วไป :
ถั่วพูเป็นไม้เลื้อยประเภท climbing perennial ส่วนเหนือดินเป็นพืชล้มลุก แต่ส่วนใต้ดินจะอยู่ได้นานข้ามฤดูกาล ใบเป็นใบย่อย 3 ใบ มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปคล้ายสามเหลี่ยม (deltoid) รูปไข่ (ovate) รูปใบหอก (lanceolate) ลำต้นมีสีเขียวและเขียวปนม่วง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ลักษณะเป็นช่อ (inflorescence) ตั้งตรงแบบ raceme ช่อหนึ่ง ๆ ประกอบด้วย 3-12 ดอก แต่พบดอกที่บาน 2-4 ดอก และติดฝักเพียง1-2 ฝักเท่านั้น ฝักมีความยาวตั้งแต่ 11.2-29.9 เซนติเมตร รูปร่างฝักเป็นฝักสี่เหลี่ยมมีปีก 4 ปีก เมื่อตัดตามขวางแบ่งได้เป็น 4 แบบคือ rectangular, semi flat, flat on sides และ flat on suture สีฝักมีทั้งสี เขียว ม่วง และเหลือง ผิวฝักแบ่งได้เป็น2 แบบคือ ผิวเรียบและผิวหยาบมาก ในฝักหนึ่ง ๆ มีเมล็ดตั้งแต่ 8-20 เมล็ด เมล็ดมีสีตั้งแต่ขาว เหลือง ครีม น้ำตาล ดำและลวดลายต่าง ๆ เมล็ดมีขนาดต่าง ๆ กัน โดยมีน้ำหนัก 100 เมล็ดอยู่ในช่วง11-45.6 กรัม ส่วนใหญ่เมล็ดมีสีน้ำตาล รากของถั่วพู เป็นรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีปมซึ่งเป็นที่อยู่ของเชื้อไรโซเบียมจำนวนมาก
การบริโภค ฝักอ่อน นิยมบริโภคเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร ผัด ลวก แกง ยำถั่วพู
คุณค่าทางอาหาร ในส่วนที่บริโภคได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
ปริมาณโปรตีน ใบ 5.7 เปอร์เซ็นต์ ดอก 5.6 เปอร์เซ็นต์ ฝัก1.9-3.0 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดแก่ 29.8-37.4 เปอร์เซ็นต์ และหัว 10.9 เปอร์เซ็นต์
เมล็ดแก่ มีคุณค่าทางอาหารใกล้เคียงกับถั่วเหลือง ช่วยเสริมวิตามินเอให้กับร่างกาย นอกจากนี้ในเมล็ดแก่ยังมีน้ำมัน 15.0-18.3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักสด ซึ่งประกอบด้วย unsaturated fatty acid, alpha และ beta tocopherol ในปริมาณสูง
สรรพคุณทางยา หัว นำมาตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มแก้อาการอ่อนเพลีย ฝักอ่อน บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ในเด็กทารก ใบ แก้อาเจียน
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ดอกอ่อน ใบอ่อน ฝักอ่อน รสมัน (กินเป็นผัก) และหัวใต้ดิน (กินเป็นอาหารแป้ง)
คนไทยทุกภาคกินฝักอ่อนถั่วพูเป็นผัก มีทั้งที่กินสด ลวกราดน้ำกะทิ กินแกล้มกับน้ำพริกต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำพริกปลาร้า อาจใช้ประกอบอาหารยำ ลาบ ผัดกับน้ำมัน นำมาหั่นใส่ในทอดมันหรือแกงเผ็ดก็ได้
ส่วนทางใต้กินยอดอ่อน ดอกอ่อน และฝักอ่อน เป็นผักสด หรือนำไปต้ม ผัด ใส่แกงส้ม แกงไตปลา
ญี่ปุ่นใช้ฝักอ่อนถั่วพูทอดเทมปุระ ปรุงอาหารกับเครื่องเทศรสจัดได้ทุกชนิด ฝักอ่อนดองไว้กินได้ด้วยตามความนิยมของชาวอินเดียและศรีลังกา
ถั่วพูมีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่าถั่วเหลือง หากมองในแง่พืชที่เป็นแหล่งโปรตีนพบว่าเมล็ดถั่วพูให้โปรตีนสูงกว่าเมล็ดถั่วเหลือง และในทุกส่วนที่นำมากินได้ของถั่วพู (เช่น ดอก ใบอ่อน หัวใต้ดิน) ล้วนประกอบไปด้วยโปรตีนและธาตุอาหารต่างๆ ทั้งสิ้น เช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และเหล็ก
ในประเทศเพื่อนบ้านของไทยมีการกินหัวถั่วพู โดยนำมาต้มกินคล้ายหัวมัน หัวใต้ดินมีปริมาณโปรตีนร้อยละ 20-30 นักโภชนาการของไทยนำหัวถั่วพูมาแปรรูปเป็นแป้งสำหรับประกอบอาหารต่างๆ ได้ดี นำไปเชื่อมเป็นขนมหวานได้ รวมทั้งฝานเป็นแผ่นบางๆ ทอดกรอบแบบมันฝรั่งก็เป็นอาหารขบเคี้ยวโปรตีนสูงได้ด้วย แต่ไม่มีผู้ปลูกหัวถั่วพูในเชิงการค้า
เมล็ดถั่วพูแก่มีโปรตีนร้อยละ 29-37 มีกรดอะมิโนและกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิดคล้ายถั่วเหลือง มีน้ำมันร้อยละ16-18 สกัดเป็นน้ำมันพืชปรุงอาหารได้ น้ำมันที่ได้จากเมล็ดถั่วพูมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ใกล้เคียงกับน้ำมันพืชอื่นๆ
น้ำมันเมล็ดถั่วพูมีกรดโอเลอิกร้อยละ 39 กรดไลโนเลอิกร้อยละ 27 และพบกรดบีเฮนิกและกรดพารินาริกด้วย ไม่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด นอกจากนั้นในเมล็ดถั่วพูมีสารโทโคฟีรอลในปริมาณสูง สารนี้มีผลทำให้น้ำมันมีรสหวานและอยู่ตัว และมีคุณสมบัติต้านอ็อกซิเดชั่นช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ร่างกายได้
คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
สรรพคุณของถั่วพู
การปลูก
ถั่วพูปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ยกเว้นดินที่มีน้ำขัง และขึ้นได้ในระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 2300 เมตร การปลูกมี 2 วิธี คือ หยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนการย้ายปลูกอายุกล้าประมาณ 14 วันหลังหยอดเมล็ด การเพาะกล้าจะช่วยให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์และได้ต้นกล้าที่แข็งแรง ควรยกแปลงปลูกขนาดแปลงกว้าง 1.5 เมตร ปลูกแถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ปักค้างหลังเป็นรูปสามเหลี่ยม ผูกยึดให้แข็งแรง เริ่มมีดอกบานที่อายุประมาณ 45 – 80 วันหลังหยอดเมล็ด และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุประมาณ 60-110 วันหลังหยอดเมล็ด ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพันธุ์เบาหรือพันธุ์หนัก ช่วงการเก็บเกี่ยวจะยาวนาน 10-12 เดือน โดยเก็บเกี่ยวทุกวัน หรือ 2 วันต่อครั้ง
การเจริญเติบโต ของฝักแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ซึ่งกินเวลาประมาณ 20 วัน ฝักจะโตถึงขนาดใหญ่ที่สุด ระยะที่สองซึ่งใช้เวลาประมาณ 44 วัน เมล็ดจะแก่ ฝักจะแห้งเหี่ยวลง
ถั่วพูเป็นพืชที่มีระบบการสร้างปมรากที่กว้างขวางมาก ที่สุดในบรรดาพืชตระกูลถั่วทั้งหลาย ต้นหนึ่ง ๆ อาจมีปมมากถึง 440 ปม.และแต่ละปมก็จะมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ปมใหญ่ ๆ ปมหนึ่งจะมีน้ำหนักสดถึง 0.6 กรัม เส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1.2 ซ.ม. การเกิดปมเกิดโดยธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องเพาะเชื้อไรโซเบียม ทั้งนี้เพราะดินทั่วไปมีเชื้อไรโซเบียม ที่จัดอยู่ในกลุ่มถั่วกระด้างอยู่มาก ตามธรรมชาติอยู่แล้ว
การปลูกถั่วพลู
ผสมดิน ปุ๋ยดินหมักชีวภาพ และแกลบดำ อย่างละเท่า ๆกัน กรอกถุงเพาะหยอดเมล็ดถั่วพู ลงถุงละเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน เมื่อต้นถั่วมีใบจริง 2-3 ใบ ก็นำไปปลูกได้
การเตรียมหลุมและไม้ห้าง
การปลูกและการดูแล
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน