ถั่วลันเตา เป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีวิตามิน B2 , ไขมันในระดับต่ำ , โปรตีน อีกทั้งยังมีสรรพคุณในเรื่องของการขับพิษหรือขับของเหลวออกจากร่างกายได้ สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน มักจะใช้ ถั่วลันเตา ในการบำบัดโรคเบาหวานหรือช่วยสำหรับหลายๆคนที่มักจะขาเป็นตะคริวหรือเป็นความดันโลหิตสูง ถั่วฝักยาวจึงถือว่าเป็นผักที่มีประโยชน์ในหลายๆด้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum Linn.
ชื่อสามัญ Sugar pea
วงศ์ PAPILIONEAE
ชื่ออื่นๆ ถั่วน้อย (พายัพ), ถั่วลันเตาเปลือกหนา, ถั่วลันเตา (ไทย)
ลักษณะ
พืชเถาเลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ อายุปีเดียว ลำต้นยาวได้ถึง 3.5 เมตร บางสายพันธุ์ลำต้นสูงเพียง 30 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มี 4-6 ใบย่อย มีมือพันเจริญออกมาจากแกนกลางใบ มีหูใบ 2 แผ่นที่โคนก้านใบ ใบย่อยอาจเปลี่ยนแปลงเป็นมือพัน ดอกเจริญออกจากตาข้าง มี 1-2 ดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ เชื่อมติดกัน กลีบดอกสีม่วงอ่อนหรือชมพู 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ภายในรังไข่มี 4-15 ออวุล ผลยาว 3-11 เซนติเมตร สีเขียว ผลหรือฝักของถั่วลันเตาที่รับประทานฝัก จะมีเนื้อหนานุ่มกรอบ และมีปีกฝักกว้าง ส่วนสายพันธุ์ที่รับประทานเมล็ด จะมีเมล็ดขนาดใหญ่ เปลือกและเนื้อฝักบาง มี 3-11 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างกลม ผิวเรียบหรือผิวย่น มีสีสันต่างๆ กัน
ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่
คุณค่าทางอาหาร
พืชตระกูลนี้เป็นพวกที่ได้รับสัมปทานโปรตีนมาจากธรรมชาติมากหน่อย แต่ใช่มีแค่โปรตีน ยังมีการใยอาหารหรือไฟเบอร์ วิตามินซี แคลเซียมและฟอสฟอรัสในปริมาณสูง แต่ก็นั่นแหละ วิตามินซีมักหายตัวไปหากถูกความร้อน ดังนั้นจึงควรผัดแต่พอสุกก็รับประทานได้แล้ว
กากใยอาหารในถั่วลันเตาช่วยให้ระบบย่อยอาหารเป็นไปตามปกติ รวมไปถึงการขับถ่ายที่สะดวกสบายและเป็นเวล่ำเวลาแม้ว่าถั่วลันเตาจะให้สารอาหารต่าง ๆ และเส้นใยอาหารมากก็จริง แต่หากจะให้ดีควรรับประทานผักที่หลากหลายเพื่อจะได้รับสารอาหารและเกลือแร่ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน
ประโยชน์
ถั่วลันเตาเป็นถั่วฝักแบน สีเขียวอ่อน มีเมล็ดเล็กๆ เรียงอยู่ภายใน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกฟัน เวลานำมาผัดจะมีรสหวานและกรอบ ควรผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะทำให้คุณค่าวิตามินยังคงอยู่ หรือนำไปลวกรับประทานได้อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้เราสามารถนำส่วนของยอดต้นถั่วลันเตาพันธุ์รับประทานยอด
สรรพคุณทางยา
ช่วยขับของเหลวในร่างกาย ถอนพิษ มักใช้บำบัดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นตะคริวเหน็บชา ปัสสาวะขัด และยังช่วยเพิ่มน้ำนม
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ไทซุง และฝาง 7
ถั่วลันเตา ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisum sativum จัดอยู่ในตระกูลถั่ว มีถิ่นกำเนิด แถบประเทศ เอธิโอเปีย ต่อมา แพร่กระจายปลูก ในแถบ เมดิเตอร์เรเนียน และเอเชีย และเขตอบ อุ่นต่างๆ ของโลก ถั่วลันเตา เป็นพืชฤดูเดียว มีใบแบสลับ ปลายใบเปลี่ยน เป็นมือเกาะ การเจริญ เติบโตแบบพุ่ม หรือขึ้นค้าง บางสายพันธุ์ อาจมีเฉพาะ ใบบางพันธุ์ อาจมีเฉพาะ มือเกาะ ใบมีสีเขียวอ่อน ถึงสีเขียวเข้ม ลำต้นเล็ก เป็นเหลี่ยม รากเป็นระบบ รากแก้ว ดอกเป็นแบบ ดอกสมบูรณ์เพศ ผสมตัวเอง สามารถแบ่ง ประเภทของ ถั่วลันเตาเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท ฝักเหนียว และแข็ง เมล็ดโต นิยมปลูกเพื่อ รับประทานเมล็ด ส่วนอีกชนิดปลูก เพื่อรับประทานฝักสด โดยฝักจะมี ขนาดใหญ่ มีปีก เป็นต้น
สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ดินที่เหมาะสม สำหรับการะปลูกถั่วลันเตา ควรมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึก และควรมี pH อยู่ระหว่าง 5.5-6.5
อุณหภูมิที่เหมาะสม สำหรับการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 13-18C หากอุณหภูมิต่ำกว่า 4C หรือสูงกว่า 29C จะทำให้การเจริญเติบโตชะงัก และในกรณีที่อุณหภูมิสูงกว่า 30C ดอกและฝักร่วง ไม่ควรปลูกในสภาพอากาศเย็น มีน้ำค้างแข็ง โดยเฉพาะในระยะ ที่ดอกบาน และเริ่มติดฝัก และควรได้รับแสงตลอดทั้งวัน
การใช้ประโยชน์
ถั่วลันเตาเป็นถั่วฝักแบน สีเขียวอ่อน มีเมล็ดเล็กๆ เรียงอยู่ภายใน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสมาก เหมาะอย่างยิ่งต่อการบำรุงกระดูกฟัน เวลานำมาผัดจะมีรสหวานและกรอบ ควรผัดไฟแรงอย่างรวดเร็ว จะทำให้คุณค่าวิตามินยังคงอยู่ หรือนำไปลวกรับประทานได้อร่อยเช่นกัน นอกจากนี้เราสามารถนำส่วนของยอดต้นถั่วลันเตาพันธุ์รับประทานยอด ซึ่งมีลักษณะอวบและรสชาติหวาน นิยมนำมาผัดน้ำมันไฟแรงอย่างรวดเร็ว หรือต้มจืดกับหมูสับ
การปฎิบัติดูแลรักษาถั่วลันเตาในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมดิน
ขุดแปลงตากดินไว้ 2 สัปดาห์ ใส่ปูนขาวตามคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดินอัตร 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ 10 วัน ก่อนปลูกคลุกปุ๋ยอัตรา อัตรา 25-30 กรัม/ตร.ม. ลงในดินแปลงกว้าง 1 ม.(แถวคู่)
การปลูก
ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. รองพื้นก่อนปลูกและโรยตามร่องแถวปลูก พรวนดิน และหยอดเมล็ดโดยขีดร่องยาวตามแปลงลึก 5 ซม. หยอดเมล็ด 1 เมล็ด ห่างกัน 10-20 ซม. แถวห่าง 50 ซม. (ปลูกแถวคู่) กลบดินแล้วรดน้ำ ราดแปลงด้วยเซฟวิน 85 บนแปลงป้องกันมดกินหรือขนย้ายเมล็ด
ข้อควรระวัง
การทำค้าง
เมื่อปลูกได้ 10 วัน โดยปักไม้ค้างสูง 2 ม. ระยะห่าง 1 ม. ผูกเชือกช่วงบะ 20 ซม. ของค้าง
การให้น้า ให้น้ำทุก 2-3 วัน โดยเฉพาะช่วงออกดอก หากขาดน้ำจะไม่ติดฝัก
การใส่ปุ๋ย
1. ถั่วลันเตาอายุ 20 วัน ให้ปุ๋ย อัตรา 30 กรัม/ตร.ม.
2. ถั่วลันเตาอายุ 30 วัน ให้ปุ๋ย อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. กลบดินบางๆ แล้วรดน้ำตาม ควรกำจัดวัชพืชพร้อมการให้ปุ๋ย
การเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บผลผลิตถั่วลันเตา เมื่อมีอายุได้ประมาณ 45-70 วัน เก็บ 3 วัน/ครั้ง เป็นเวลา 15-25 วัน (ถ้าดูแลรักษาดี) ปลิดให้มีขั้วติดฝักไม่ควรล้างน้ำ คัดฝักเสียทิ้งและผึงให้แห้ง 1 คืน ก่อนบรรจุลงในตระกล้าพลาสติก
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน