ถั่วหรั่ง นั้นเป็นพืชล้มลุกตระกูลถั่วที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาในแถบเกาะมาดากัสการ์และได้ผ่านเข้ามาถึงชายแดนภาคใต้ในช่วงปี พ.ศ. 2474 จนต่อมาได้กระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคใต้ แต่ก็มีการเรียกที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น กาแลโป ถั่วไทร ถั่วโบ ถั่วปั่นหยี ถั่วเม็ดเดียว โดยถั่วหรั่งสามารถนำมาปรุงอาหารได้ทั้งคาวและหวาน แต่ที่นิยมกันมากที่สุดก็คือการนำมาต้มใส่เกลือคล้ายๆ การกินถั่วลิสง นอกจากนี้ถั่วฝักอ่อนก็สามารถนำมารับประทานได้โดยนำมาผัดในผัดผักทั่วไป เมล็ดแห้งก็ใช้บดทำแป้ง นอกจากนี้มันยังสามารถใช้ทำไส้ขนมได้อีกด้วย
ชื่อสามัญ Bambarra Groundnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ Voandzeia subterranea , Vigna subterranea
ชื่ออื่นๆ กาแลโป ถั่วไทร ถั่วโบ ถั่วปันหยี ถั่วเม็ดเดียว
ถั่วหรั่ง (Bambarra Groundnut) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Voandzeia subterranea หรือ Vigna subterranea เป็นพืชตระกูลถั่วล้มลุก มีระบบรากแก้ว ประกอบด้วยลำต้น 2 ชนิด คือ แบบตั้งตรง และเลื้อยขนานไปกับพื้นดิน บนข้อของลำต้นเลื้อยเป็นที่เกิดของใบ รากวิสามัญ รวมทั้งดอกและฝักถั่วหรั่ง ใบเป็นใบประกอบ ดอกถั่วหรั่งเกิดตามมุมโคนก้านใบ สีเหลือง ฝักและเมล็ดเกิดบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของดอก มีรูปร่างกลมรีเล็กน้อย เปลือกผลชั้นนอกเชื่อมติดกับชั้นกลาง ส่วนเปลือกชั้นในแยกออกต่างหาก เมล็ดภายในมีหลายสี ขึ้นอยู่กับพันธุ์ เช่น ครีม น้ำตาล แดง ม่วง ดำ หรือ แดงลาย ขนาดเมล็ด 1.0 x 0.8 ซม. ความหนาและเหนียวของเปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) ขึ้นอยู่กับพันธุ์เช่นกัน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วหรั่งจะมีลำต้นทั้งชนิดที่เป็นแบบตั้งตรง และแบบที่เลื้อยขนานไปกับพื้นดิน มีระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ผิวและขอบใบเรียบ จะเกิดจากข้อของลำต้นที่เลื้อย ดอกถั่วหรั่งมีสีเหลือง ออกมาจากบริเวณโคนของก้านใบ มีเมล็ดรูปร่างกลมรี ขนาดกว้างยาวประมาณ 0.81.0 ซม. มีเปลือกหุ้มเมล็ดที่สามารถแยกออกจากกันได้ เนื้อภายในเปลือกเมล็ดมีทั้งที่เป็นสีครีม น้ำตาล แดง ม่วง ดำ หรือสีแดงลาย ซึ่งสีสันและความหนาของเปลือกเมล็ด จะขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์
เกษตรกรจะนิยมปลูกถั่วหรั่งเป็นพืชแซมในสวนยางพารา หรือสวนผลไม้ เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่าย ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคเข้าทำลาย และเจริญเติบโตได้ดีแม้ในดินที่มีสภาพความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพื่อให้ถั่วหรั่งสามารถติดฝักได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้น จึงควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม แต่ถ้ามีน้ำให้อย่างเพียงพอก็สามารถปลูกนอกฤดูก็ได้
ถั่วหรั่งเป็นพืชไร่ชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันมากในภาคใต้ เช่น สงขลา นราธิวาส ยะลา กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ถั่วปันหยี ถั่วไทร ถั่วเม็ดเดียว กาแจโป เป็นต้น เป็นพืชที่มีความสามารถในการให้ผลผลิตสูงโดยสามารถให้ผลผลิตถึง 1,200 กก./ไร่ เมล็ดถั่วหรั่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีคาร์โบไฮเดรต 55-72% น้ำมัน 6-7% โปรตีน 18-20% และมีสารเมทไธโอนีน ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสูงกว่าถั่วชนิดอื่น
การใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปพบในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ คือ
1.ถั่วหรั่งต้ม เป็นการต้มใส่เกลือสำหรับเป็นอาหารว่าง
2.ถั่วหรั่งฝักอ่อน ใช้เป็นผักในการปรุงอาหารประเภทผัด
3.เมล็ดแห้ง บดเพื่อทำเป็นแป้งใช้ประกอบอาหาร
4.เมล็ดสดหรือแห้งต้มสุกแกะเปลือก ใช้ทำอาหารหรือไส้ขนม
ในเมล็ดถั่วหรั่ง จะอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต น้ำมัน โปรตีน และมีสารเมทไธโอนีน ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงกว่าถั่วชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะนิยมนำเมล็ดสดที่ยังดิบอยู่มาต้มรับประทานเป็นของว่าง ทำไส้ขนม ใช้ฝักอ่อนปรุงเป็นอาหารต่างๆ ส่วนเมล็ดแห้งก็นำมาบดให้เป็นแป้งใช้ประกอบในอาหารคาวหวานได้มากมาย นอกจากนี้ การปลูกถั่วหรั่งยังสามารถช่วยบำรุงให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นด้วย เนื่องจากเป็นพืชที่อยู่ในตระกูลถั่ว ดังนั้น ถั่วหรั่งจึงเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ควรได้รับการสนับสนุนให้เป็นพืชทางเศรษฐกิจ
พันธุ์ถั่วหรั่ง
ถั่วหรั่ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ เป็นทรายถึงดินร่วนปนทรายในที่ดอน มีการระบายน้ำและการซึมผ่านของน้ำได้ดีและไม่มีน้ำขัง ในสภาพดินค่อนข้างเหนียวจะมีปัญหาในการเก็บเกี่ยว เนื่องจากฝักจะขาดติดอยู่ในดินมาก ทำให้เปลืองแรงงานและเสียเวลาในการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น สามารถให้ผลผลิตได้ดีที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ สภาพดินกรดแต่ไม่ทนในดินด่างและดินเค็ม ระดับ pH ที่เหมาะสม 5.0-6.5
การขยายพันธุ์
ทำได้โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะเปลือก หรือเมล็ดแห้งทั้งเปลือกมาปลูก ถ้าเป็นเมล็ดที่กะเทาะเปลือกใช้ในอัตราไร่ละประมาณ 4-5 กก. ส่วนที่เป็นเมล็ดแห้งใช้ประมาณไร่ละ 7 กก. ถั่วหรั่ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี ซึ่งเป็นดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 5.0-6.5 เป็นพืชที่มีความทนทานต่อโรค และให้ผลผลิตสูง
การเตรียมดิน
ไถ 1 ครั้ง แล้วพรวนอีก 1 ครั้ง ในดินมีความร่วนซุยเหมาะในการปลูกและงอกของเมล็ด หรือหากในพื้นที่เปิดใหม่หรือพื้นที่ปลูกยางทดแทน หลังจากนำเศษต้นพืชออกแล้วถ้าดินมีความร่วนซุยดี สามารถปลูกได้เลยโดยไม่ต้องมีการเตรียมดิน
อัตราเมล็ดพันธุ์
ใช้เมล็ดพันธุ์ที่กะเทาะเปลือกแล้วประมาณ 4-5 กก./ไร่ หรือเมล็ดแห้งทั้งเปลือกประมาณ 7 กก./ไร่
ฤดูปลูก
1.ปลูกต้นฤดูฝน คือประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม หากปลูกหลังจากนี้ถั่วหรั่งจะออกดอกและติดฝักในช่วงที่ฝนตกหนัก จะทำให้ติดฝักน้อย
2.ปลูกนอกฤดูฝน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ การปลูกนอกฤดูฝนจะมีผลดีคือจะเป็นโรคภัยน้อยกว่าการปลูกในฤดูฝน
การเตรียมดินให้ไถและพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การงอกของเมล็ด และเมื่อนำเอาวัชพืชออกแล้วสามารถใช้จอบขุดหลุมเพื่อหยอดเมล็ดปลูกได้ทันที ซึ่งระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 6060 ซม. โดยให้หยอดเมล็ด 2 ต้น/หลุม ซึ่งถ้ามีความชื้นมากเพียงพอมันจะงอกภายใน 8-10 วัน
การวางแผนการผลิต ถั่วหรั่งเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุค่อนข้างยาว วางแผนการผลิตขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์
พันธุ์พื้นเมือง (150-180 วัน) และพันธุ์สงขลา 1 ( 110-120 วัน) ถ้าอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวสามารถปลูกได้ปีละ 1 ครั้ง เริ่มฤดูกาล ปลูกในเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งจะไปเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลผลิตที่ได้ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน จะได้ราคาค่อนข้างสูง(18 -22 บาทต่อกิโลกรัม) เพราะมีความต้องการสูงขณะผลผลิตยังมีออกมาน้อย หลังจากนั้น ผลผลิตจะเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นทำให้ราคาเริ่มลดลง จนถึงต่ำสุด 8 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งปกติราคาโดยเฉลี่ย 10-12 บาท ต่อ กิโลกรัม โดยทั่วไปถั่วหรั่งพันธุ์สงขลา 1 มีราคาสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง กิโลกรัมละ 1-2 บาท ที่ตลาดหัวอิฐเป็นแหล่งตลาดใหญ่ พ่อค้ารวบรวมผลผลิตจะรับซื้อ ถั่วหรั่งจากพ่อค้ารายย่อยในท้องถิ่นจังหวัด ใกล้เคียงร้อยละ 95 ที่เหลือร้อยละ 5 รวบรวมจากแหล่งอื่น
ถั่วหรั่งนิยมนำมาปลูกแซมกับพืชชนิดอื่นเพราะมันสามารถไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดได้เนื่องจากมันเป็นพืชตะกูลถั่ว
ถั่วหรั่งนั้นมีข้อดีสำหรับเกษตรกรเพราะถั่วหรั่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีถึงแม้จะอยู่ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพืชต่ำ นอกจากนี้มันยังสามารถทนสภาพความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี ให้ผลผลิตจำนวนมาก ข้อสำคัญมันมีทิศทางทางการตลาดที่สดใสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเพราะผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างมาเลเซียให้ความนิยมชมชอบมันเป็นอย่างมาก ดังนั้นการปลูกถั่วหรั่งจึงเป็นสิ่งที่ดีและเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรเลยทีเดียว
ป้ายคำ : ไม้หัว