ถั่วเสี้ยนป่า คลุมดินได้ดีในสวน

28 มกราคม 2559 ไม้พุ่มเตี้ย 0

พืชตระกูลถั่วที่ปลูกแล้วคลุมดินได้ดีในสวนผลไม้เพื่อปราบวัชพืช พืชบางชนิดต้นเป็นเถาและใบร่วงหล่นเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ได้แก่ ถั่วลาย ถั่วเสี้ยนป่า ไมยราพไร้หนาม คาโลโปโกเนียม ถั่วอัญชัญ ถั่วกระด้าง ถั่วพร้า เป็นต้น

วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Pueraria phaseoloides (Roxb.) Benth. var.
subspicata (Benth.) Maesen
ชื่อสามัญ ถั่วเสี้ยนป่า (อ่างทอง) ผักผีด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะ
ถั่วเสี้ยนป่าเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพันมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 3.8 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบบนสุดกว้าง 3.8 6.3 เซนติเมตร ยาว 8.5 10.4 เซนติเมตร โคนใบบนเป็นเงี่ยงยื่นออกสองข้าง ใบข้างทั้งสองใบกว้าง 4.7 6.5 เซนติเมตร ยาว 6.9 8.9 เซนติเมตร ใบข้างโคนใบเบี้ยว มีเงี่ยงยื่นออกข้างเดียว หน้าใบมีขนสั้นๆ ปกคลุมปานกลาง หลังใบมีปุยขนสีขาวยาวกว่าหน้าใบปกคลุมหนาแน่นมาก ก้านใบรวมมีหูใบสีเขียวมีขนมาก กว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ก้านใบย่อยหูใบเป็นเส้นเรียวเล็กปลายแหลมยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ออกดอกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาวมีแถบสีม่วงตรงกลางกลีบ รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแคบ เมื่อฝักแก่จะแตกและบิดเป็นเกลียว ออกดอกเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

คุณค่าทางอาหาร อายุ 75 90 วัน

  • โปรตีน 18.9 เปอร์เซ็นต์
  • ฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์
  • โพแทสเซียม 1.76 เปอร์เซ็นต์
  • แคลเซียม 0.66 เปอร์เซ็นต์
  • ADF 42.9 เปอร์เซ็นต์
  • NDF 62.0 เปอร์เซ็นต์
  • DMD 55.7 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag)
  • ไนเตรท 725.6 พีพีเอ็ม
  • ออกซาลิคแอซิด 80.3 พีพีเอ็ม
  • แทนนิน 0.14 เปอร์เซ็นต์
  • มิโมซีน 0.29 พีพีเอ็ม
  • ไม่พบไนไตรท์

การใช้ประโยชน์ อาหารสัตว์ กระบือ ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ใบหรือรากแห้งผสมใบโผงเผงแห้งบดเป็นผง ทำยาลูกกลอนกินแก้ไข้

ที่มา
วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น