ถั่วเหลืองเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้นานัปการ นอกเหนือไปจากการสกัดน้ำมัน เมล็ดถั่วเหลืองใช้ประกอบอาหาร เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ถั่วเน่า ซีอิ๊ว เส้นบะหมี่ น้ำนมถั่วเหลือง คุกกี้ โปรตีนแห้ง เนื้อเทียม ฟองเต้าหู้ และถั่วงอก เป็นต้น จีนใช้ถั่วเหลืองผิวดำปรุงยารักษาโรคหัวใจ ตับ ไต กระเพาะ และลำไส้ และเป็นอาหารเสริม เพื่อบำรุงสุขภาพ ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคถั่วเหลืองฝักสด (เก็บเกี่ยวเมื่อฝักยังมีสีเขียวสด) เป็นอาหารว่าง และนำเข้าประเทศในบริมาณมาก กากถั่วเหลืองใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ นอกจากนี้การปลูกถั่วเหลือง ยังเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทั้งในด้านเพิ่มอินทรียวัตถุ และธาตุไนโตรเจน
ชื่อสามัญ Soya bean
ชื่อพฤกษศาสตร์ Glycine max (L.) Merrill
ชื่อวงศ์ FABACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ เอเชีย ออสเตรเลีย
ถั่วเหลืองมีถิ่นกำเนิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน ที่ติดต่อกับแมนจูเรีย ชาวจีนคุ้นเคยในการเพาะปลูก และใช้ประโยชน์จากถั่วเหลืองมาเป็นเวลากว่า ๕,๐๐๐ ปี ต่อจากนั้นก็ได้ขยายออกไปสู่ประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลี และญี่ปุ่น และแพร่หลายไปถึงทวีปยุโรป และอเมริกา เมื่อประมาณร้อยกว่าปี ปัจจุบันประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาได้แก่ บราซิล จีน และอาร์เจนตินา ตามลำดับ ประเทศเหล่านี้อยู่ในเขตอบอุ่น มีสภาพอากาศค่อนข้างเย็น เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และให้ผลิตผลต่อไร่สูง
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดเกี่ยวกับการนำถั่วเหลืองเข้ามาปลูกในประเทศไทย แต่สันนิษฐานว่า นำเข้ามาโดยพวกพ่อค้า และชาวเขา ซึ่งเดินทางไปมาระหว่างจีนตอนใต้ และภาคเหนือของประเทศไทยแต่สมัยโบราณ ต่อมาจึงแพร่หลายไปในกลุ่มชาวไทย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ พระยาอนุบาลพายัพกิจ เทศาภิบาลมณฑลพายัพ ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกถั่วเหลือในนา หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวที่จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นการเพาะปลูกก็ขยายตัวออกไปสู่ภาคต่างๆ พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ จึงขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการกากถั่วเหลือง (หลังจากที่ได้นำเมล็ดไปสกัดเอาน้ำมันออกแล้ว) เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทั่วทั้งประเทศมีพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองประมาณ ๒,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ โดยปลูกในภาคเหนือ ๑,๗๐๐,๐๐๐ ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ภาคละ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ รวมผลิตผลทั่วประเทศได้ ๓๔๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรขายได้ ๒,๗๐๐ ล้านบาท แต่ก็ยังมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ ต้องนำเข้ากากถั่วเหลือง เพื่อใช้เลี้ยงสัตว์อีก ๒๓๐,๐๐๐ ตัน ในอนาคตคาดว่า พื้นที่เพาะปลูก และผลิตผลถั่วเหลืองภายในประเทศ จะเพิ่มมากขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ผลิตถั่วเหลืองได้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายใน ประเทศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ถั่วเหลืองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Glycine max (L.) Merrill อยู่ในวงศ์ (Family) Legumeminosae เป็นพืชล้มลุก ทรงต้นเป็นพุ่ม มีความสูงระหว่าง ๕๐ เซนติเมตรถึงสองเมตร บางพันธุ์ก็เลื้อยเป็นเถา ระบบรากประกอบด้วยรากแก้ว ซึ่งอาจหยั่งลึกลงไปถึง ๒ เมตร ส่วนรากฝอยเกิดเป็นกระจุกประสานกันอยู่ใต้ ระดับผิวดิน บริเวณผิวรากมีปมของบัคเตรีเกาะอยู่เห็นได้ชัดเจน ลำต้นแตกกิ่งจำนวน ๓ – ๘ กิ่ง มีขนสีขาว น้ำตาล หรือเทาคลุมอยู่ ใบถั่วเหลือง เกิดสลับกัน เป็นใบรวม ประกอบด้วย ใบย่อย ๓ ใบ รูปร่างกลมรี ช่อดอกเกิดจากมุมใบและ ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาวหรือม่วง จำนวน ๓ – ๑๕ ดอกต่อหนึ่งช่อ ดอกสมบูรณ์เพศมี อับเกสรตัวผู้และรังไข่อยู่ในดอกเดียวกัน การผสม เกสรเกิดขึ้นก่อนดอกบาน รังไข่จะเจริญเติบโต เป็นฝักรูปยาวและโค้ง ภายในมีเมล็ด ๒ – ๓ เมล็ด เรียงตัวอยู่ตามแนวนอน เปลือกหุ้มเมล็ด มีทั้งสีเหลือง เขียว น้ำตาล และดำ ภายใน เมล็ดมีใบเลี้ยงสีเหลืองหรือเขียวสองใบหุ้มต้น อ่อนอยู่ภายใน
เมล็ดถั่วเหลืองประกอบไปด้วย โปรตีน ร้อยละ ๓๕ – ๕๐ น้ำมันร้อยละ ๑๒ – ๒๐ (มีส่วนประกอบของน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวร้อยละ ๘๕) เป็นน้ำมันคุณภาพดี สามารถละลายสารคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังเส้นเลือดได้ นอกจากนี้มีวิตามินบี ซี อี และเลซิติน รวมอยู่ด้วย ในเมล็ดถั่วเหลืองมีสารพิษบางชนิด ที่ระงับการย่อยของโปรตีน ซึ่งสามารถขจัดให้หมดได้ โดยการนำไปผ่านความร้อน ก่อนนำไปแปรรูป เพื่อใช้ประโยชน์
น้ำมันถั่วเหลืองหลังจากทำให้บริสุทธิ์แล้ว ใช้แปรรูป เพื่อประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ทำน้ำมันสลัด เนยเทียม และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันผสมสี หล่อลื่น ยารักษาโรค กากถั่วเหลืองที่ได้ มีส่วนประกอบของโปรตีน สูงกว่าร้อยละ ๕๐ นำไปใช้เป็นอาหาร และเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตอาหารสัตว์
ถั่วเหลืองเป็นพืชในวงศ์ถั่ว เช่นเดียวกับถั่วอื่นๆ เช่น ถั่วพู ถั่วเขียว และถั่วลิสง ถั่วเหลืองเป็นพืชอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้คนในทวีปเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะชาวจีน จากหลักฐานพบว่ามีการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนทางตอนเหนือมานานกว่า 7,000 ปีแล้ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่เป็นที่นิยมแพร่หลายมาก ได้แก่ นมถั่วเหลือง ซีอิ๊ว เต้าหู้ เต้าเจี้ยว และน้ำมันถั่วเหลือง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตถั่วเหลืองสำคัญที่สุดกลับเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา (56% ของปริมาณผลผลิตทั่วโลก) รองลงมาคือบราซิล และจีน ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างรับประทานถั่วเหลืองมาก แต่สามารถผลิตถั่วเหลืองได้เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการภายในประเทศ ที่เหลือจึงต้องมีการนำเข้า
ในปัจจุบันมีการนำถั่วเหลืองมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง เช่น ทำโปรตีนถั่วเหลือง แป้งถั่วเหลือง และอาหารเสริมเลซิติน ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง
วิธีการปลูกถั่วเหลือง
ในเขตอบอุ่นปลูกถั่วเหลืองได้ปีละครั้งในฤดูร้อน แต่ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย มีอุณหภูมิตลอดทั้งปีไม่แตกต่างกันมากนัก สามารถปลูกถั่วเหลืองได้ปีละสามครั้ง คือ ปลูกในช่วงต้นฤดูฝน และกลางฤดูฝนบนที่ดอน และครั้งที่สามในนา ที่มีระบบชลประทาน หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าว ดังนั้น เกษตรกรนิยมปลูกถั่วเหลืองร่วม หรือสลับกับพืชไร่อื่นๆ
พันธุ์ถั่วเหลืองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนะนำให้ปลูก ได้แก่ พันธุ์ สจ.1 สจ.2 สจ.4 สจ.5 เชียงใหม่ 60 สุโขทัย 1 และนครสวรรค์ 1 รายละเอียดของพันธุ์ และคำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกถั่วเหลือง หาได้จากหน่วยงานในกรมวิชาการเกษตร และสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ และตำบลในท้องถิ่น
www.doa.go.th/fcrc/chiangmai/index.phpoption=com_content&view=category&id=39&Itemid=103
ถั่วเหลืองขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดหรือด่างจัด ดินเค็ม และดินที่มีน้ำขังแฉะ การเตรียมดินปลูกถั่วเหลือง ก็คล้ายกับการปลูกพืชไร่ทั่วไป มีการไถพรวนดินให้ร่วนซุย เพื่อกำจัดวัชพืช และให้รากหยั่งลง ดินได้สะดวก ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยจุลินทรีย์ดินก่อนปลูก เพื่อให้มีการสร้างปมที่รากดีขึ้น เพื่อให้จุลินทรีย์ดิน หรือบัคเตรีในปมราก ช่วยจับไนโตรเจนจากอากาศมาสังเคราะห์เป็นปุ๋ยให้กับต้นถั่วเหลือง การปลูกมีหลายวิธี เช่น หว่านหรือโรยเมล็ดเป็นแถว หรือหยอดเป็นหลุม แต่วิธีที่แนะนำคือ หยอดเมล็ดหลุมละ ๒ – ๓ เมล็ด โดยให้มีระยะระหว่างแถวกว้าง ๕๐ เซนติเมตร และระหว่างหลุม ๒๐ เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๗ – ๑๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรปลูกเมื่อดินได้รับความชุ่มชื้นหลังจากฝนตก หรือได้รับน้ำชลประทาน เมล็ดถั่วเหลืองจะงอกภายในเวลา ๕ – ๗ วัน ควรพรวนดิน ดายหญ้า ในระยะ ๓๐ วันหลังงอก เพื่อลดการแข่งขันจากวัชพืช ต้นถั่วเหลืองเริ่มออกดอก เมื่อมีอายุได้ ๓๕ – ๔๐ วัน และฝักแก่เมื่อมีอายุได้ ๘๕ – ๑๒๐ วัน (ขึ้นอยู่กับพันธุ์และฤดูปลูก) เมื่อฝักเริ่มแก่ จะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีเหลือง เริ่มจากโคนต้น ไปหาปลายยอด เก็บเกี่ยว โดยตัดต้นถั่วเหลืองมากองหรือผูกรวมเป็นฟ่อน ตากแดดให้แห้งสนิท แล้วจึงนวด โดยใช้ไม้ฟาด หรือใช้รถแทรกเตอร์เหยียบต้นถั่วเหลืองที่กองสุมกันอยู่ให้ฝักแตก หรือใช้เครื่องนวดข้าวติดเครื่องยนต์ นวดแยกเมล็ดออกจากเศษของลำต้น ทำความสะอาดตากเมล็ดให้แห้งสนิท ก่อนเก็บใส่กระสอบ หรือภาชนะอื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป ผลิตผลถั่วเหลืองของไทยอยู่ระหว่าง ๑๒๐ – ๓๕๐ กิโลกรัมต่อไร่ แต่โดยเฉลี่ยประมาณ ๑๒๑ กิโลกรัมต่อไร่
ในระยะที่ต้นถั่วเหลืองเจริญเติบโตในไร่ อาจจะมีโรคหรือแมลงศัตรูพืชบางชนิดระบาด ทำความเสียหาย ควรป้องกัน และกำจัด ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
การเลือกพื้นที่ปลูก
ถั่วเหลืองขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดที่มีการระบายน้ำได้ดี ตั้งแต่ดินร่วนปนทรายจนกระทั่งดินเหนียวที่มีความอุดม สมบูรณ์พอควรความเป็นกรดด่างของดินประมาณ 5.5 – 6.5 ไม่ชอบดินทรายจัด และสภาพดินที่เป็นเกลือหรือ กรดจัด ที่เหมาะสมคือดินร่วน, ดินร่วนเหนียว
พื้นที่ที่เป็นดินกรด (ดินเปรี้ยว) ก่อนจะปลูกถั่วเหลืองควรใส่ปูนขาวตามค่าวิเคราะห์ดินเพื่อปรับระดับความเป็น กรด-ด่างของดินให้เหมาะสม
ในฤดูฝนต้องทำการระบายน้ำ เพราะถั่วเหลืองไม่ชอบน้ำขังแฉะ ส่วนในฤดูแล้งต้องเลือกพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอตลอดระยะเวลาการปลูก ที่นาควรอยู่ในที่สูงพอควร และอยู่ในส่วนต้นหรือกลางคลอง สามารถส่งน้ำจากคลองชลประทาน เข้าไปในแปลงปลูกได้ ควรเลียงแปลงที่อยู่ในที่ลุ่มหรือปลายคลองหรือติดกับแปลงปลูกข้าวนาปรัง ทั้งนี้เพราะจะมี น้ำไหลซึมเข้าไปท่วมขัง ในแปลงถั่วเหลืองได้ในภายหลัง
ควรรีบปลูกถั่วเหลืองให้เร็วที่สุดทันทีที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จระหว่างรอให้ฟ่อนข้าวแห้งก่อนนวด ควรรีบปลูกถั่วทันที เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวได้ก่อนที่ฝนต้นฤดูจะตก ทำให้ผลผลิตเสียหาย ลำบากต่อการเก็บเกี่ยวและนวด และเป็นการ เลี่ยงการเข้าทำลายของแมลงศัตรูและโรคได้มาก
การปลูกช้าจะทำให้ต้นถั่วออกดอกและติดฝักในช่วงปลายฤดูแล้ง ซึ่งน้ำชลประทานอาจขาดแคลนได้ ทำให้ได้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร
พันธุ์ถั่วเหลือง
พันธุ์ที่แนะนำให้ปลูกมีหลายพันธุ์ ได้แก่
สจ. 2 ลำต้นไม่ทอดยอด ต้นไม่ล้ม เจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูงในปลายฤดูฝนและฤดูแล้ง ฝักไม่แตกง่าย อายุเก็บเกี่ยว 95 วัน ไม่ต้านทานโรคราสนิม ตาเมล็ดสีน้ำตาลแดง (ชาวบ้านเรียกพันธุ์ตาแดง)
สจ. 4 ให้ผลผลิตสูงกว่า สจ.2 คุณภาพของเมล็ดดี ปลูกได้ผลดีทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน ต้านทานต่อโรคราสนิม อายุเก็บเกี่ยว 99 วัน ตาเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
สจ. 5 ทนทานต่อโรคราสนิม และโรคใบด่างดีกว่า สจ. 4 ผลผลิตในฤดูแล้งดีกว่า สจ. 4 แต่ในฤดูฝนให้ผลผลิตใกล้เคียงกัน อายุเก็บเกี่ยว 98 วัน ตาเมล็ดสีน้ำตาลอ่อน เป็นที่ต้องการของตลาด
เชียงใหม่ 60 ทนทานต่อโรคราสนิมได้ดีกว่า สจ. 4 และ สจ. 5 เป็นพันธุ์ที่มีกิ่งน้อย แต่ในจำนวนฝักมาก สามารถเพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ได้อีกและผลผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ตอบสนองต่อปุ๋ยอัตราต่ำได้ดีกว่า สจ. 5 ปลูกได้ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน โดยให้ผลผลิตใกล้เคียงกับ สจ.4 และ สจ. 5 อายุเก็บเกี่ยว 97 วัน
นครสวรรค์ 1 (โอซีบี) เป็นพันธุ์อายุสั้นประมาณ 75 วัน เมล็ดโตกว่าทุกพันธุ์ที่กล่าวมา ตาเมล็ดสีเหลืองอ่อน เป็นที่ต้องการของตลาด แต่ต้องหลีกเลี่ยงการปลูกในแหล่งที่มีโรคราสนิมราน้ำค้างและแอนแทรกโนสเหมาะสำหรับ ปลูกในฤดูฝนในเขตภาค กลางก่อน หรือตามหลังพืชไร่อื่นๆ แต่สามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง
สุโขทัย 1 เป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น ให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกในฤดูฝน อายุเก็บเกี่ยว 96 วัน ตาเมล็ดสีเหลืองฟางข้าว เป็นพันธุ์ที่เกิดโรคเมล็ดสีม่วงค่อนข้างมากกว่าพันธุ์อื่นๆ แต่ต้านทานต่อโรคใบด่างและใบจุดนูน (ชาวบ้านเรียกว่าพันธุ์ผักบุ้งเพราะมีใบคล้ายผักบุ้ง และต้นทอดยอด)
วิธีเตรียมดินและการปลูกในฤดูฝน
การปลูกถั่วเหลืองในฤดูฝน การเตรียมดินเหมือนกับพืชไร่อื่นๆ คือ ไถแล้วพรวน 1-2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพดิน และให้มีความลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ปรับระดับหน้าดินให้สม่ำเสมอไม่ให้มีน้ำขัง และมีการขุดร่องโดย รอบแปลงปลูกเพื่อระบายน้ำได้สะดวก ในขณะปลูกดินควรจะมีความชื้นที่ดีเพื่อให้เมล็ดงอกอย่างรวดเร็ว ดินที่จับตัวเป็นแผ่นแข็งที่หน้าดินหลังฝนตกหนักและแห้ง จะทำให้ต้นกล้าไม่สามารถงอกทะลุผิวดินขึ้นมาได้ ทำให้ความงอกไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นดินที่เป็นดินเหนียว ดินร่วนปนเหนียวจึงไม่ควรเตรียมดินให้ละเอียดนัก
การปลูกมีหลายวิธี เช่น โรยเมล็ดเป็นแถว และหยอดเป็นหลุม ให้ลึก 2-3 เซนติเมตร แต่ที่ให้ผลดี คือหยอดเมล็ด ในหลุมที่เตรียมไว้ โดยมีระยะระหว่างแถวและระหว่างต้น ที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโต คือ 50×20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 3-4 เมล็ด ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ หากเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่อจะต้องเพิ่ม ปริมาณหยอดเมล็ดต่อหลุมให้มากขึ้น
พื้นที่ที่ไม่เคยปลูกถั่วเหลืองมาก่อนหรือดินที่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไปเหล่านี้ ควรปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มาก
ฤดูปลูก ปลูกได้ 3 ฤดู คือ
การปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าว
เนื่องจากสภาพขอดินแต่ละแหล่งแตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการเตรียมดินจึงแตกต่างกัน เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือแหล่งปลูกที่มีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินปนทรายที่มีการระบายน้ำและสภาพดินร่วนซุย การปลูกถั่วเหลืองตามหลังข้าวที่นิยมทำกัน คือ ปลูกในตอซังข้าวโดยไม่มีการไถพรวนดิน วิธีนี้ต้องตัดตอซังข้าวให้สั้น เพื่อจะสะดวกต่อการปลูก จะเผาตอซังในนาข้าวหรือไม่เผาก็ได้
วิธีปลูก ใช้ไม้ปลายแหลมเจาะดินชิดบริเวณตอซังให้เป็นรู แล้วหยอดเมล็ดถั่วเหลืองลงหลุม การเจาะดินให้เป็นหลุมควรจะลึก 3-5 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวของตอซังเป็นเกณฑ์ในการแทงหลุมและใช้ระยะระหว่างหลุม 20-25 เซนติเมตร หยอดหลุมละ 3-4 เมล็ด แล้วใช้ฟางข้าวคลุกเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำในดิน แล้วระบายน้ำเข้าพอให้ดินเปียกชุ่ม แล้วระบายน้ำออกทันที ประมาณ 5-7 วัน ถั่วจะเริ่มงอก เพื่อให้รับสภาพอากาศและการปล่อยน้ำชลประทานควรปลูกให้เสร็จก่อนกลางเดือนมกราคม ถ้าปลูกช้ากว่านี้ปริมาณน้ำอาจมีไม่พอ และการเก็บเกี่ยวจะตรงกับช่วงฝนในเดือนพฤษภาคม
การปลูกถั่วเหลืองทันทีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว และในสภาพที่มีตอซังอยู่วิธีการที่รักษาความชุ่มชื้นของดินให้พอ เหมาะกับการเจริญเติบโตของถั่วเหลือง แต่การเตรียมดินนอกจากทำให้ดินร่วนซุยแล้ว ยังเป็นเการกำจัดวัชพืช เป็นการปรับที่สำหรับส่งน้ำเข้าแปลงและระบายน้ำออก และยังทำให้ปลูกถั่วได้ง่ายขึ้น
การไถก่อน 1 ครั้ง แล้วยกร่องให้สันร่องกว้างประมาณ 1 เมตร พอที่จะปลูกถั่วเหลืองได้ 2 แถวบนสันร่อง จะทำให้สะดวกในการ่ส่งน้ำเข้าไปตามร่องตลอดทั้งการปฏิบัติดูแลรักษา และเก็บเกี่ยว
การเตรียมดินในภาคกลาง หรือแหล่งปลูกที่มีสภาพดินเป็นดินเหนียว ต้องไถพรวนให้ดินแตกเป็นก้อน ขนาด 1-2 นิ้ว ไม่ควรให้ดินแตกจนละเอียดเพราะเมื่อปล่อยน้ำเข้าแล้วดินจะจับเป็นแผ่นอีก ควรมีการยกแปลงและทำร่องน้ำสำหรับส่งน้ำเข้าแปลงได้ ร่องน้ำควรลึกประมาณ 30 เซนติเมตร หลังแปลง หรือสันร่องไม่ควรกว้างเกิน 1.5 เมตร เพราะถ้ากว้างเกินไปทำให้น้ำซึมเข้าไปถึงกลางแปลงได้น้อย ระวังอย่าให้น้ำท่วมหลังร่อง เพราะจะทำให้ดินแน่นและแฉะได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกๆ เมื่อหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปเมล็ดจะเน่าเสียหาย
การเตรียมดินในภาคตะวันออก เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ควรเกี่ยวให้ชิดดินแล้วเผาตอซังในนา เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืช โรค แมลงบางชนิด ขี้เถ้าที่ได้จากการเผาตอซังช่วยลดความเป็นกรดเป็นดิน และให้ธาตุโปตัสเซียมเล็กน้อยแล้วขุดร่องน้ำรอบบริเวณที่ปลูก หลังจากนั้นจึงแบ่งแปลงปลูกให้เป็นแปลงย่อย กว้างประมาณ 1 เมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาและสามารถให้น้ำได้อย่างทั่วถึง
หลังจากนั้นจึงปล่อยน้ำท่วมแปลงขังไว้ 1 คืน แล้วจึงระบายน้ำออกทิ้งไว้ 2-3 วัน พอดินหมาด ใช้เชือกขึงตรงเป็นแนวปลูก แล้วใช้ไม้เคี่ยวหรือไม้คู่กระทุ้งเตรียมหลุมปลูกโดยใช้ระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร ระหว่างแถว 40-50 เซนติเมตร โดยหยอดเมล็ดลึก 2-3 เซนติเมตร
การกำจัดวัชพืช
ความจำเป็นในการใช้เชื้อไรโซเบียม
ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถใช้เชื้อไรโซเบียมคลุกเมล็ดพันธุ์อย่างเดียวได้โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจน แต่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำต้องใช้ปุ๋ยเคมีด้วยควบคู่กับการคลุกเมล็ดพันธุ์ ดังนั้นไรโซเบียมจำเป็นที่จะต้อง ใช้ในกรณีต่อไปนี้
เชื้อไรโซเบียมหรือแบคทีเรียสำหรับคลุมเมล็ดพันธุ์
ไรโซเบียมเป็นบักเตรีชนิดหนึ่งที่เข้าไปอยู่ในปมรากถั่ว และสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาสร้างเป็นสาร ืประกอบไนโตรเจน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญและเพิ่มผลผลิตได้
ดังนั้น ถ้าได้เพาะเชื้อไรโซเบียมให้เข้าไปเจริญในรากพืชแล้วจะทำให้ต้นถั่วได้รับธาตุไนโตรเจนเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยไนโตนเจน เป็นการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงได้ ดังนั้น ก่อนที่จะนำเมล็ดถั่วเหลืองไปปลูก จึงควรคลุกเชื้อไรโซเบียมกับเมล็ดพันธุ์ การคลุกเชื้อไรโซเบียมกับเมล็ดพันธุ์นั้นจะใช้เมล็ดพันธุ์ 10 กก./เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง/พื้นที่ 1 ไร่ (เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง ราคา 10 บาท) การคลุกเชื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นควรใช้สารเหนียว เช่น น้ำข้าว น้ำเชื่อมใส หรือน้ำแป้งเปียกใสๆ คลุกเมล็ดเสียก่อนที่จะทำการคลุกเชื้อ หลังจากคลุกเชื้อแล้วเคลือบเมล็ดด้วยปูนขาวอีกทีเพื่อช่วยปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินรอบๆ เมล็ดให้ เหมาะแก่การเจริญของเชื้อไรโซเบียม เมื่อไรโซเบียมเข้าไปในรากถั่วเหลืองจะทำให้รากเป็นปมขึ้น ลักษณะปมที่ดี จะต้องมีขนาดใหญ่ สีแดงเรื่อๆ หรือสีชมพู
ข้อควร ระวังในการคลุกเชื้อไรโซเบียมถั่วเหลือง
การเก็บเกี่ยวถั่วเหลือง
การเก็บเกี่ยวจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล คือ ถ้าปลูกฤดูฝนเก็บได้ เมื่อถั่วเหลืองอายุ 95-110 วัน ถ้าปลูกในฤดูแล้งหรือปลายฤดูฝน เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 90-95 วัน การเก็บเกี่ยวในฤดูฝนและฤดูแล้งแตกต่างกันมาก เพราะฤดูแล้งนวดถั่วได้ง่าย ส่วนในฤดูฝนจะต้องเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม ซึ่งยังมีฝนตกหนักอยู่ จึงมักประสบกับปัญหาการตากและนวดยาก ทำให้เมล็ดถั่วเหลืองขึ้นราและเสียหายได้ง่าย
ถ้าปลูกถั่วเหลืองปลายฤดูฝน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ในราวเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม ควรเก็บเกี่ยวเมื่อใบเหลืองเริ่มร่วง ประมาณ 2 ใน 3 ของต้นและฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ถ้าเก็บเกี่ยวในระยะที่ฝนตกชุก การนำไปผึ่งแดดให้ฝักและเมล็ดแห้งนั้นทำได้ยาก จึงควรเก็บเกี่ยวต้นถั่วเมื่อแก่เต็มที่แล้ว โดยสังเกตได้จากใบจะเหลืองหมดทั้งต้นและร่วงหมด สีของฝักจะเปลี่ยนสีจากสีเขียวสดเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาล ใช้มีดหรือเคียวตัดโคนต้น นำมามัดเป็นฟ่อนตั้งเป็นกองทิ้งไว้ โดยเอาด้านโคนต้นลงดิน จนกระทั่งใบร่วง ถ้ายังไม่พร้อมที่จะนวดก็ควรนำไปเก็บไว้ในโรงเรียน โดยกองให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อให้ฝักแห้งมากที่สุดจะสะดวกในการนวดต่อไป
การนวด การนวดมีอยู่หลายวิธีแตกต่างกันออกไปคือ
การตาก และเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลือง
เมื่อนวดได้เมล็ดแล้ว ฝัดสีให้เมล็ดสะอาด นำเมล็ดไปตากบนพื้นที่ที่สะอาด มีผ้าใบหรือผ้าพลาสติกรองไว้ ตากไว้ 5-7 แดด จนเมล้ดแห้งสนิทจริง ๆ ให้มีความชื้นในเมล็ดประมาณ 10-12% จะปลอดภัยในการเก็บ
ถ้าในฤดูฝนควรผึ่งเมล็ดไว้ในที่ร่ม ให้เมล็ดถูกลมอย่างสม่ำเสมอกันจนเมล็ดแห้งสนิท จึงนำไปบรรจุกระสอบรอขายต่อไป
การเก็บรักษาเมล็ดถั่วเหลืองไว้ทำพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเป็นเมล็ดพันธุ์พืชน้ำมันที่เก็บรักษาไว้ได้ไม่นานนัก โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีอากาศร้อน ชื้น และอบอ้าว ก็มีส่วนทำให้ความงอกของเมล็ดลดลงอย่างรวดเร็ว หากมีการปฏิบัติต่อเมล็ดพันธุ์ที่เก็บรักษาไว้อย่างถูกวิธี ก็สามารถเก็บไว้ใช้ปลูกในไร่นาในฤดูถัดไปได้ การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองให้มีชีวิตอยู่ได้นานควรปฏิบัติเป็นขั้นตอน ดังนี้
ป้ายคำ : ปุ๋ยพืชสด, ผักพื้นบ้าน