ถั่วไมยรา (desmanthus virgatus) มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า ถั่วเดสแมนธัส หรือเฮดจ์ ลูเซอร์น (hedge ltcern) เป็นพืชตระกูลถั่วค้างปีจำพวกกระถิน กระถินณรงค์ และมะขามเทศ เป็นพืชพื้นเมืองที่ปลูกในเขตร้อน ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2.0-3.5 เมตร มีลักษณะใบและดอกคล้ายกระถิน แต่มีขนาดเล็กกว่า ฝักมีลักษณะตรงหรือค่อนข้างตรงเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวและดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มี PH ระหว่าง 5.5-6.5 มีการแพร่กระจายของฝนดี หรือมีการให้น้ำชลประทาน ไม่ชอบขึ้นในพื้นที่ดินทรายและดินที่เป็นกรดจัด ไม่ทนแล้ง และไม่ทนน้ำท่วมขัง แต่เจริญเติบโตในที่ชื้นแฉะได้พอควร สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มาก และเมล็ดมีความงอกสูง ทำให้สะดวกต่อการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ถั่วไมยราถือเป็นถั่วอาหารสัตว์ที่มีความสำคัญอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นถั่วที่ปลูกง่าย มีคุณค่าทางโภชนศาสตร์สูง โดยสามารถใช้เลี้ยงสัตว์เพื่อเสริมโปรตีนได้ ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง(Ruminant) สามารถให้สัตว์กินในรูปถั่วสด หรือปล่อยสัตว์แทะเล็มได้ หรือจะให้ในรูปถั่วแห้งหรือในรูปของถั่วหมัก โดยในถั่วจะมีกระไฮโดรไซยานิค 7.7 เปอร์เซ็นต์ และ ไมโอซีน 0.29 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ไม่เป็นพิษต่อสัตว์ที่กินไม่ว่าจะมีปริมาณมากก็ตาม ส่วนในสัตว์กระเพาะเดี่ยวจะใช้ในการ เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารข้นเพื่อเสริมโปรตีนให้กับสัตว์ได้ เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของสัตว์
ลักษณะทั่วไป
ถั่วไมยรา ลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2-3.2 เมตร มีลักษณะ ใบและดอกคล้ายกระถิน แต่มีขนาดเล็กกว่า ฝักมีลักษณะตรงหรือค่อนข้างตรง เมล็ดพันธุ์ ใน 1 กิโลกรัม มีประมาณ 310,000 เมล็ด ความงอกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ( ทิพาและคณะ, 2535 ) เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการแพร่กระจายของฝนดี หรือมีการให้น้ำชลประทาน เจริญเติบโตไม่ดีในดินทรายและดินที่เป็นกรดจัด ไม่ทนน้ำท่วมขัง เมื่อปลูกในดินราชบุรีที่ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ชัยนาท จะให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2.3-3.1 ตันต่อไร่ (ทิพาและคณะ, 2532, 2536 ก,ข, จีระวัชร์และคณะ, 2536ก,) สูงกว่าถั่วอาหารสัตว์พันธุ์อื่นๆ
ถั่วเดสแมนธัสหรือถั่วเฮดจลูเซอร์น (Hedge lucern) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งจัดอยู่ใน Subfamily Mimosaceae เช่นเดียวกับกระถิน กระถินณรงค์ และมะขามเทศ เป็นพืชพื้นเมืองที่ปลูกในเขตร้อน มีรายงานพบพืชชนิดนี้ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2465 ไม่มีชื่อเรียกท้องถิ่น และไม่ปรากฎบันทึกชื่อเรียกท้องถิ่นในประเทศไทย ผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์ เห็นสมควรกำหนดชื่อไทยว่าไมยรา มีการนำถั่วเดสแมนธัสสายพันธุ์ CPI 52401 มาปลูกขยายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ขอนแก่น ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ปากช่อง ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ชัยนาท และสถานีอาหารสัตว์เชียงยืน เมื่อปี พ.ศ.2530 ปลายปี พ.ศ.2532 Dr.D.S.Loch ได้นำถั่วเดสแมนธัส อีก 6 สายพันธุ์ จากทวีปอเมริกาใต้ และออสเตรเลียเข้ามาอีก จากการศึกษาพบว่าในพื้นที่ดินเหนียว สายพันธุ์ CPI 52401 สามารถเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตส่วนต้นและใบที่ใช้เลี้ยงสัตว์สูงกว่าสายพันธุ์อื่น เป็นพืชตระกูลถั่วที่มีอายุหลายปีลักษณะเป็นพุ่มคล้ายกระถิน แต่มีทรงพุ่มใบและฝักขนาดเล็กกว่า ต้นค่อนข้างจะตั้งตรง สูงประมาณ 2 3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณืค่อนข้างสูง มี pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) 5 6.5 แต่สามารถปรับตัว และเจริญเติบโตได้ในดินเหนียว เป็นพืชเขตร้อนที่มีปริมาณน้ำฝน 1,000 1,500 มิลลิเมตรต่อปี สามารถปลูกร่วมกับหญ้าเนเปียร์ และหญ้ากินนีได้ นิยมปลูกด้วยเมล็ด ถั่วไมยราให้ผลผลิตเมล็ดไร่ละประมาณ 140 170 กิโลกรัม แต่เมล็ดถั่วไมยรามีระยะพักตัว ก่อนปลูก จึงต้องนำเมล็ดแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 8 นาที ใช้เมล็ดอัตราประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อไร่ควรใช้ระยะปลูก 10 x 50 หรือ 10 x 75 เซนติเมตร
จากรายงานวิจัยของศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ชัยนาทพบว่าควรจะตัดต้นถั่วไมยราสูงจากพื้นดินประมาณ 35 ซม. โดยตัดครั้งแรกเมื่ออายุ 60 วัน และต่อมาตัดทุก 30 45 วัน ได้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2,200 3,150 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณโปรตีนประมาณ 19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นพืชอาหารสัตว์ที่ให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสูง และไม่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสัตว์
การปลูกถั่วไมยราเพื่อเลี้ยงสัตว์
การปลูกและการดูแลรักษา
ช่วงเวลาปลูก
ควรปลูกในต้นฤดูฝน เพราะความชื้น อุณหภูมิและแสงเหมาะต่อการเจริญเติบโตของต้นถั่ว
การเตรียมพื้นที่ปลูก
เตรียมดินปลูกถั่วไมยราเช่นเดียวกับพืชไร่ทั่วๆ ไป คือ ไถ พรวน แล้วปลูกโดยหยอดเมล็ด ควรมีการไถย่อยดินให้ละเอียด ร่วนซุย เหมาะสำหรับการฝังตัวของเมล็ด โดยต้องไถพรวน 2 ครั้ง ซึ่งในการไถครั้งที่ 1 เป็นการไถเพื่อกำจัดวัชพืชที่ปกคลุมอยู่ให้หมดไป และการไถพรวนครั้งที่ 2 เพื่อทำลายต้นกล้าวัชพืชที่ขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งทำให้ดินละเอียด เป็นการปรับสภาพแปลงให้ราบเรียบ
การเตรียมเมล็ด
เมล็ดถั่วไมยรา จะมีเมล็ดแข็ง (hard seed) ดังนั้นจึงควรทำลายระยะพักตัวโดยการแช่น้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที
วิธีการปลูก
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลผลิตของถั่วเนื่องจากถั่วไมยรา เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง และที่ศูนย์วิจัยอาหารสัตว์ชัยนาท ชุดดินราชบุรี ซึ่งเป็นดินเหนียว มีปริมาณฟอสฟอรัสที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ค่อนข้างสูง การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสระดับ 0-15 กิโลกรัม P2P5 ต่อไร่ ไม่มีผลทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยให้ผลผลิตนำหนักแห้งระหว่าง 2.9-3.1 ตันต่อไร่ ( จีระวัชร์ และคณะ, 2536)
การกำจัดวัชพืช
เนื่องจากถั่วเจริญเติบโตช้าในระยะแรก จึงควรกำจัดวัชพืชภายหลังการปลูก 1 เดือน เพื่อช่วยให้ถั่วตั้งตัวได้ดี
โรคและแมลง
ช่วงแล้งพบเพลี้ยไฟ และแมลงหวี่ขาวมาก และพบเชื้อราดำ (Tripospemum sp.) เข้าทำลายซ้ำทำให้เหี่ยวและใบร่วง
สารพิษ
ในใบถั่วไมยราพบกรดไฮโดรไซยานิค 7.70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และปริมาณไมโมซิน 0.29 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปริมาณสารพิษที่ตรวจพบนี้ ต่ำกว่าระดับที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ ( นพวรรณ และคณะ , 2534)
การใช้ประโยชน์
การตัดถั่วไมยราควรตัดครั้งแรกหลังการปลูก 60 วัน หลังจากนั้นตัดทุก 30-40 วัน เป็นช่วงที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี คุณภาพจะลดลงเมื่อยืดระยะเวลาออกไป
การใช้ถั่วไมยราเลี้ยงสัตว์
ใช้เป็นอาหารโค กระบือ แพะ แกะ
สามารถใช้ได้ทั้งในรูปแบบที่ใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบโดยตรง ใช้ในสูตรอาหารผสมเสร็จ (TDM) และใช้วัตถุดิบประเภทโปรตีนผสมในอาหารข้น
การใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบ ให้สัตว์กินได้หลายรูปแบบทั้งในสภาพถั่วสด โดยอาจตัดสดมาให้กินในคอก หรือปล่อยแทะเล็มก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในรูปถั่วแห้งหรือถั่วหมักก็ได้ โดยให้กินได้อย่างเต็มที่ แต่ควรมีการให้หญ้าแห้งหรือหญ้าสดร่วมด้วยอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ของวัตถุแห้งที่กินได้ เพื่อช่วยเพิ่มเยื่อใยให้พอกับความต้องการของสัตว์
ถั่วไมยราหมัก
การทำพืชหมัก (silage) เป็นวิธีการถนอมพืชอาหารสัตว์ที่มีมากในช่วงฤดูฝน ไว้ใช้เวลาที่พืชขาดแคลน สถานีอาหารสัตว์ตรังได้นำถั่วไมยราอายุ 40 วันมาหมัก หลังจากครบกำหนดการหมักแล้ว ได้มีการตรวจสอบลักษณะทางคุณภาพพบว่า น่าจะเป็นพืชหมักที่ดี เพราะมีสีเขียว แต่เมื่อสุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ คุณภาพพบว่า ตัวอย่างมีกลิ่นเหม็น วัดค่า PH ของพืชหมักได้ 5.3 มีปริมาณวัตถุแห้ง 23.2 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปริมาณกรดไขมันระเหยได้ (Volatile fatty Acid) พบว่ามีกรดอะซิติกสูงถึง 50.1 เปอร์เซ็นต์ กรดบิวทีริค 3.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกรดแลคติกซึ่งทำหน้าที่รักษาคุณภาพพืชหมักมีเพียง 1.4 เปอร์เซ็นต์
การที่ถั่วไมยราหมักมีกรดแลคติกต่ำ แต่มีกรดอะซิติกและบิทีริคสูง เนื่องมาจากสาเหตุที่สำคัญดังนี้
ขบวนการหมักของถั่วไมยรา
การใช้ถั่วไมยราอายุ 40 วัน มาทำการหมัก หลังจากการปิดบ่อหมัก ขบวนการต่างๆที่เกิดขึ้น มีความเป็นไปดังนี้
ดังนั้นการทำถั่วไมยราหมักควรใช้ถั่วไมยราอายุ 60 วัน หรือมากกว่าเมื่อให้พืชมีวัตถุแห้ง และWSC ที่เหมาะแก่การหมัก
ป้ายคำ : อาหารสัตว์