เกษตรยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศ ผลผลิต คุณภาพที่ดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุล
เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยการพัฒนาการจัดการดินและการหมุนเวียนการปลูกพืชที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
สังคมยั่งยืน ด้วยการใช้แรงงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น อย่างน้อยสำหรับเทคนิคการเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นในสังคม
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตลอดจนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ
- เกษตรธรรมชาติ
- ไร่หมุนเวียน
- วนเกษตร
- เกษตรผสมผสาน
- ไร่นาสวนผสม
- เกษตรทฤษฏีใหม่
- เกษตรกรรมประณีต
- เกษตรอินทรีย์
หัวใจของเกษตรอินทรีย์
1. การดูและเอาใจใส่ Care
- การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพ และความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย
- ระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ต้องมีการประเมินผลกระทบเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้อย่างจริงจัง)
2. สุขภาพ Healthy
- คลอบคลุมสุขภาพของดิน พืช สัตว์ มนุษย์และโลก: กายภาพ เคมี ชีวภาพ, ดูแลดินด้วยการใช้อินทรีย์วัตถุในแปลง ในท้องถิ่นที่เหลือใช้, งบประมาณธาตุอาหาร เติมธาตุอาหารเข้าสมดุลกับธาตุอาหารออก
- สุขภาวะองค์รวมของสิ่งมีชีวิต ชุมชน และระบบนิเวศที่เชื่อมโยงถึงกัน
- ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ทำให้พืชแข็งแรง ทำให้สัตว์และมนุษย์(ที่บริโภคพืชนั้นเป็นอาหาร)แข็งแรง
- ไม่ใช่แค่ไม่เป็นโรค แต่รวมถึงภูมิต้านทาน และความสามารถฟื้นตัวเองจากการเสื่อมถอย
- เป้าหมายผลิตอาหารเพื่อผู้บริโภค ที่มีคุณภาพสูงและมีคุณค่าทางโภชนาการ
3.ระบบนิเวศ Ecology
- ตั้งอยู่บนฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรธรรมชาติ
- ระบบนิเวศมีชีวิต เปลี่ยนแปลงไปตามวัฐจักร(ฤดูกาล)
- เกษตรอินทรีย์ต้องปรับการผลิตตามการเปลี่ยนแปลง
- นิเวศน์มีความแตกต่าง การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรมและเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม
- ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการเกษตรกับนิเวศน์การเกษตร ออกแบบระบบฟาร์มที่เหมาะสม
4. ความเป็นธรรม Fairness
- หมายถึงความเท่าเทียม ความเคารพ ความยุติธรรม
- ความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมระหว่างมนุษย์(ฟาร์ม) สิ่งแวดล้อมและสมาชิกต่างๆ
- เป็นธรรมกับผู้คนตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค
- เป็นธรรมต่อสัตว์เลี้ยง จัดสภาพการเลี้ยงที่สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์
- เป็นธรรมต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ในการผลิต อนุรักษ์ให้กับคนรุ่นหลัง
- เป็นธรรมของระบบการผลิต จำหน่าย และการค้า