ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางอยู่ตอนใต้ของประเทศไทยและมีการปลูกทุเรียนมาเป็นระยะเวลานานมาก แล้ว ดังนั้นจึงนับได้ว่าทุเรียนเป็นผลไม้ประจำถิ่นชนิดหนึ่งของภาคใต้ โดยแต่เดิมพันธุ์ที่จะปลูกจะเป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงพบว่ามีการปลูกอยู่อย่างกระจัดกระจายในทุกจังหวัด ดังนั้นประชาชนในภาคใต้โดยทั่วไปจึงคุ้นเคยและนิยมรับประทานทุเรียนในรูปแบบต่าง ๆ ลักษณะของทุเรียนที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองนั้นมักมีเนื้อแฉะและกลิ่นค่อนข้างแรง ในขณะที่ผลสุกที่มักเรียกว่าปลาร้า ทั้งนี้เนื่องจากมาจากลักษณะประจำพันธุ์และผลที่สุกงอมด้วย (การเก็บเกี่ยวทุเรียนพื้นเมือง โดยทั่วไปจะรอให้ผลสุกและร่วงหล่นเอง หลังจากนั้นในเวลาช่วงเช้าจึงไปเก็บผลใต้ต้น เพราะทุเรียนมีลำต้นที่สูง) ดังนั้น ประชาชนดั้งเดิมในภาคใต้จะคุ้นเคยและมักจะรับประทานทุเรียนที่มีเนื้อแฉะและกลิ่นฉุน และในปัจจุบันยังก็คงพบว่าประชาชนในภาคใต้ชอบรับประทานทุเรียนที่มีเนื้อค่อนข้างสุกและนิ่มมากกว่าประชาชนในเขตภาคกลาง
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่เป็นที่รู้จักและบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ในโลกตะวันตกนั้น ทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียงระยะเวลา 600 ปีที่ผ่านมา โดยครั้งแรกสุดชาวยุโรปรู้จักทุเรียนจากบันทึกของนิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccol Da Conti) ซึ่งเป็นผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงระยะเวลาคริสต์ศตวรรษที่ 15 การ์เซีย เดอ ออร์ต้า (Garcia de Orta) แพทย์ชาวโปรตุเกสได้บรรยายถึงทุเรียนใน Colquios dos Simples e Drogas da India (การสนทนาทั่วไปเกี่ยวกับยาจากอินเดีย) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2106 ใน Herbarium Amboinense (พรรณไม้จากอองบง) ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อเกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (Georg Eberhard Rumphius) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2284 โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับทุเรียนที่มีการเขียนเกี่ยวกับรายละเอียดไว้อย่างละเอียด ว่าทุเรียนเป็นพืชในสกุลทุเรียน (Durio) มีอนุกรมวิธานที่ซับซ้อน ซึ่งจะเห็นได้จากการที่มีการลบและการเพิ่มพืชหลาย ๆ ชนิดลงไปในสกุลนี้ ตั้งแต่โดยรัมฟิออซตั้งสกุลทุเรียนขึ้นมา ในช่วงแรกมีการศึกษาเกี่ยวกับอนุกรมวิธานของทุเรียนนั้น ยังมีความสับสนระหว่างผลไม้ 2 ชนิดคือทุเรียนและทุเรียนเทศเป็นอย่างมาก เพราะผลของผลไม้ทั้งสองชนิดนี้เป็นผลไม้สีเขียวมีหนามเหมือนกัน และมีบันทึกที่น่าสนใจที่ชื่อภาษามาเลย์ของทุเรียนเทศคือ Durian Belanda(ดูริยัน บะลันดา) ซึ่งแปลว่า ทุเรียนดัตช์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โยฮันน์ อานทอน ไวน์มานน์ (Johann Anton Weinmann) ได้พิจารณาให้ทุเรียนเป็นสมาชิกของวงศ์ Castaneae ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระจับม้า
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำทุเรียนชนิด D. Zibethinus เข้ามาสู่ซีย์ลอนและได้มีการนำเข้ามาอีกหลายครั้งในภายหลัง ส่วนในทวีปอเมริกามีการปลูกทุเรียนเช่นกัน แต่ถูกจำกัดอยู่แค่ในสวนพฤกษศาสตร์เท่านั้น ต้นกล้าต้นแรกถูกส่งจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงสู่เมืองคิวมาสู่ โอกูสต์ เซนต์-อาร์โรมอง (Auguste Saint-Arroman) แห่งโดมินิกาในปี พ.ศ. 2427
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเพาะปลูกทุเรียนในท้องถิ่นมามากกว่าศตวรรษแล้ว ตั้งแต่ช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และมีการปลูกในเชิงพาณิชย์ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ใน My Tropic Island (เกาะเมืองร้อนของฉัน) ของ เอ็ดมันด์ เจมส์ แบนฟีลด์ (Edmund James Banfield) นักประพันธ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อนของเขาจากประเทศสิงคโปร์ส่งเมล็ดทุเรียนมาให้ เขาทำการปลูกและดูแลอยู่บนเกาะเขตร้อนของเขานอกชายฝั่งตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2492 อี.เจ.เอช. คอร์เนอร์ (E.J.H. Corner) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ The Durian Theory, or the Origin of the Modern Tree (ทฤษฎีทุเรียนหรือต้นกำเนิดของต้นไม้ยุคใหม่) ทฤษฎีของเขากล่าวถึงการแพร่กระจายของเมล็ดพันธุ์ที่แพร่กระจายโดยสัตว์ (เป็นการล่อให้สัตว์เข้ามากินผลไม้และลำเลียงเมล็ดไปในกระเพาะของสัตว์) เกิดขึ้นก่อนวิธีอื่นในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ และบรรพบุรุษดั้งเดิมของผลไม้สกุลทุเรียนใช้วิธีนี้ในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีแรกสุด โดยเฉพาะในทุเรียนแดง ซึ่งเป็นตัวอย่างผลไม้โบราณของพืชดอก ตั้งแต่ช่วงต้นของช่วงปี พ.ศ. 2533 ความต้องการทุเรียนภายในประเทศและในระดับสากลในพื้นที่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างมาก บางส่วนนั้นเกิดจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย
วงศ์ (Family): Bombacaceae
ชื่อสามัญ (Common name): Durian
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Durio zibethinus Murray
ภาคเหนือเรียก มะทุเรียน ภาคใต้เรียก เรียน มาเลเซีย-ใต้เรียก ดูรียัน (กัวลาลัมเปอร์-เคดาห์) ดือแย (กลันตัน-ตรังกานู)
ใบ
ทุเรียนเป็นไม้ยืนต้น ไม่มีการผลัดใบ ทรงพุ่มแผ่กว้าง อาจสูงถึง 20 ถึง 40 เมตรสำหรับต้นที่ปลูกมาจากเมล็ด ส่วนต้นที่ปลูกจากการเสียบยอดอาจสูงถึง 8 ถึง 12 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ยาวประมาณ 8 ถึง 20 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 4 ถึง 6 เซนติเมตร ลักษณะของใบมีลักษณะเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดใบกว้างแบบใบเลี้ยงเดียว ขนาดของใบกว้าง 2-3 นิ้ว ยาว 6-8 นิ้วปลายใบแหลม มีก้านใบสีน้ำตาลยาวประมาณ 1 นิ้ว บนใบสีเขียวแก่ถึงเขียวเข้ม ใต้ใบเป็นสีน้ำตาล เส้นใบทุเรียนสานกัน เป็นร่างแห
ราก
ทุเรียนเป็นพันธุ์ไม้ที่มีรากหาอาหารกันตามผิวดินจนถึงระดับ 50 เซนติเมตร มีรากพิเศษที่เกิดจากบริเวณโคนต้นอยู่มากมายตามผิวดิน แตกออกมาลักษณะตีนตะขาบเรียกว่ารากตะขาบ รากแก้วของ ทุเรียนทำหน้าที่ยึดลำต้น ทุเรียนนนท์ส่วนใหญ่ ไม่มีรากแก้วเพราะปลูกจากกิ่งตอน แต่จะมีรากพิเศษแทนหรือรากแขนงที่ แตกจากรากพิเศษที่หยั่งลึกลงไปในดินทำหน้าที่คล้ายรากแก้วและสามารถหยั่งลึกไปถึงระดับน้ำใต้ดินได้ มีรากฝอยเป็น รากหาอาหาร ออกมาจากรากพิเศษที่ทำหน้าที่ดูดอาหารด้วย
ดอก
ทุเรียนมีลักษณะคล้ายระฆัง มีส่วนของ ดอกครบถ้วนและเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีรังไข่อยู่เหนือส่วนอื่นของดอกแต่ละ ดอกประกอบด้วย กลีบเลี้ยงอยู่ชั้นนอกสุดมีสีเขียวอมน้ำตาล หุ้มดอกไว้มิดชิดโดยไม่มีการแบ่งกลีบแต่เมื่อดอกใกล้แย้ม จึงแยกออกเป็นสองหรือสามกลีบ กลีบรองลักษณะคล้ายหม้อตาลโตนดอยู่ถัดเข้าไปจากกลีบเลี้ยง กลีบดอกสีขาวนวลมี 5กลีบ เกสรตัวผู้มี 5 ชุด ประกอบด้วยก้านเกสร5-8 อัน ทุเรียนมักออกดอกเป็นช่อๆหนึ่งมีตั้งแต่ 1-30 ดอก ดอกมักอยู่รวม กันเป็นพวงๆมี 1-8 ดอก
ผล
ผลของทุเรียนมีเปลือกหนา มีหนามแหลมแข็งเป็นรูปปิรามิดตลอดผล ทรงของผลทุเรียนมีหลายรูปแบบแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของทุเรียน เช่นพันธุ์กลม (ก้านยาว กระดุม) พันธุ์ก้นป้าน (หมอนทอง ทองย้อย) ฯลฯ ผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตรความยาวอยู่ที่ลักษณะของทุเรียน เนื้อของทุเรียนมีสีจำปาหรือเนื้อสีเหลืองอ่อน ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและพันธุ์ของทุเรียน
ประโยชน์ตั้งแต่ผลทุเรียนจนถึงลำต้น
- เนื้อ: เนื้อทุเรียนมีกำมะถันเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ร้อน แต่ความร้อนนี้ล่ะจะช่วยแก้โรคผิวหนังได้ ทำให้ฝีหนองแห้งเร็ว และมีฤทธิ์ขับพยาธิได้ด้วย
- เปลือก: ถ้าเอาเปลือกแหลมๆ ไปสับแช่ในน้ำปูนใส แล้วเอามาล้างแผลพุพอง แผลน้ำเหลืองเสีย แผลจะหายเร็ว หรือถ้าหากมีเด็กในบ้านเป็นคางทูม คนสมัยก่อนเขาก็จะเอาเปลือกทุเรียนไปเผาแล้วบดเป็นผง เอมาผสมกับน้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว แล้วเอามาพอกที่คาง คางทูมก็จะยุบ
- ใบทุเรียน: เอาใบทุเรียนไปต้มกับน้ำแล้วเอาน้ำนั้นมาอาบ ความร้อนจะช่วย ให้หายไข้และโรคดีซ่านได้
- ราก:ตัดเป็นข้อๆ ใส่หม้อต้มให้เดือด นำมาดื่มบรรเทาอาการไข้และรักษาอาการท้องร่วงได้ดี
คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียน
ทุเรียน (Durio zibethinus)
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก. (3.5 ออนซ์)
- พลังงาน 150 kcal 620 kJ
- คาร์โบไฮเดรต 27.09 g
- เส้นใย 3.8 g
- ไขมัน 5.33 g
- โปรตีน 1.47 g
- น้ำ 65 g
- เบต้า-แคโรทีน 46 g 0%
- วิตามินบี1 0.16 mg 12%
- วิตามินบี2 0.23 mg 15%
- ไนอะซิน 2.5 mg 17%
- วิตามินซี 19.7 mg 33%
- แคลเซียม 29 mg 3%
- เหล็ก 1.1 mg 9%
- ฟอสฟอรัส 34 mg 5%
- โพแทสเซียม 436 mg 9%
ทุเรียน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-46 องศาเซลเซียลปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศสูงประมาณ 75-85 % ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5-6.5
พันธุ์ทุเรียนที่นิยม
1. พันธุ์หมอนทอง
- ทรงพุ่มโปร่ง รูปฉัตรใบใหญ่ยาวเรียว (linear-oblong) ปลายใบเรียวแหลม(acuminate) ฐานใบแหลม (acute) ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีขาวอมเหลือง ออกดอกเป็นช่อประกอบด้วยดอกย่อย 3-30 ดอก
- ผลมีขนาดใหญ่น้ำหนักผลตั้งแต่2.0 – 4.5 กก. ทรงผลยาว (oblong) ก้นผลแหลมไหล่ผลกว้าง พูเห็นชัดเจน เปลือกค่อนข้างบาง เนื้อหนา หยาบ สีเหลืองอ่อน รสหวานจัด กลิ่นน้อย
- ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า
2. พันธุ์ชะนี
- ทรงพุ่มทึบ รูปฉัตร กิ่งถี่ทรงพุ่มค่อนข้างแคบ แตกกิ่งเป็นระเบียบ ใบเล็กทรงยาวรูปไข่(oval-oblong) ปลายใบสั้นสอบแหลม (acuminate-acute) หรือ สอบแหลม (acuminate) ฐานใบมนออกแหลม (acute) หรือ มน (obtuse)
- ผล เป็นรูปทรงกระบอก (cylindroidal) หรือทรงไข่ปลายแหลม ขนาดผลปานกลาง กลางผลป่อง (ellipsoidal) พูเห็นเด่นชัด ร่องพูไม่ลึก เนื้อละเอียดและเหนียว สีเหลืองเข้ม รสหวานมัน กลิ่นแรง แต่เนื้อไม่หนานัก
- ทนทานต่อโรครากเน่าและโคนเน่า
3. พันธุ์ก้านยาว
- ทรงรูปกรวย กิ่งยาว และมีนิสัยทิ้งกิ่งง่าย ใบใหญ่ปลายใบกว้างสอบมาทางโคนใบ (obovolanceolate) ปลายใบสอบแหลม (acuminate) ฐานใบเรียวสอบออกแหลม (cuncate-acute)
- ผลทรงกลม (round) หรือทรงลิ้นจี่(obovate) คือ ค่อนข้างยาว มีไหล่ผล ด้านขั้วผลกว้างและเรียวไปทางก้นผล ขนาดไม่โตนัก พูไม่เห็นเด่นชัด ก้านผลยาวเห็นได้ชัด เนื้อบาง สีเหลือง ละเอียดและเหนียว เมล็ดโต รสหวานมัน กลิ่นน้อย เนื้อไม่ค่อยแฉะเละ แม้ว่าจะสุกเกินไปบ้างเมล็ดโต จํานวนเมล็ดมาก
- ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า
2. พันธุ์กระดุมทอง
- ทรงพุ่มโปร่ง รูปกรวย ใบใหญ่รูปปอมกลางใบ (elliptical) ปลายใบเรียวแหลมยาว (caudate-acuminate) ฐานใบกลม (obtuse) กว้างและสั้น
- ผล กลม เล็ก ร่องพูลึกคล้ายผลฟกทอง เปลือกค่อนข้างบาง หนามเล็กและถี่เนื้อบาง สีเหลืองเข้ม รสหวานจัด
- ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า
พันธุ์ส่งเสริม
- พันธุ์ชะนี
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีสวย มีสีเหลืองเข้ม การสุกของเนื้อในผลเดียวกันสม่ำเสมอ ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่าพอสมควร
ลักษณะด้อย ออกดอกติดผลไม่ดี มักพบอาการแกน เต่าเผา ไส้ซึม งอมแล้วเนื้อแฉะ กลิ่นฉุน คุณภาพเนื้อ ไม่เหมาะสำหรับแปรรูป
- พันธุ์หมอนทอง
ลักษณะเด่น เนื้อหนา เมล็ดลีบ กลิ่นไม่แรง ติดผลดี ผลสุกเก็บได้นานกว่าพันธุ์อื่น (เมื่อสุกงอมเนื้อไม่แฉะ) ไม่ค่อยพบอาการแกน เต่าเผาหรือไส้ซึม คุณภาพเนื้อเหมาะสำหรับการแปรรูป ในรูปแบบของการแช่แข็ง กวน และทอดกรอบ
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อรากเน่า โคนเน่า เนื้อหยาบ สีเนื้อเหลืองอ่อน (ไม่เข้ม) มักพบการสุกไม่สม่ำเสมอ อาจสุกทั้งผล สุกบางพู หรือสุกบางส่วนในพูเดียวกัน
- พันธุ์ก้านยาว
ลักษณะเด่น เนื้อละเอียดเหนียว สีเนื้อสม่ำเสมอ เมื่อสุกงอมแล้วเนื้อไม่แฉะ ติดผลดี พบอาการแกนเล็กน้อย ติดผลง่าย ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่
ลักษณะด้อย เปลือกหนา เนื้อไม่ค่อยหนา เมล็ดมีขนาดใหญ่และมีจำนวนมากเป็นไส้ซึมง่าย มีอาการเต่าเผาปานกลาง ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ถ้าหากมีจำนวนผลมากคุณภาพผลจะไม่ดีและจะทำให้กิ่งแห้งตายในภายหลัง อายุการให้ผลหลังปลูกช้า ผลสุกเก็บได้นาน ก้นผลจะแตกง่าย
- พันธุ์กระดุม
ลักษณะเด่น ออกดอกเร็ว ผลแก่เร็วจึงขายได้ราคาดีและไม่มีปัญหาไส้ซึม อายุการให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดี ผลดก
ลักษณะด้อย ไม่ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า ผลมีขนาดเล็ก เนื้อบาง ถ้าออกผลล่าช้าไปตรงกับการออกผลของพันธุ์อื่นจะมีปัญหาเรื่องตลาด (กรมวิชาการเกษตร)
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับทุเรียน
- พื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 0-650 เมตร มีความลาดเอียงประมาณ 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ควรเกิน 15 เปอร์เซ็นต์ การคมนาคมสะดวก ขนส่งผลผลิตได้รวดเร็ว
- ดินร่วนปนทราย อุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี หน้าดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ค่าความเป็น กรดด่างของดินระหว่าง 5.5-6.5
- อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 10-46 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
- ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายตัวของฝนดี มีช่วงแล้งต่อเนื่องน้อยกว่า 3 เดือนต่อปี
- มีน้ำสะอาดเพียงพอตลอดทั้งปี (ประมาณ 600-800 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่) ไม่มีสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 6.0-7.5 มีสารละลายเกลือไม่มากกว่า 1.4 มิลลิโมห์ต่อเซนติเมตร
การเลือกพื้นที่ปลูกทุเรียน
ควรคำนึงถึง
- แหล่งนํ้า ต้องมีแหล่งนํ้าจืดให้ต้นทุเรียนได้เพียงพอตลอดปี
- อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้นอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 75-85% ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง มีอากาศร้อนจัด เย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบไหม้หรือใบร่วง ต้นทุเรียนไม่เจริญเติบโตหรือเติบโตช้าให้ผลผลิตช้าและน้อยไม่คุ้มต่อการลงทุน
- สภาพดิน ควรเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนทราย ที่มีการระบายนํ้าดีและมีหน้าดินลึก เพราะทุเรียนเป็นพืชที่อ่อนแอต่อสภาพนํ้าขัง ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ถ้าจำเป็นต้องปลูกทุเรียนในสภาพดินทราย จำ เป็นต้องนำ หน้าดินจากแหล่งอื่นมาเสริม ต้องใส่ปุ๋ยคอกและต้องดูแลเรื่องการให้นํ้ามากเป็นพิเศษ แหล่งนํ้าต้องเพียงพอ
การปลูก
ฤดูปลูก ถ้ามีการจัดระบบการให้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลให้นํ้ากับต้นทุเรียนได้สมํ่าเสมอช่วงหลังปลูก ควรปลูกตั้งแต่เดือนมีนาคม-เมษายน แต่ถ้าหากจัดระบบนํ้าไม่ทันหรือยังไม่อาจดูแลเรื่องนํ้าได้ ควรปลูกต้นฤดูฝนเตรียมพื้นที่การปลูกทุเรียน
- ไถ ขุดตอ ขุดรากไม้เก่า ออกจากแปลง
– พื้นที่ดอนไม่มีปัญหานํ้าท่วมขัง : ไถกำ จัดวัชพืชอย่างเดียว
– พื้นที่ดอน มีแอ่งที่ลุ่มนํ้าขัง : ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ
– พื้นที่ลุ่มหรือตํ่ามีนํ้าท่วมขัง : ทำ ทางระบายนํ้าหรือยกร่อง
- กำหนดระยะปลูก
ระยะระหว่างต้นและระยะระหว่างแถวด้านละ 9 เมตร ปลูกได้ไร่ละ 20 ต้น การทำ สวนขนาดใหญ่ ควรขยายระยะระหว่างแถวให้กว้างขึ้น เพื่อสะดวกต่อการนำ เครื่องจักรกลต่างๆ ไปทำงานในระหว่างแถว
- วางแนวและปักไม้ตามระยะปลูกที่กำหนดวางแนวกำหนดแถวปลูกโดยคำนึงว่า แนวปลูกขวางความลาดเทของพื้นที่หรืออาจกำหนดในแนวตั้งฉากกับถนน หรือกำ หนดแถวปลูกไปในแนวทิศตะวันออก ตะวันตก และถ้ามีการจัดวางระบบนํ้า ต้องพิจารณาแนวทางจัดวางท่อในสวนด้วย จากนั้นจึงปักไม้ตามระยะที่กำ หนดเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป
วิธีการปลูกทุเรียนทำ ได้ 2 ลักษณะ
- วิธีการขุดหลุมปลูก เหมาะกับสวนที่ไม่มีการวางระบบนํ้า
- วิธีการปลูกแบบไม่ขุดหลุม เหมาะกับสวนที่จัดวางระบบนํ้า
มีข้อดีคือ ประหยัดแรงงานค่าใช้จ่ายในการขุดหลุม ดินระบายนํ้าและอากาศดี รากเจริญเร็ว
การปลูกทุเรียนแบบขุดหลุมปลูก
- ขุดหลุมมีขนาดกว้างยาว และลึกด้านละ 50 เซนติเมตร
- ผสมปุ๋ยคอกเก่าประมาณ 5 กิโลกรัม และปุ๋ยหินฟอสเฟตครึ่งกิโลกรัม คลุกเคล้ากับดินที่ขุดขึ้นมา กลบกลับคืนไปในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
- เตรียมต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ ไม่เป็นโรค ไม่มีแมลงทำ ลาย และมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่ระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง
- ใช้มีดกรีดก้นถุงออก ถ้าพบรากขดงออยู่ก้นถุงให้ตัดออก
- วางถุงต้นกล้าที่ตัดก้นถุงออกแล้ววางลงตรงกลางหลุม จัดให้ตรงแนวกับต้นอื่นๆ พร้อมทั้ง ปรับระดับสูงตํ่าของต้นทุเรียนให้รอยต่อระหว่างรากกับลำ ต้นหรือระดับดินปากถุงเดิมสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
- ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงจากล่างขึ้นบนทั้งสองด้าน
- ดึงถุงพลาสติกออก ระมัดระวังอย่าให้ดินในถุงแตก
- กลบดินที่เหลือลงไปในหลุมอย่ากลบดินสูงถึงรอยเสียบยอด หรือรอยทาบ
- ปักไม้หลักข้างต้นทุเรียนที่ปลูกแล้ว พร้อมทั้งผูกเชือกยึดไว้เพื่อป้องกันลมพัดโยก
- กดดินบริเวณโคนต้น หาวัสดุคลุมโคนต้นแล้วรดนํ้าตามให้โชก
- จัดทำร่มเงาให้ต้นทุเรียนที่เพิ่งปลูก โดยใช้ทางมะพร้าว ทางจาก แผงหญ้าคา ทางระกำ หรือตาข่ายพรางแสง เมื่อทุเรียนตั้งตัวดีแล้วควรปลดออก หรืออาจปลูกไม้เพื่อให้ร่มเงา เช่น กล้วยก็จะช่วยเป็นร่มเงาและเพิ่มความชื้นในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้งที่อากาศแห้งและมีแสงแดดจัด
- แกะผ้าพลาสติกที่พันรอยเสียบยอดหรือทาบออกเมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน
การปลูกทุเรียนแบบไม่ขุดหลุม
- โรยปุ๋ยหินฟอสเฟต 500 กรัม หรือประมาณหนึ่งกระป๋องนมครึ่ง ตรงตำแหน่งที่ต้องการปลูกกลบดินบางๆ
- นำ ต้นพันธุ์มาวาง แล้วถากดินข้าง ๆ ขึ้นมาพูนกลบ แต่ถ้าหากเป็นดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินจะไม่เกาะตัวกัน ควรใช้วิธีขุดหลุมปลูก หรือจะใช้วิธีดัดแปลง
- วิธีดัดแปลง คือ นำ หน้าดินจากแหล่งอื่นมากองตรงตำ แหน่งที่จะปลูก กองดินควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร สูง 15 เซนติเมตร แหวกกลางกองดินโรยปุ๋ยหินฟอสเฟตในช่องที่แหวกไว้ กลบดินบางๆ วางต้นพันธุ์ดีลงตรงช่องที่แหวกไว้กลบดินทับ
- การแกะถงุออก ตอ้งระมัดระวังอย่าให้ดินแตก อาจทำได้โดยการกรีดถุงออกก่อน แล้วนำไปวางในตำแหน่งที่ปลูก กรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบน แล้วจึงค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ
- ระมัดระวังอย่ากลบดินให้สูงถึงรอยเสียบยอดหรือรอยทาบ
- หาวัสดุคลุมโคน และจัดทำ ร่มเงาให้กับต้นทุเรียนเหมือนการปลูกโดยวิธีขุดหลุม
การปฏิบัติดูแลรักษาทุเรียน
การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงก่อนให้ผลผลิต
เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และให้ผลผลิตได้เร็วขึ้น
- ในระหว่างรอทุเรียนให้ผลผลิต ในช่วงแรกควรปลูกพืชแซมเสริมรายได้ โดยเลือกพืชให้ตรงกับความต้องการของตลาด
- เมื่อตรวจพบทุเรียนตายหลังปลูกให้ทำ การปลูกซ่อม
- การให้นํ้า ช่วงเวลาหลังจากปลูกจะตรงกับฤดูฝน ถ้ามีฝนตกหนักควรทำ ทางระบายนํ้า และ ตรวจดูบริเวณหลุมปลูก ถ้าดินยุบตัวเป็นแอ่งมีนํ้าขังต้องพูนดินเพิ่ม ถ้าฝนทิ้งช่วง ควรรดนํ้าให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ ในปีต่อๆไป ควรดูแลรดนํ้าให้ต้นไม้ผลอย่างสมํ่าเสมอ และในช่วงฤดูแล้งควรใช้วัสดุคลุมดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
- การตัดแต่งกิ่ง
ปีที่ 1-2 ไม่ควรตัดแต่ง ปล่อยให้ต้นทุเรียนเจริญเติบโตอย่างเต็มที่
ปีต่อ ๆ ไป ตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแขนง กิ่งกระโดงในทรงพุ่ม กิ่งเป็นโรคออก เลี้ยงกิ่งแขนงที่สมบูรณ์ที่อยู่ในแนวขนานกับพื้น (กิ่งมุมกว้าง) ไว้ในปริมาณและทิศทางเหมาะสม โดยให้กิ่งล่างสุดอยู่ สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร
- การป้องกันกำ จัด
ช่วงแตกใบอ่อน : ควรป้องกันกำ จัดโรคใบติด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง
ช่วงฤดูฝน:ป้องกันกำ จัดโรครากเน่าโคนเน่าและควบคุมวัชพืชโดยการปลูกพืชคลุมดินและอาจจะกำจัดโดยใช้แรงงานขุด ถาก ถอน ตัด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพราะต้นทุเรียนยังเล็กอยู่ละอองสารเคมีอาจจะไปทำลายต้นทุเรียน
- การทำร่มเงา ในช่วงฤดูแล้ง แสงแดดจัดมาก ทำให้ทุเรียนใบไหม้ได้ ควรทำร่มเงาให้
- การใส่ปุ๋ยควรทำ ดังนี้
– ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง
– ใส่ปุ๋ยพร้อมกับการทำ โคน คือ ถากวัชพืชบริเวณใต้ทรงพุ่ม หว่านปุ๋ยและพรวนดิน
นอกชายพุ่มขึ้นมากลบใต้ทรงพุ่มให้มีลักษณะเป็นหลังเต่า และขยายขนาดของเนินดินให้กว้างขึ้นตามขนาดของทรงพุ่มหรือจะใส่ปุ๋ย โดยวิธีใช้ไม้ปลายแหลมแทงดินเป็นรูหยอดปุ๋ยใส่และปิดหลุมเป็นระยะ ให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่มวิธีหลังนี้แม้จะเปลืองแรงงานแต่ช่วยลดการสูญเสียของปุ๋ยจากการระเหย หรือถูกนํ้าชะพา
– หว่านปุ๋ยคอกก่อนและตามด้วยปุ๋ยเคมี
– ควรใส่ปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ และให้ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 เซนติเมตรขึ้นไป ขึ้นกับขนาดทรงพุ่มปริมาณและเวลาใส่ปุ๋ย
ปีที่ 1 : ใส่ปุ๋ยและทำ โคน 4 ครั้ง (เดือนเว้นเดือน)
ครั้งที่ 1-3 ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ปีบ)
ครั้งที่ 4 – ใส่ปุ๋ยคอก 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ปีบ)
– ใส่ปุ๋ยชีวภาพประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 1 ปีบ)
ปีต่อๆ ไป(ระยะที่ทุเรียนยังไม่ให้ผลผลิต):ใส่ปุ๋ยและทำ โคน 2 ครั้ง (ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน)
ครั้งที่ 1 (ต้นฝน) ใส่ปุ๋ยชีวภาพประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น
ครั้งที่ 2 (ปลายฝน) ใส่ปุ๋ยคอก 15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
ใส่ปุ๋ยชีวภาพประมาณ 5 กิโลกรัมต่อต้น ปริมาณปุ๋ยชีวภาพที่ใส่ในแต่ละครั้งขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม โดยยึดหลักว่า วัดจากโคนต้นมายังชายพุ่มเป็นเมตรได้เท่าไร คือ จำนวนปุ๋ยชีวภาพที่ใส่เป็นกิโลกรัม เช่น
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 1 กิโลกรัม
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตร ใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัม
ระยะจากโคนต้นถึงชายพุ่ม 2 เมตรครึ่ง ใส่ปุ๋ย 2 กิโลกรัมครึ่ง
การปฏิบัติดูแลทุเรียนในช่วงให้ผลแล้ว
เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ทุเรียนออกดอกติดผลมาก และให้ผลผลิต คุณภาพดี การเตรียมต้นให้พร้อมที่จะออกดอก คือการเตรียมให้ต้นทุเรียนมีความสมบรูณ์ มีอาหารสะสมเพียงพอ เมื่อทุเรียนมีใบแก่ทั้งต้น และสภาพแวดล้อมเหมาะสม ฝนแล้ง ดิน มีความชื้นตํ่า อากาศเย็นลงเล็กน้อยทุเรียนก็จะออกดอก ขั้นตอนต่างๆ จะต้องรีบดำ เนินการภายหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนี้
- การตัดแต่งกิ่ง
หลังเก็บเกี่ยวให้รีบตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนง ด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัด เชื้อรา หรือปูนแดงกินกับหมาก
- หลังตัดแต่งกิ่ง ให้กำ จัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยทันที
– ปุ๋ยคอก 15-50 กิโลกรัมต่อต้น (ประมาณ 3-10 ปีบ)
– ปุ๋ยชีวภาพ ในอัตรา 3-5 กก. ต่อต้น
(ทุเรียนต้นที่ขาดความสมบูรณ์ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนต้น ที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว ทุเรียน ต้นที่ให้ผลผลิตไปมาก ต้องการปุ๋ยมากกว่าทุเรียนที่ให้ผลผลิตน้อย)
- ในช่วงฤดูฝน
– ถ้าฝนตกหนัก จัดการระบายนํ้าออกจากแปลงปลูก
– ถ้าฝนทิ้งช่วง ให้รดนํ้าแก่ต้นทุเรียน
– ควบคุมวัชพืช โดยการตัดและ หรือใช้สารเคมี
– ป้องกันกำ จัดโรคแมลง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคใบติด โรคแอนแทรกโนส เพลี้ยไก่แจ้ ไร
แดงและเพลี้ยไฟ
- ในช่วงปลายฤดูฝน
– เมื่อฝนทิ้งช่วง ให้ใส่ปุ๋ยชีวภาพสูตร เร่งดอกผล 2-3 กก.ต่อต้น เพื่อช่วยในการออกดอก
– ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม กวาดเศษหญ้า และใบทุเรียนออกจากโคนต้น เพื่อให้ดินแห้งเร็วขึ้น
– งดการให้นํ้า10-14 วัน เมื่อสังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มลดลงต้องเริ่มให้นํ้าทีละน้อยเพื่อกระตุ้น ให้ตามดอกเจริญอย่าปล่อยให้ขาดนํ้านานจนใบเหลืองใบตกเพราะตาดอกจะไม่เจริญ และระวังอย่าให้นํ้ามากเกินไป เพราะช่อดอกอาจเปลี่ยนเป็นใบได้
วิธีให้นํ้าที่เหมาะสม คือ ให้นํ้าแบบโชย ๆ แล้วเว้นระยะ สังเกตอาการของใบและดอก เมื่อเห็น
ดอกระยะไข่ปลามากพอแล้ว ก็เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นเรื่อยๆ จนสู่สภาวะปกติ
วิธีการเก็บเกี่ยว
ใช้มีดคม ๆ ตัดก้านผลส่วนที่อยู่เหนือปากปลิง เพื่อให้ผลหลุดจากต้น และส่งลงมาให้คนที่รออยู่ใต้ต้น ใช้กระสอบป่านตวัดรับผล หรือใช้วิธีโรยเชือกลงมา วางผลลงในเข่งไม้ไผ่ หรือในพื้นที่ที่เตรียมไว้ พยายามหลีกเลี่ยงการวางผลทุเรียนบนพื้นดินในสวนโดยตรง เพื่อป้องกันการ ปนเปื้อนของเชื้อราที่อยู่ในดิน
แมลงและไรศัตรูที่สำคัญ
เพลี้ยไก่แจ้
ลักษณะและการทำลาย : ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบหงิกงอ ถ้าระบาดมาก ทำให้ใบอ่อนร่วงและยอดแห้งตาย
การป้องกันกำจัด : กระตุ้นให้ทุเรียนแตกยอดอ่อน อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ติดตั้งกับดักกาวเหนียว ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบยอดถูกทำลายมากกว่า 30 %
เพลี้ยไฟ
ลักษณะและการทำลาย : ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอก และผลอ่อน ทำให้ดอกแห้งและร่วงได้ หนามเป็นแผล
เพลี้ยจักจั่นฝอย
ลักษณะและการทำลาย : ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบบิดงอ มีอาการไหม้บริเวณขอบใบหากระบาด ในช่วง ใบอ่อนจะทำให้ใบร่วง
การป้องกันกำจัด : กระตุ้นให้ทุเรียนแตกยอดอ่อนพร้อมกับอนุรักษ์ ศัตรูธรรมชาติ ติดตั้งกับดักกาวเหนียว ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบยอด ถูกทำลายมากกว่า 30 %
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะและการทำลาย : ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงจากผล โดยมีมดช่วยคาบพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นทุเรียน ทำให้ผลแคระแกร็น และเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ
การป้องกันกำจัด : ตัดผลที่ไม่สมบูรณ์และถูกเพลี้ยแป้งทำลายไปเผาทำลาย ฉีดพ่นน้ำให้เพลี้ยแป้งหลุดร่วงออกจากผล ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งในบริเวณสวนทุเรียน ฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เมื่อผลถูกทำลาย 20% ต่อต้น
ไรแดงแอฟริกัน
ลักษณะและการทำลาย : ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณหน้า ใบทุเรียน ทำให้ใบร่วง
การป้องกันกำจัด :ฉีดพ่นน้ำเข้าไปในทรงพุ่ม อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติของไรแดง ฉีดพ่นสารเคมีเมื่อพบใบแก่ถูกทำลายมากกว่า 25 %
หนอนกินขั้วผล
ลักษณะและการทำลาย : ตัวหนอนกัดแทะขั้วและเปลือกผลทุเรียนทำให้ เป็นแผล เสียคุณภาพ
การป้องกันกำจัด : อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ตัดผลที่ถูกทำลายทิ้ง ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อผลถูกทำลายมากกว่า 10% ต่อต้น
หนอนเจาะผล
ลักษณะและการทำลาย : ตัวหนอนกัดกินและทำรังบริเวณผิวผลทุเรียน หากเจาะกินเข้าไปถึงเนื้อจะทำให้ผลเน่าเมื่อสุก
การป้องกันกำจัด : อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ตัดแต่งผลที่ติดกันเป็นคู่ และไม่สมบูรณ์ จับตัวหนอนทำลายตัดผลที่ถูกทำลายทิ้ง ฉีดพ่น สารฆ่าแมลงเมื่อผลถูกทำลายมากกว่า 10% ต่อต้น
หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน
ลักษณะและการทำลาย : เมล็ดทุเรียน ตัวหนอนเจาะไชเข้าไปกัดกินเมล็ดและถ่ายมูลออกมา ทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยใน ผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่ หรือถ้าผลร่วงก่อน จะเจาะรู ออกมาเข้าดักแด้ในดิน
การป้องกันกำจัด :ตัดผลที่ถูกทำลายทิ้ง ฉีดพ่นสารฆ่าแมลง เมื่อพบการระบาด
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
คัดแยกผลที่มีตำหนิ แยกไว้ต่างหาก ขนย้าย วางเรียง ให้เป็นระเบียบบนพื้นที่สะอาด เพื่อรอการขนส่งไปยังโรงคัดบรรจุ
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่โรงคัดบรรจุ
- คัดเลือกผลผลิตที่ด้อยคุณภาพด้วยสายตา เช่นทุเรียนอ่อน มีตำหนิ โรคและแมลง เป็นต้น แยกไว้ต่างหาก
- คัดขนาดและคัดคุณภาพ ตามมาตรฐานคุณภาพของทุเรียน
- ทำความสะอาดผลทุเรียนที่คัดคุณภาพแล้ว โดยใช้แรงลมเป่า เพื่อกำจัดเศษวัสดุและแมลงบางชนิดออกจากผิวผล จากนั้นจุ่มผลทุเรียนในสารละลายของสารเคมีเบนโนมิล + กรดฟอสฟอรัส เพื่อป้องกันโรคผลเน่า
- จุ่มผลทุเรียนในสารละลายเอทธิฟอน 1,000-2,000 พีพีเอ็ม หรือจุ่มเฉพาะส่วนก้านผลในสารละลายเอทธิฟอน 10,000 พีพีเอ็ม ในกรณีที่ต้องขนส่งทุเรียนทางอากาศ ซึงใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ก่อนถึงผู้บริโภค เพื่อทำให้ผลทุเรียนสุกเสมอกัน
- ผึ่งผลให้แห้งบนแท่นรองรับสินค้า
- เมื่อผลทุเรียนแห้งแล้ว จึงติดป้ายชื่อสินค้าที่ขั้วผลทุเรียน แล้วจึงบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูก ขนาดบรรจุ 10 กก. ต่อกล่อง แล้วขนย้ายด้วยรถพ่วงสินค้าห้องเย็น ไปยังท่าเรือ หรือท่าอากาศยาน เพื่อจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ หรือเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 % เพื่อรอการขนส่ง ไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศต่อไป
การเก็บรักษา
- ผลทุเรียนที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ได้นาน 2-9 วัน และที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ได้นาน 5-12 วัน
- เก็บรักษาผลทุเรียนที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90 % จะเก็บรักษาผลทุเรียนได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้แล้วแต่ความแก่ ผลทุเรียนดิบจะแสดงอาการสะท้านหนาว (chilling injury) ถ้าเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส โดยผิวผล จะเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลบริเวณร่องหนาม และแผ่ขยายจนทั่วผล เนื้อไม่สุก และมีอาการยุบตัวของเนื้อ
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคกลาง, 2534, เอกสารวิชาการการ บริหารศัตรูไม้ผลโดย วิธีผสาน. ชัยนาท. หน้า 1/1-1/21.
2. สำ นักงานส่งเสริมการเกษตรภาคตะวันออก, 2534, ทุเรียนภาคตะวันออก. ระยอง. 118 หน้า.
3. สมาคมชาวสวนผลไม้จังหวัดระยองและสำ นักงานเกษตรจังหวัดระยอง,2536, บันทึกชาวสวนผลไม้, ระยอง. 102 หน้า.
4. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2533, ปัจจัยและเทคนิคการเพิ่มการติดผลในทุเรียน. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ. วันที่ 27 ธันวาคม 2533. 39 หน้า.
5. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2534, ปัจจัยและการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตของทุเรียน.เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพวันที่ 9 มกราคม 2534. 26 หน้า.
6. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2534, การเตรียมสภาพต้นเพื่อการชักนำ ให้ออกดอก. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีเพื่อการผลิตทุเรียนให้มีคุณภาพ วันที่ 13 มิถุนายน 2534. 16 หน้า.
7. ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี, 2536. เอกสารวิชาการพัฒนาการใช้สารคัลทาร์กับการผลิต ทุเรียนก่อนฤดู. กรมวิชาการเกษตร,30 หน้า.
8. หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ และคณะ, 2536. เทคนิคการผลิตทุเรียนก่อนฤดู, วารสารส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 23 ฉบับที่ 67 มิถุนายน 2536. หน้า 2-9.