ธงไชย คงคาลัย : พึ่งตนเองได้ ชนะทุนนิยม ชนะฝรั่ง ชนะทั้งโลก

ธงไชย คงคาลัย หนึ่งใน ฅ ฅน ผู้ประสบความสำเร็จจากการใช้ศาสตร์พระราชาแก้วิกฤต ผู้ซึ่งเคยเดินตามแนวทางทุนนิยมจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานของบริษัทด้านการเกษตรชั้นนำของประเทศ เคยฮึกเหิมลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ด้วยความมั่นใจจากรากฐานความรู้ และชั้นเชิงธุรกิจ แต่แล้วกลับได้ความล้มเหลวและหนี้สิน ๕๐ ล้านเป็นรางวัล
นายธงไชย คงคาลัย ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เกษตรสมดุลและการพึ่งพาตนเอง”สวนธงไชย ไร่ทักสม”
เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรใหม่ จากที่เคยทำฟาร์มปศุสัตว์ทั้ง ปลา ไก่ และสุกรจนเป็นหนี้สิน 50ล้านบาทแต่เมื่อได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรจากพ่อแม่มาเป็นแนวทาง การเกษตรใหม่ ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินทั้งหมดได้โดยเชื่อว่าทางออกของปัญหาภาคเกษตรกรรม ของไทย เกษตรกรต้องยึดมั่นในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการรักษาป่าไม้อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ไว้ให้ ได้

“ว่าวขึ้นสูงโดนลมโต้บ้าง…ธรรมดา” และ ความรู้อยู่ในธรรมชาติ ใครค้นหาเจอก่อนคนนั้นชนะ คำกล่าวจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เตือนให้สติกลับคืนมา เขามุ่งมั่นแก้ไขปัญหา โดยทบทวนความรู้ จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ พลิกฟื้นชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง และมุ่งเน้นการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษ ฐกิจพอเพียงตาม แนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำหนดราคาพืช-สัตว์ได้ แก้ปัญหาดินเปรี้ยว โดยไม่ใช้ปูนทุกชนิด พึ่งพาตนเอง 5 ด้าน ไม่ใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงสัตว์ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และยาเคมีในการทำการเกษตรเลย

  • ภูมิปัญญาไทเหนือกว่าภูมิปัญญาชาวต่างชาติ
  • พึ่งพาตนเอง 5 ด้าน ลดต้นทุนได้ถึง 85%
  • หมดหนี้ มั่นคงระยะยาว และมีความสุข

 

ปี พ.ศ.2529 ทำกิจการไก่เนื้อส่งออก ใช้พื้นที่ในการประกอบอาชีพเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลาเป็น บนพื้นที่ 160 ไร่ โดยเลี้ยงไก่เนื้อเป็นอาชีพหลัก มีการลงทุน ค่าอาหาร ค่ายา ค่าพันธุ์ไก่ เป็นจำนวนมาก ส่วนการเลี้ยงปลาเป็นผลพลอยได้ โดยการใช้มูลไก่เป็นอาหารปลา

ปี 2534และ ปี 2538 เกิดอุทกภัยทำให้กิจการขาดทุน ถึง 2 ครั้ง มีหนี้สินมาก จึงกลับมาคิดทบทวนแล้ว พบว่าระบบประกันราคาไม่ถูกต้อง เนื่องจาก “วงจรความเสี่ยงยังคงอยู่ที่เกษตรกร” เพราะเมื่อเกิดความเสียหาย น้ำท่วม อาหารเน่าเสีย ไก่ป่วย ไก่ตาย ไก่ไม่มีคุณภาพ ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด แต่กำไรค่าอาหาร ค่ายา ค่าพันธุ์ไก่ อยู่ที่บริษัท เมื่อเห็นว่าการเลี้ยงไก่ต้องเสียค่าอาหารจำนวนมาก ไม่มีผลกำไร แต่การเลี้ยงปลาทำให้มีรายได้ ซึ่งไม่คุ้มค่ากับราคาค่าอาหารเลี้ยงไก่ จึงตัดสินใจเลิกอาชีพเลี้ยงไก่ประกอบกับธนาคารระงับการให้กู้ยืมละมองเห็นว่าควรนำเสาไม้โรงเรือนมาขายเพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพใหม่ โดยมีแนวความคิดจากอดีตที่ตนเองเคยอาศัยอยู่บริเวณทะเลสาบสงขลาซึ่งมีปลาจำนวนมากและตัวโตโดยไม่จำเป็นต้องกินอาหารเม็ด จึงทดลองใช้ฟางข้าว เศษหญ้าให้ปลากิน ปรากฏว่าได้ผลดีสามารถลดต้นทุนค่าอาหารปลาได้มากและคิดว่าวิธีการดำเนินตามทุนนิยมไม่ใช่สิ่งถูกต้อง การตัดสินใจลุกขึ้นสู้ในครั้งนั้นได้แรงบันดาลใจจากหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เมื่อครั้งบวชเรียนเป็นลูกศิษย์ท่านที่วัดชลประทาน ทำให้ได้ข้อคิดหลายประการ เมื่อประสบภาวะน้ำท่วมมีหนี้สินมาก ท่านได้กล่าวห้กำลังใจว่า “ว่าวขึ้นสูงโดนลมโต้บ้าง…ธรรมดา”

จนกระทั่งปี 2539 เมื่อพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัชเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ทำให้เกิดประกายความคิดว่าตนเองกำลังปฏิบัติอยู่และเข้าใจว่า การพึ่งตนเองสำคัญที่สุดและตั้งใจดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

เขาก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรใหม่ จากที่เคยทำฟาร์มปศุสัตว์ทั้ง ปลา ไก่ และสุกรจนเป็นหนี้สิน 50ล้านบาทแต่เมื่อได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรจากพ่อแม่มาเป็นแนวทางการเกษตรใหม่ ทำให้เขาสามารถปลดหนี้สินทั้งหมดได้โดยเชื่อว่าทางออกของปัญหาภาคเกษตรกรรมของไทย เกษตรกรต้องยึดมั่นในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงการรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิม และการรักษาป่าไม้อันเป็นต้นกำเนิดของทรัพยากรการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ไว้ให้ได้

กว่า ๒๐ ปีที่คนเหล่านี้น้อมนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติ พวกเขาต่างคน ต่างทำ ต่างคน ต่างคิด ลองผิด ลองถูก และเมื่อพวกเขามาเจอกัน เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงจึงเริ่มถักทอขึ้นด้วยความศรัทธาหนึ ่งเดียว คือ ศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และมุ่งมั่นที่จะเดินตามศาสตร์ของพระราชา แม้ใครจะว่าบ้าก็ยอม

๒๐ ปีผ่านไปแล้ว พวกเขาพร้อมประกาศชัยชนะให้คนไทยทุกคนได้รับรู้ และพร้อมเป็นต้นแบบ ฅ.ฅน ต้นแบบ คนเหล่านี้มาจากต่างที่ ต่างถิ่น ต่างฐานะ ต่างอาชีพ แต่พวกเขามีสิ่งที่เหมือนกัน คือ ต่างเคยประสบวิกฤตชีวิตและรอดผ่านมาได้ด้วยการเดินตามศาสตร์พ ระราชา หลายคนเริ่มต้นจากหนี้สินนับ ๑๐ ล้าน ไปจนถึง ๑๐๐ ล้านบาท หลายคนเคยคิดจะฆ่าตัวตาย หลายคนหมดหวังกับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำนา ที่นับวันแต่จะสร้างหนี้สินและปัญหาสุขภาพ

ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศไทย คือ วิกฤต ที่แต่ละคนเผชิญมาด้วยตนเอง และวันนี้พวกเขาพร้อมบอกกล่าวด้วยเชื่อมั่นว่า หนึ่งตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าล้านคำสอน

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น