ธนาคารข้าวตามแนวพระราชดำริ

5 ธันวาคม 2557 ศาสตร์พระราชา 0

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ สู่ภูมิภาคต่าง ๆ ในท้องถิ่นชนบทของประเทศอย่างสม่ำเสมอมานับสิบปี ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเห็นสภาพความยากจน เดือดร้อนและเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งแจ่มชัดถึงสาเหตุแห่งปัญหา พระองค์ทรงริเริ่มและพระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาในระดับต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะให้ประชาชนพึ่งตนเอง ให้พึ่งพาอาศัยปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด ในบางเรื่องทรงเห็นว่าการจัดสรรทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ๆ จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะยาวและในบางกรณีก็ทรงเห็นว่า จำเป็นต้องมีมาตรการแก้ไขความเดือนร้อนเฉพาะหน้าของราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องข้าว ทรงพยายามทำทุกวิถีทางในเกษตรกรมีข้าวพอกินอาจกล่าวได้ว่า “ธนาคารข้าว” เป็นผลมาจากพระปรีชาดังกล่าว เป็นความพยายามด้านหนึ่งที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และเป็นพะราชประสงค์โดยตรงที่จะให้ทางราชการไปช่วยเหลือในการจัดตั้งธนาคารข้าว เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรที่ยากจนโดยทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อรูป “ธนาคารข้าว” ขึ้น และทำให้ธนาคารข้าวกลายเป็นแนวคิดที่แพร่หลาย เป็นนโยบายของรัฐและเป็นแผนงานสำคัญแผนหนึ่งของการพัฒนาชนบทยากจนที่ผ่านมา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนให้มีการจัดตั้งธนาคารข้าว ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เมื่อครั้งทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรชาวเขาเผากะเหรี่ยง ในเขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พระราชทานข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นทุนเริ่มดำเนินกิจการธนาคารข้าว ได้พระราชทานแนวทางดำเนินงานไว้อย่างละเอียดชัดเจน ดังบันทึกดังต่อไปนี้

kawbanks

“ให้มีคณะกรรมการควบคุม ที่คัดเลือกจากราษฎรในหมู่บ้าน เป็นผู้เก็บรักษาพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน ตลอดจนจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าว ราษฎรที่ต้องการข้าวไปใช้บริโภคในยามจำเป็น ให้ลงบัญชียืมข้าวไปใช้จำนวนหนึ่ง เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้แล้ว ก็นำมาคืนธนาคาร พร้อมด้วยดอกเบี้ยจำนวนเล็กน้อยตามแต่ตกลงกัน ซึ่งข้าวที่เป็นดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะเก็บรวมไว้ในธนาคาร และถือเป็นสมบัติของส่วนรวม สำหรับกรรมการควบคุมข้าวนั้น มีสิทธิในการขอยืมข้าวเท่ากับราษฎรทุกประการ ต้องอธิบายให้กรรมการและราษฎรเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ถึงหลักการของธนาคารข้าว โดยพยายามชี้แจงอย่างง่าย ๆ แต่ต้องให้แน่ใจว่า ทุกคนเข้าใจดี กรรมการและราษฎรก็ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหลักการ เมื่อยืมข้าวจากธนาคารข้าว ซึ่งเป็นของส่วนรวมไปใช้ และถึงกำหนดเวลาที่สัญญาไว้ ก็ต้องนำข้าวมาคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย นอกจากว่ามีเหตุสุดวิสัย ซึ่งต้องชี้แจ้งให้กรรมการพิจารณาข้อเท็จจริง ราษฎรต้องร่วมมือกันสร้างยุ้งที่แข็งแรง ทั้งนี้หากปฏิบัติตามหลักการที่วางไว้ จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารจะไม่มีวันหมด แต่จะค่อยๆ เพิ่มจำนวนขึ้น และจะมีข้าวสำหรับบริโภคตลอดไปจนถึงลูกหลาน ในที่สุดธนาคารข้าวก็จะเป็นแหล่งที่รักษา ผลประโยชน์ของราษฎรในหมู่บ้าน และเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้านด้วย”

การจัดตั้งธนาคารข้าวเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2519 ครั้งที่เสด็จฯ ไปเยี่ยมราษฎรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้พระราชทานข้าวเปลือกจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่บ้าน เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นของกิจการธนาคารข้าว จากนั้นรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้รับสนองพระบรมราโชบาย โดยได้ขยายขอบเขตการดำเนินงานออกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2528 มีธนาคารข้าวเกิดขึ้น 4,300 แห่ง ครอบคลุม 57 จังหวัด

kawbankdoi

หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
หลักในการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวคือ

  1. จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอ หรือหมู่บ้านที่ขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค และไม่สามารถจัดหาได้อย่างเพียงพอ
  2. ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนกันในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีการจัดตั้งธนาคารข้าวแล้ว
  3. ต้องจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัย สามารถควบคุมและติดตามผลได้

แนวทางการดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงานของโครงการธนาคารข้าว คือ

  1. ให้มีคณะกรรมการควบคุมที่คัดเลือกจากราษฎรในหมู่บ้านเป็นผู้เก็บรักษาพิจารณาจำนวนข้าวที่จะให้ยืมและรับข้าวคืน รวมทั้งจัดทำบัญชีทำการของธนาคารข้าว
  2. หากราษฎรต้องการข้าวไปใช้บริโภคในยามจำเป็น ให้ลงบัญชียืมข้าวไปใช้จำนวนหนึ่ง เมื่อสามารถเก็บเกี่ยวข้าวได้แล้ว ก็นำมาคืนธนาคาร พร้อมด้วยดอกเบี้ยจำนวนเล็กน้อยตามแต่ตกลงกัน ซึ่งข้าวที่เป็นดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะเก็บรวมไว้ในธนาคาร และถือเป็นสมบัติของส่วนรวม
  3. กรรมการควบคุมข้าวมีสิทธิในการขอยืมข้าวเท่ากับราษฎรทุกประการ
  4. กรรมการมีหน้าที่อธิบายให้ราษฎรเข้าใจถึงหลักการของธนาคารข้าว โดยต้องชี้แจงอย่างง่ายๆ แต่ต้องทำให้ทุกคนเข้าใจอย่างดี
  5. กรรมการและราษฎรต้องมีความซื่อสัตย์ต่อหลักการ เมื่อยืมข้าวไป ต้องนำข้าวมาคืนตามกำหนดเวลาพร้อมดอกเบี้ย นอกจากว่ามีเหตุสุดวิสัย ซึ่งต้องชี้แจ้งให้กรรมการพิจารณาข้อเท็จจริง
  6. ราษฎรต้องร่วมมือกันสร้างยุ้งที่แข็งแรง

kawbankyai

หลักการเหล่านี้หากสามารถปฏิบัติตามได้ จะทำให้จำนวนข้าวที่หมุนเวียนในธนาคารไม่มีวันหมด และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีข้าวไว้บริโภคอยู่ตลอดจนลูกหลาน ทำให้ธนาคารข้าวกลายเป็นแหล่งรักษาผลประโยชน์ของราษฎรในหมู่บ้าน และเป็นแหล่งอาหารสำรองของหมู่บ้านด้วย นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันพวกฉวยโอกาสที่จะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์จากราษฎรผู้ยากจนและขาดแคลนข้าวบริโภค
ดังจะเห็นว่าโครงการธนาคารข้าวในพระราชดำรินี้ ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนกรณีขาดแคลนข้าวเท่านั้น แต่พระองค์ยังมีพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังวินัย ความประหยัด ความรับผิดชอบ ความร่วมมือสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่ราษฎร เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาชุมชมให้เข้มแข็งขึ้น สามารถยืนหยัดอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

รัฐบาลโดยหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกรมการพัฒนาชุมชน ได้รับสนองพระบรมราโชบาย ขยายขอบเขตการดำเนินงานธนาคารข้าวออกไปอย่างกว้างขวาง จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๘ มีธนาคารข้าวที่จัดตั้งขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ มากกว่า ๔,๓๐๐ แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ ๕๗ จังหวัด จำนวนข้าวหมุนเวียนในธนาคารข้าวมากกว่า ๑๔.๕ ล้านกิโลกรัม หลักการดำเนินงานของธนาคารข้าว ปัจจุบันสามารถปรับใช้ได้กับสภาพปัญหาและความจำเป็นที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ เช่น ลักษณะการให้บริการ ซึ่งมีทั้งให้เปล่า ให้โดยแลกแรงงาน ให้ยืมหรือให้กู้สำหรับทุนดำเนินงานนั้น อาจหาทุนได้หลายวิธี เช่น การรับบริจาค การเรียกหุ้น ฯลฯ และในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งกองทุนเริ่มต้นขี้นมาได้เอง ก็อาจเสนอแผนงานเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐได้

kawbankna

ธนาคารข้าว เป็นโครงการในเชิงการให้สวัสดิการสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นเท่ากับเป็นการโอนรายได้ (Transfer income) จากคนรวยไปยังคนจนและเป็นการกระจายรายได้ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ ราษฎรมีแหล่งข้าวกลางของหมู่บ้านที่สามารถกู้ยืมไปบริโภคหรือทำพันธุ์ โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราต่ำกว่าอัตราซึ่งต้องเสียให้แก่พ่อค้าคนกลางเป็นอันมาก ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการอดอยากขาดแคลน ช่วยยกระดับฐานะความเป็นอยู่ และระดับรายได้ของเกษตรกรที่ยากจน เป็นการแก้ปัญหาที่ได้ผลและตรงจุดประการหนึ่ง

สิ่งที่ได้มานอกจากนั้น เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นผลโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นการสร้างพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาสร้างความสมัครสมานสามัคคีของชุมชนในการ ที่จะเรียนรู้และดำเนินการแก้ไขปัญหาของตนซึ่งเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงย้ำอยู่เสมอ ในเรื่องความเข้าใจของราษฎร ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความรู้สึกมีส่วนร่วม พระองค์ทรงเห็นว่า สิ่งเหล่านี้ปลูกฝังได้ ธนาคารข้าวอาจทำหน้าที่เป็นโรงเรียนที่ดี ในขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพ และความเข้มแข็งของชุมชน นั้น ๆ ธนาคารข้าวที่ประสบความสำเร็จมิได้บรรลุเพียงจุดมุ่งหมายพื้นฐานในการบรรเทาการขาดแคลนข้าวเท่านั้น แต่ยังได้สร้างกิจกรรมต่อเนื่องอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ สร้างการมีส่วนร่วมภาวะผู้นำ และความร่วมมือในระดับชุมชนอีกด้วย

kawbankmai

กิจกรรมธนาคารข้าวในท้องที่หลายแห่งเป็นที่มาของความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ของชาวบ้านที่ร่วมใจกันหาวิธีการนำข้าวมาเข้ากองทุน และในอีกหลายท้องที่ ผลประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมธนาคารข้าว ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันใน จุดเล็ก ๆ ที่พร้อมจะเติบโตต่อไป

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น

KetoSex - Xnxx Arab-xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene