ธนาคารต้นไม้

15 กรกฏาคม 2555 ป่า, ภูมิปัญญา 0

ธนาคารต้นไม้ (Tree Bank) คือ องค์กรภาคประชาชนที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในที่ดินของตัวเองแล้วขึ้นทะเบียนต้นไม้ประเภทที่ใช้เนื้อไม้ได้กับธนาคารต้นไม้แต่ละสาขา ตลอดจนการประเมินมูลค่าต้นไม้เป็นเงิน นำตัวเลขเงินที่ประเมินรับรองไว้ ในรูปแบบบัญชีธนาคาร

สาระสำคัญและธรรมนูญหลักของธนาคารต้นไม้

ธนาคารต้นไม้เปรียบเสมือนขบวนรถไฟ มีหัวรถจักร ตู้ ข้อต่อ และองคาพยพอื่นๆขยับเขยื้อนต่อกันเป็นขบวน จะตัดตอนใดตอนหนึ่งไปไม่ได้ เพราะเป็นเงื่อนไขของการสร้างความสมบูรณ์ชัดเจน และแก้ปัญหาเป็นองค์รวม ธรรมนูญหลักของธนาคารต้นไม้ ยึดหลักของความเป็นธรรม คือต้องไม่ฉ้อ ไม่โกง หรือเอาเปรียบผู้อื่น และไม่ยอมให้ผู้อื่นฉ้อโกงหรือเอาเปรียบ หมายถึงหลักเกณฑ์ทั้งหลาย ของธนาคารต้นไม้ ที่มีอยู่แล้ว หากฝืนต่อธรรมนูญหลักก็ต้อง แก้ให้มาสู่ความเป็นธรรม กฎเกณฑ์อันใด ยังไม่มีก็จะถูกสร้างขึ้นมาให้เกิดความเป็นธรรม ตามธรรมนูญหลักของธนาคารต้นไม้

ธนาคารต้นไม้ คือ องค์กรภาคประชาชนที่ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในที่ดินของตัวเองแล้วขึ้นทะเบียนต้นไม้ประเภทที่ใช้เนื้อไม้ได้กับธนาคารต้นไม้แต่ละสาขา ตลอดจนการประเมินรับรองไว้ในรูปแบบบัญชีธนาคาร ประกอบไปด้วย ธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ และธนาคารต้นไม้สำนักงานสาขา3.1.2 ธนาคารต้นไม้

แนวคิดของธนาคารต้นไม้ มีดังนี้

  1. ธนาคารต้นไม้มีแนวคิดที่จะให้ภาคประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ปลูกต้นไม้เศรษฐกิจในที่ดินทำกินของตนเอง แล้วสร้างมูลค่าต้นไม้เป็นทรัพย์สสิน เป็นเงิน เพื่อใช้ทรัพย์สินดังกล่าวไปเป็นทุน หรือชำระหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.)
  2. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิดในการใช้มูลค่าไม้เป็นหลักทรัพย์ หรือหลักประกันต่างๆ ที่จะต้องทำระหว่างรัฐกับประชาชน
  3. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิดให้ชุมชนปลูกต้นในที่ดินส่วนรวม เพื่อสร้างมูลค่าเป็นทรัพยสินของชุมชนส่วนรวม
  4. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิดจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แผ่นดิน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ที่ดิน และมุ่งแก้ปัญหาโลกร้อน
  5. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิดให้เกษตรกรรักแผ่นดินทำกิน และสร้างมูลค่าเพ่ิมให้แก่ที่ดิน ตลอดจนป้องกันการซื้อขายที่ดิน
  6. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิด ในการรับรองสิทธิต้นไม้ที่ปลูก และรับรองสิทธิในที่ดินที่ประชาชนได้ปลูกต้นไม้
  7. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิด การสร้างจิตสำนึกอนุรักษ์ สร้างเครือข่ายกลุ่มคนปลูกต้นไม้
  8. ธนาคารต้นไม้ มีแนวคิด สร้างความพอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน ให้กับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

หลักการของธนาคารต้นไม้ มีดังนี้

  1. ต้นไม้ที่ประชาชนปลูก ณ ที่ใด ประชาชนมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ
  2. ต้นไม้ที่ประชาชนปลูก ณ ที่ใด ประชาชนย่อมมีสิทธิดูแลรักษา คิดมูลค่าและการตัดเพื่อเป็นสินค้า
  3. ผืนแผ่นดินที่ประาชาชนปลูกต้นไม้ ประชาชนย่อมได้รับการรับรองสิทธิทั้งต้นไม้และที่ดินให้เป็นของประชาชน
  4. ต้นไม้ที่ประชาชนปลูก ย่อมเป็นทรัพย์ของประชาชน และต้นไม้ทุกต้นย่อมมีมูลค่า
  5. ต้นไม้ทุกต้นที่ประชาชนปลูก ย่อมสร้างสีเขียวให้แผ่นดิน และความสมดุลให้กับระบบนิเวศ ตลอดจนแก้ปัญหาโลกร้อนได้โดยดุษฎี

ขั้นตอนในการดำเนินการธนาคารต้นไม้

หลักเกณฑ์ของธนาคารต้นไม้สาขา

  1. จัดทำเวทีปลูกต้นไม้ในใจคน
  2. ควรมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 50 คน และไม่ควรให้สมาชิกมากเกิน กรณีไม่เกิน 50 รายก็สามารถเปิดได้
  3. คัดเลือกตัวแทนจากสมาชิกเป็นคณะกรรมการสาขาละ 9-15 คน โดยให้เป็นผู้จัดการสาขา 1 คน ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายตรวจรับ และฝ่ายอื่นๆ
  4. คัดเลือกตัวแทน 1-2 คนเป็นคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัดเพื่อร่วมประชุมวางแผน ฯลฯ
  5. เมื่อมีสมาชิกและกรรมการ, ผู้จัดการแล้วถือว่าได้เปิดธนาคารต้นไม้สาขานั้นๆ แล้ว
  6. จัดหากล้าไม้ให้สมาชิกในสาขา โดยประสานงานและจัดหางบประมาณการเพาะชำกล้าไม้ ตลอดจนจัดทำทะเบียนสมาชิกและจัดทำฐานข้อมูล
  7. ทำพิธีเปิดธนาคารต้นไม้โดยเชิญบุคคลสำคัญมาร่วม และเป็นประธานพิธีเปิดนี้ ไม่ถือเป็นข้อบังคับจะมี หรือไม่ก็ได้ แต่เพื่อสร้างแนวร่วมกับสังคมและสาธารณะ ซึ่งอาจเป็นผลดีกับธนาคารต้นไม้สาขานั้นๆ

หลักเกณฑ์การเป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้

  1. ให้เป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้สาขาในอำเภอนั้นๆ ตามที่แปลงปลูกตั้งอยู่แต่หาไม่มีภายในอำเภอนั้นก็สามารถเป็นสมาชิกสาขานั้นๆ ได้ เหตุผลคือจะสะดวกในการบริหารจัดการของกลุ่มที่ไม่กว้างขวางใหญ่โตเกินกำลัง
  2. ปลูกต้นไม้อย่างน้อย 80 ต้น/แปลง กรณีที่ดินน้อย ต้องปลูกอย่างน้อย 9 ต้น จึงสามารถขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกผู้ปลูกได้
  3. เป็นคนไทย
  4. มีหนี้สินหรือไม่ก็ได้
  5. ต้นไม้ที่สมาชิกปลูก นับรวมทั้งที่ปลูกมาก่อน และทำการปลูกใหม่
  6. ยอมรับกระบวนการ ขั้นตอนตามกฎหมายในการถือครองที่ดิน การครอบครองต้นไม้และการจัดการตามแนวทางของธนาคารต้นไม้

พันธุ์ไม้ที่ธนาคารต้นไม้กำหนด

แนวทางของธนาคารต้นไม้ มุ่งรับรองต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้ได้ในอนาคต และเป็นไม้มีค่าโดยเน้นไม้ในพื้นที่ถิ่นหรือไม้ถิ่นอื่นแต่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม้โตเร็วที่ช่วยเกื้อกูลระบบนิเวศได้ เป็นกระบวนการปลูกที่ให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพหรือไม้ตามกระแสที่ก่อให้เกิดการหลงกลว่าชาวบ้านให้ดำเนินการอย่างมีเงื่อนไข เช่นตะกูยักษ์ เหตุในการยกเว้นพันธุ์ไม้บางชนิดดังกล่าว มีหลักคิดคือ ต้องการความหลากหลาย พันธุ์ไม้ไม่แพง ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และมิใช่ต้นไม้ที่มีกระบวนการทางการค้าของภาคเอกชนที่สมบูรณ์แบบแล้ว เช่น ยางพารา สำหรับพันธุ์ไม้ที่กำหนดมี 30 ชนิด ได้แก่ จำปาทอง, ตะเคียนทอง, ยาง, ยูงเสียด, สัก, ประดู่, หลุมพอ, เทพทาโร, มะฮอกกานี, เพาโลเนีย, โดแหลม, ตะเคียนทราย, กระท้อน, กระถินเทพา, อินทนิล, เนียง, สะตอ, เหรียง, ช่อกันเกรา, มันหมู, พญาไม้, เคี่ยม, กระบาก, ทุ้งฟ้า, ทัง, ราชพฤกษ์, สมอไทย, พะยอม, และทำมัง

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ป่า

แสดงความคิดเห็น