ปูม้าที่จับได้ในพื้นที่นับวันยิ่งลดน้อยลงทุกที สรุปกันว่าจะทำที่พักพิงให้แก่แม่ปูครรภ์แก่ เพื่อดูแลให้รอดพ้นจากการนำไปขาย รอให้วางไข่เรียบร้อยก่อน จึงนำแม่ไปขาย แล้วปล่อยลูกสู่ทะเลเป็นอาหารและแหล่งที่มาของรายได้ต่อไป มาช่วงหลังๆ เค้าก็มาตั้งกันว่าเป็นธนาคารปู
ธนาคารปูม้า เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรชายฝั่งเสื่อม โทรม พันธุ์ปูม้ามีจำนวนลดน้อยถอยลง สาเหตุมาจากการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลาย เช่น ลอบปู ใช้อวนตาถี่ขนาดเล็กกว่า 1 นิ้ว เครื่องมือประมงเหล่านี้ทำลายวงจรชีวิตของปูม้า ปูยังไม่ทันโตขนาดกระดองไม่ถึงฝ่ามือก็ถูกจับไปขายและก็ไม่ได้ราคา พวกเรืออวนลาก อวนรุน นอกจากทำลายวงจรชีวิตปูม้าแล้ว ยังทำลายห่วงโซ่อาหารแหล่งอาหารของปูม้า เพราะได้กวาดเอาทั้งสาหร่าย หอยกระพัง หอยกระพุงไปด้วย
ปูม้า (อังกฤษ : flower crab, blue crab, blue swimmer crab, blue manna crab, sand crab, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิด ทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด
ลักษณะทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนตัว อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่ เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพาย ใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร
การกระจายพันธุ์ สำหรับปูม้าในประเทศไทยสามารถพบได้แทบทุกจังหวัดทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย โดยอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำและแถบชายฝั่งทะเล
การขยายพันธุ์ ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียว สูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่า กระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณรยางค์ ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดอง ต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมา ทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญจะแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อยๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทา และสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน
ธนาคารปูม้า ของกลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า ชุมชนเกาะเตียบ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว
การทำธนาคารปูม้ามี 3 แนวทาง
รูปแบบการสร้างคอก ซึ่งเป็นที่คลื่นลมไม่แรง เป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนของชาวบ้านชาวประมง ห่างจากฝั่งราว 3 กิโลเมตร สมาชิกช่วยกันหาไม้จำนวนมากสร้างโครงสร้างให้มั่นคง จากนั้นซื้ออวนมากั้นล้อมเป็นคอกปู
หลังจากสร้างคอกเสร็จสมาชิกต่างช่วยกันหาลูกปู และแม่ปูทั้งที่จับได้เอง ซื้อต่อมา หรือขอบริจาคจากชาวประมง ส่วนอาหารสมาชิกก็ช่วยกันเก็บหอยกระพัง หอยกระพุงมาปล่อย ต่อมากลายเป็นว่าชาวบ้าน ชาวประมงทั่วไปเมื่อได้ลูกปูก็จะเอามาปล่อยให้เองที่คอก กลายเป็นว่าโครงการธนาคารปูนี้ได้สร้างจิตสำนึกให้กับชุมชนไปในตัว
ธนาคารปูม้า คือ รูปแบบที่สมาชิกและชาวบ้านนำปูม้าที่ไม่ได้ขนาดมาปล่อยไว้ในคอก ต่อมากลายเป็นแม่ปูซึ่งแม่ปูตัวหนึ่งมีไข่ประมาณ 5 แสนถึง 1 ล้านใบ ซึ่งธรรมชาติแม่ปูม้าก็จะปล่อยไข่ให้ละลายไปกับน้ำ ไข่จำนวนนับล้านเหล่านั้นก็จะเติบโตแพร่พันธุ์สู่ท้องทะเลคล้ายเป็นดอกเบี้ย ซึ่งชาวประมงทุกคนต่างบอกตรงกันว่าจับปูได้มากขึ้นและมีขนาดใหญ่
ประโยชน์ในการทำโครงการธนาคารปูม้า เพราะจากที่หาจับได้ยาก หรือจับได้แต่ปูเล็กขายไม่ได้ราคา แต่เมื่อทำโครงการแล้วจับได้ปูม้าตัวโตสร้างรายได้มากมาย กลายเป็นการสร้างความร่วมมือและสร้างจิตสำนึกไปในตัวให้กับชุมชน
หลักการดำเนินงานของธนาคารปูม้า
ภูมิปัญญาจาก : คุณจาง ฟุ้งเฟื่อง ราษฎรหมู่ที่ 7 ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร เจ้าของความคิดและผู้ริเริ่มก่อตั้งธนาคารปู
ภาพประกอบ : ชุมชนชาวประมงชายฝั่งที่ก่อตั้งธนาคารปูชุมชนอยู่หลายแห่งด้วยกัน เฉพาะในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มี 6 แห่ง ได้แก่ ชุมชนบ้านปากคลอง (คลองวาฬ) ชุมชนบ้านเขาแดง ชุมชนบ้านตาม่องล่าย ชุมชนบ้านคั่นกระได ชุมชนบ้านหนองเสม็ด และชุมชนบ้านบางเบิด
ป้ายคำ : สัตว์น้ำ