น้อยหน่า ผลไม้รสหวานพลังงานสูง

26 มีนาคม 2556 ไม้ผล 0

น้อยหน่าผลไม้ต่างแดนที่อยู่เมืองไทยมาหลายร้อยปี เป็นผลไม้ที่ให้ความหวาน มีคาร์โบไฮเดรตในรูปของน้ำตาลในปริมาณมากเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานในแต่ละวันค่อนข้างสูง มีวิตามิน A และ C ในปริมาณพอเหมาะซึ่งจะช่วยบำรุงสายตา และป้องกันโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี น้ำน้อยหน่าคั้นดื่มเพื่อขับเสมหะ และทำให้ชุ่มคอได้ดีมาก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa Linn.
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อสามัญ : Sugar Apple, Sweetsop, Custard Apple
ชื่ออื่น ๆ หมักเขียบ (ตะวันออกเฉียงเหนือ), ลาหนัง(ปัตตานี), มะนอแน่, มะแน่(เหนือ), หน่อเกล๊ะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะออจ้า, มะโอจ่า (เงี้ยว-เหนือ), เตียบ(เขมร) เป็นพืชยืนต้น ผลมีเนื้อสีขาว เมล็ดดำ รสหวาน ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกากลาง และใต้ แต่จะพบอยู่ทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ
noinatone

ลักษณะทั่วไป
น้อยหน่า เป็นไม้ยืนต้น สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 7-13 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ ห้อยลง กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว 6 กลีบ เรียง 2 ชั้นๆ ละ 3 กลีบ หนาอวบน้ำ มีเกสรตัวผู้และรังไข่ จำนวนมาก ผลเป็นผลกลุ่ม ค่อนข้างกลม

  • ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่ง ก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนัก ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร ออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไป ตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายและ โคนใบจะแหลม ใบกว้างประมาณ 1 – 2.5 นิ้ว ยาว 3 – 6 นิ้วสีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น เป็นรูปรี ปลายใบและโคนใบแหลม ก้านใบยาว
  • ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะห้อยลงมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสี เหลืองอมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลางดอกมีจำนวนมากมาย
  • ผล ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3 – 4 นิ้ว มีผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูน ซึ่งใน แต่ละช่องนั้นภายในจะเป็นเนื้อสีขาว และมีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรส หวาน เปลือกผลสีเขียว แต่ถ้าสุกตรงขอบช่อง นูนนั้นจะออกสีขาวและบีบดูจะนุ่ม ๆ

noinaking
น้อยหน่า มีชื่อสามัญ Sugar Apple , Sweetsop, Custard Apple ภาคเหนือเรียกว่า มะนอแน้ ภาคใต้เรียกว่า ลงหนัง การจำแนกน้อยหน่า โดยทั่วไปจะจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น สีผิวของผล สีเนื้อและชนิดของเนื้อ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. น้อยหน่าพื้นเมืองหรือน้อยหน่าฝ้าย แบ่งออกได้ 2 สายพันธุ์ ตามลักษณะของสีผล คือ น้อยหน่าฝ้ายเขียวซึ่งมีผลสีเขียว กับน้อยหน่าฝ้ายครั่งมีผลสีม่วงเข้ม น้อยหน่าฝ้ายโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ ลำต้นกลม เปลือกสีน้ำตาล พุ่มต้นมีรูปทรงแบบที่มีกิ่งก้านสาขาด้านกว้างมากกว่าความสูง ใบเป็นรูปไข่หรือโอวอนแลนซีโอเลท (oval lanceolate) สีใบเขียวในน้อยหน่าฝ้ายเขียว และสีเขียวเข้มในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง ด้านล่างของใบสากมือเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลมฐานใบเป็นมุมป้าน ความยาวเฉลี่ย 12.32 ซม. ความกว้าง 5.13 ซม. ใบเรียงสลับกันออลเทอร์เนท (alternate) ลักษณะภายนอก ผลมีขนาดเฉลี่ยใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆรูปร่างผลรูปหัวใจ ความยาวเฉลี่ย 6.78 ซม. ความกว้างเฉลี่ย 6.86 ซม. น้ำหนักเฉลี่ย 182.2 กรัม ผลอ่อนนุ่มเมื่อสุกมักแตกจากขั้ว ลักษณะภายใน เนื้อหยาบเป็นทราย เปลือกไม่ล่อนเมื่อปอกเปลือกเนื้อกับเมล็ดมักมักติดเปลือก เนื้อยุ่ยไม่จับตัวเป็นก้อน เนื้อในสีขาวในน้อยหน่าฝ้ายเขียว และสีขาวอมชมพูในน้อยหน่าฝ้ายครั่ง มีกลิ่นหอม รสหวาน เปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย 17.2 % เมล็ดสีดำเป็นมันเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาล จำนวนเมล็ดเฉลี่ยต่อผล 50 เมล็ด การสุกประมาณ 1 วันpatch7
  2. น้อยหน่าหนังหรือน้อยหน่าญวน แบ่งได้ 3 สายพันธุ์ คือ น้อยหน่าหนังเขียวมีผลสีเขียว น้อยหน่าหนังทองเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วกลายพันธุ์ผลมีสีเหลืองทอง และน้อยหน่าหนังครั่งเกิดจากการเพาะเมล็ดของน้อยหน่าหนังเขียวแล้วมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับหนังทองแต่มีผลสีม่วงเข้มคล้ายน้อยหน่าฝ้ายครั่ง น้อยหน่าหนังโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือ ลำต้นกลมเปลือกสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขารอบต้น ทรงพุ่มเป็นรูปโดม (dome shaped) ใบมีรูปร่างรูปไข่และรูปหอก ปลายใบเรียวแหลมเล็กน้อย ด้านบนของใบสีเขียวเข้ม ในน้อยหน่าหนังเขียว สีเหลืองทองในน้อยหน่าหนังทอง และสีเขียวเข้มเกือบคล้ำในน้อยหน่าหนังครั่ง ส่วนด้านล่างของใบสีอ่อนกว่าด้านบนเล็กน้อย ความยาวเฉลี่ยของใบ 11.55 ซม. ความกว้างเฉลี่ย 5.0 ซม. ก้านใบยาวเฉลี่ย 1.5 ซม. การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบสลับ ลักษณะภายนอกของผล ตากว้างไม่ค่อยนูน ร่องตาตื้น ผลอ่อนนุ่มเมื่อสุกมักแตกจากขั้ว ผลยาวเฉลี่ย 6.87 ซม. กว้างเฉลี่ย 7.37 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 180 กรัม ลักษณะภายในผล เนื้อสีขาวในน้อยหนังเขียว สีขาวอมชมพูในน้อยหน่าหนังครั่ง และสีขาวอมเหลืองในน้อยหย่าหนังทอง เนื้อละเอียด เปลือกล่อนเป็นแผ่นล่อนจากเนื้อได้ เนื้อมาก เนื้อเหนียว กลิ่นหอม รสหวาน มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลเฉลี่ย 17.9% เมล็ดสีดำเป็นมัน จำนวน 41 เมล็ดต่อผล การสุกประมาณ 2 วัน

noinapolน้อยหน่าพันธุ์ลูกผสม

  1. พันธุ์เพชรปากช่อง เกิดจากรูปผสมระหว่าง (เชริมัวย่าXหนังครั่ง)Xหนังเขียว#102 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดกลาง รูปหอกกว้าง 7.4 ซม. ยาว 17.9 ซม. สีpatch6เขียวเข้ม เส้นใบเด่นเห็นชัดเจน ทรงพุ่มโปร่งปานกลาง ดอกใหญ่กว้าง 0.9 ซม. ยาว 2.8 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจกว้าง 9 ซม. ยาว 9.7 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 436.8 กรัม/ผล ผิวค่อนค้างเรียบ มีร่องตาตื้นคล้ายน้อยหน่าหนัง ผลอ่อนสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดสีเขียวอ่อนขาวนวล เปลือกบางลอกเปลือกได การแตกของผลน้อยเมื่อแก่หรือสุก เนื้อเหนียวคล้ายน้อยหน่าหนัง ปริมาณเนื้อ72.4 % เมล็ดสีน้ำตาลอ่อนเฉลี่ย 19 เมล็ดต่อผล รสชาติหวานหอม ความหวาน 20 บริกซ์ การสุกช้าเฉลี่ย 4.9 วัน อายุหลังการเก็บเกี่ยวยาวนาน เริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นอายุ 2 ปีหลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปี การติดผลดกกระจายทั่วต้น อายุ 2 ปีเริ่มให้ผลผลิตเฉลี่ย 2.2 กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปี เฉลี่ย 4.4 กก./ต้น/ปี และอายุ 4 ปีเฉลี่ย 37.9 กก./ต้น/ปี เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่มีเมล็ดน้อยจึงทำให้มีผลบิดเบี้ยวและมีขนาดของผลที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก แต่มีการติดผลง่ายทำให้สามารถเลือกไว้ผลที่มีรูปทรงตามต้องการได้
  2. พันธุ์เนื้อทอง เกิดจากลูกผสมระหว่าง (เซริมัวย่า x หนังเขียว) x หนังเขียว #31 เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบขนาดใหญ่รูปหอกกว้าง 7.8 ซม. ยาว 18.3 ซม. สีเขียวอกเหลือง เส้นใบเด่นเห็นชัดเจน ทรงพุ่มโปร่ง ดอกใหญ่สั้น กว้าง 0.8 ซม. ยาว 2.9 ซม. ผลใหญ่รูปหัวใจกว้าง 8.8 ซม. ยาว 9.9 ซม. น้ำหนักผลเฉลี่ย 504.8 กรัม/ผล ผิวผลเรียบไม่มีร่องตา ผลอ่อนสีเขียวอ่อนเมื่อแก่จัด สีขาวนวล การแตกของผลปานกลางเมื่อสุก เปลือกหนามีส่วนของเมล็ดทรายอยู่ระหว่างเปลือกด้านในติดกับเนื้อ เนื้อสามารถแยกออกเป็นพูๆ ได้ไม่ติดกัน ปริมาณเนื้อ 64.0 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดสีดำเฉลี่ย 23.3 เมล็ด/ผล รสชาติหวานหอม ความหวาน 18.9 บริกซ์ การสุกเฉลี่ย 4.5 วัน อายุหลังการเก็บเกี่ยวขาวนาน เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปีหลังปลูก เมื่อตัดแต่งสามารถออกดอกติดผลได้ตลอดปีการติดผลดกกระจายทั่วต้นแต่ในบางฤดูมีการติดผลค่อนข้างยาก มีขนาดผลสม่ำเสมอไม่แตกต่างกันมาก อายุ 2 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 1.78 กก./ต้น/ปี อายุ 3 ปีเฉลี่ย 2.14 กก./ต้น/ปี และอายุ 4 ปีเฉลี่ย 13.62 กก./ต้น/ปี

การขยายพันธุ์ เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่จะไม่ชอบอยู่ในที่มีน้ำขัง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

noinadok

การนำไปใช้ประโยชน์

  • ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าสามารถใช้ฆ่าเหา และ โรคกลากเกลื้อน
  • โดยเอาใบน้อยหน่าสดมาคั้นเอาแต่น้ำ แล้วพอกหัว ภายใน 7 วัน
  • กลากเกลื้อนและเหาก็จะหาย เป็นเหา ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่ 2 วิธีคือ
    • นำใบน้อยหน่าประมาณ 3-4 ใบมาบดหรือตำให้ ละเอียดแล้วคลุกกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกให้เคล้ากันจนได้กลิ่นน้อยหน่า แล้วนำมาทาหัวให้ทั่ว เอาผ้าคลุมไว้สัก 10-30 นาทีและเอาผ้าออกใช้หวีสาง เหาก็ตกลงมาทันที
    • นำใบน้อยหน่า 7-8 ใบ มาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำทาหัวทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำให้ไข่ฝ่อ และฆ่าเหาได้ และ แก้ขับพยาธิลำไส้ ฆ่าเหา แก้หิด แก้กลากเกลื้อน และแก้ฟกบวม
  • ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน และแก้พิษงู ถอนพิษเบื่อเมา
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษ
  • แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
  • ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู

สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเหา ฆ่าหิด ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด แก้บวม รับประทานขับเสมหะ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ใบสด 8-12 ใบ หรือเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว (บุบพอแตก เอาแต่เนื้อในเมล็ด) ประมาณ 10-20 เมล็ด ตำให้ละเอียด 3-5 ช้อนชา ผสมกับน้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะพร้าว 6-10 ช้อนชา คั้นเอาเฉพาะน้ำมันมาชโลมให้ทั่วเส้นผม ใช้ผ้าคลุมทิ้งไว้ 1/2 ชั่วโมง สระออกให้สะอาด ทำวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 วัน ไข่และตัวเหาจะตาย
การใช้ขนาดของสมุนไพร ขึ้นอยู่กับผมยาวและผมสั้น ถ้าผมยาวเพิ่ม ถ้าผมสั้นลดจำนวนของสมุนไพรลงเล็กน้อย สำหรับน้ำมันพืชก็เช่นเดียวกัน การชโลมน้ำยาบนเส้นผม ระวังอย่าให้เข้าตา เปลือกตา ริมฝีปาก รูจมูก เพราะจะทำให้ตาอักเสบ และเกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน การสระน้ำยาสมุนไพรออก ต้องสระให้สะอาดทุกครั้ง

การปลูกน้อยหน่า
วิธีการปลูก

  1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
  2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
  3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
  4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
  5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
  6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
  7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
  8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
  9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
  10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
  11. รดน้ำให้ชุ่ม
  12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด

ระยะปลูก 3 x 3 เมตร

noinaton

การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย

  1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ย อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 – 3 ครั้ง
  2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ย
    ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 – 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี

การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น