อบเชยเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอมมักจะเรียกตามแหล่งเพาะปลูกเช่นอบเชยจีนอบเชยลังกาอบเชยญวณเป็นต้นในประเทศไทยไม่นิยมปลูกเพราะภูมิอากาศไม่เหมาะสม
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นตัวต้นจะสูงประมาณ4 – 10 เมตร ส่วนเปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัวใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกันเส้นใบหยัก 3 เส้นเวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบหรือปลายกิ่งโดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชยได้เแก่ชะเอมกะเพราต้นข่าต้นสมุแว้งการบูรเทพธาโร
ในการทำอาหารไทยมักใช้เปลือกอบเชยในการทำเครื่องแกง เช่นพริกแกงกระหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ปหรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่นพะโล้และเนื้อตุ๋นส่วนในประเทศแถบตะวันตกมักใส่อบเชยในของหวานเช่นซินนามอนโรลล์ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นมใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรทส์เซลและนอกจากนี้ยังมีลูกอมหมากฝรั่งและยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย
อบเชยมีสรรพคุณทางยาเนื่องจากมีแทนนินสูงที่ให้รสฝาดจึงนิยมใช้ในยาตำรับแผนโบราณเช่นเป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆโดยใช้ส่วนของเปลือกลำต้นใช้ในการแก้จุกเสียดแน่นท้องหรือใช้ในการทำยานัตถุ์ใช้สูดดมเพื่อเพิ่มความสดชื่นลดอาการอ่อนเพลียแก้โรคท้องร่วงเพราะมีส่วนช่วยต้านแบคทีเรียในกระเพาะอาหารขับปัสสาวะช่วยในการย่อยอาหารและสลายไขมันส่วนเปลือกลำต้นอายุมากกว่า6 ปีหรือใบ กิ่งยังนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยซึ่งจะมีมากในอบเชยญวณที่ให้น้ำมันหอมระเหย 2.5%
คุณสมบัติและประโยชน์
น้ำมันหอมระเหยซินนามอนหรือน้ำมันหอมระเหยจากใบอบเชยมีสีเหลืองใสแตกต่างกับน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกอบเชยที่จะมีสีน้ำตาลแดงอ่อนๆมีคุณสมบัติกระตุ้นการทำงานของร่างกายการไหลเวียนของโลหิตช่วยฆ่าเชื้อและบรรเทาอาการเป็นไข้เจือจางน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้นวดท้องช่วยกระตุ้นการย่อยอาหารน้ำมันหอมระเหยจากใบอบเชยควรใช้อย่างระมัดระวังและเจือจางในปริมาณไม่เกิน 1.0% เท่านั้น
วิธีการใช้
ข้อแนะนำในการใช้
ส่วนประกอบสำคัญ
วิธีใช้ : ใช้ทาบริเวณที่เกิดอาการ เคล็ด ขัด ยอก และปวดเมื่อย
ป้ายคำ : สุขภาพพึ่งตน