น้ำหมักขี้หมูเป็นการนำมูลสุกรมาหมักให้เกิดการย่อยสลายธาตุอาหารออกมาอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น และยังทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดน้อยลงหรือมีความเป็นกลางมากขึ้น ซึ่งเป็นสภาพที่ธาตุอาหารต่างๆจะใช้ประโยชน์ได้ดีโดยอาจใช้รดทางดินหรือฉีดพ่นทางใบได้
การหมักน้ำขี้หมู
แช่ถังที่ 1 แช่ขี้หมูแห้ง 10 กิโลกรัม (ขี้หมูใส่ถุงผ้า ถุงละ 2 กก. 2 ถุง และ 3 กก. 2 ถุง รวม 4 ถุง) ผสมน้ำ 100 ลิตรในถังขนาด 200 ลิตร ปิดปากถังด้วยมุ้งดำ หรือกระสอบ เพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่
แช่ถังที่ 2 แช่ขี้หมูแห้ง 10 กิโลกรัม (ขี้หมูใส่ถุงผ้า ถุงละ 2 กก. 2 ถุง และ 3 กก. 2 ถุง รวม 4 ถุง) ผสมน้ำ 100 ลิตรในถังขนาด 200 ลิตร ปิดปากถังด้วยมุ้งดำ หรือกระสอบ เพื่อป้องกันแมลงวันมาวางไข่ (เวลาแช่ ถุงใส่ขี้หมูต้องจมน้ำ ให้แบ่งเป็น หลายๆ ถุง สำหรับการแช่ใน 1ถัง เพื่อไม่ให้แน่นเกินไป)
ขณะแช่ไม่ต้องกวน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง สีน้ำที่ได้จะเป็นสีโค้กหรือสีน้ำตาลเข้ม ถึงจะใช้ได้ ถ้าน้ำสียังใส ให้แช่ต่อจนกว่าสีจะเข้มห้ามหมักเกิน 24 ชั่วโมง เพราะว่า กลิ่นจะแรง และเอาไปฉีดแล้วโอกาสใบไหม้ค่อนข้างสูง
การกรอง
ถังที่ 1 เอาถุงขี้หมูขึ้น ให้กรองน้ำหมักหัวเชื้อด้วยผ้าขาวบางก่อนนำไปใช้เพื่อไม่ให้มีจุลินทรีย์ ใส่ถัง 100 ลิตร ไว้เพื่อรอผสม
ถังที่ 2 เอาถุงขี้หมูขึ้น ให้กรองน้ำหมักหัวเชื้อด้วยผ้าขาวบางก่อนนำไปใช้เพื่อไม่ให้มีจุลินทรีย์ ใส่ถัง 100 ลิตร ไว้เพื่อรอผสม
น้ำสกัดมูลสุกรส่วนใสสามารถหมักเก็บไว้ใช้ได้นาน ซึ่งจะทำให้น้ำสกัดใสยิ่งขึ้น และมีธาตุอาหารในรูปที่พืชสามารถใช้ประโยชน์ได้ในปริมาณมากยิ่งขึ้น การทำน้ำสกัดมูลสุกรจะทำให้ประหยัดกว่าการใช้มูลสุกรเป็นปุ๋ยทางดินโดยตรง เนื่องจากมูลสุกรแห้ง 1 กิโลกรัมทำน้ำสกัดได้ประมาณ 10 ลิตร และเจือจางต่อไปได้เป็น 100-200 ลิตร
รศ.อุทัย คันโธ และ อ.สุกัญญา จัตตุพรพงษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม ได้ศึกษาทดลองสกัดปุ๋ยจากมูลสุกร พบว่ามีธาตุอาหารพืช ทั้ง 13 ธาตุ เหมาะกับการปลูกพืช (ได้แก่ N, P, K, Ca, Mg, S, Fe, Mn, Cu, Zn, B, Mo และ Cl) มีฮอร์โมนพืชช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และน้ำสกัดมูลสุกรจะไปควบคุมจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคกับต้นพืชด้วย ทำให้ต้นพืชแข็งแรง ได้มีการทดสอบใช้น้ำสกัดมูลสุกรในข้าว พบว่า ต้นข้าวแข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ไม่ต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงใดๆ เมล็ดข้าวมีคุณภาพดีมาก เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี สีข้าวแล้วได้ข้าวสารมาก ปลายข้าวน้อย ในระหว่างทดลอง ฝนทิ้งช่วงและอากาศแห้งแล้งกว่า 2 เดือน แต่ผลผลิตได้มากกว่าเดิม โดยนาข้าวที่ใช้ปุ๋ยน้ำสกัดเพิ่มผลผลิตมากกว่าแปลงใช้ปุ๋ยเคมี 166.6 กก.ต่อไร่ คิดเป็นผลผลิตเพิ่ม 69% ลดต้นทุนการผลิตได้ 1,360 บาทต่อข้าว 1 ตัน (ลดลง 37.06%) และการปลูกข้าวโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มูลสุกรจะให้ผลผลิตสูงกว่าใช้ปุ๋ยเคมี โดยได้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 1-1.3 ตันต่อไร่ เมล็ดมีน้ำหนักดีกว่าเดิม ขณะที่ต้นทุนการปลูกข้าวจะลดลงถึงไร่ละ 2,000-3,000 บาท
การใช้น้ำสกัดมูลสุกรกับผัก
การใช้น้ำสกัดมูลสุกรกับไม้ผล
การใช้น้ำสกัดมูลสุกรกับไม้ดอก
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน)
ป้ายคำ : น้ำหมักชีวภาพ