วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย บ้านกับวัดผลัดกันช่วยก็อวยชัย ถ้าขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง สุภาษิตนี้ เรามักจะเห็นกันเมื่อไปวัดวาอารามต่างๆ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าบ้านและวัดขาดกันไม่ได้เลย นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่เข้ามามีบทบาทในสองหน่วยหลักทางสังคมเพิ่มอีกหนึ่ง
การก่อให้เกิดกระบวนการประชาสังคม บวร คือการนำเอารูปแบบและแนวคิด การพัฒนา แบบ บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) กล่าวคือ เป็นแนวคิดที่มุ่งพยายามที่จะนำเอา องค์กร และ/หรือ สถาบันหลักในชุมชนท้องถิ่นมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา อันได้แก่ การนำเอาสถาบันที่สำคัญในชุมชน 3 สถาบัน สถาบันทั้ง 3 จึงเป็นสถาบันสำคัญในทางสังคมที่จะสามารถนำมาเป็นกลไปที่ก่อให้เกิดกระบวน การสร้างสังคมให้เข้มแข็ง พัฒนาให้เกิดเครือข่าย นำสู่ภราดรภาพและสังคมสมานฉันท์ อันเป็นจุดหมายปลายทางของการพัฒนาชุมชนและสังคมได้อีกรูปแบบหนึ่ง ได้แก่
ผนึกกำลังจัดตั้งเป็นองค์กรที่เรียกว่า มนตรี บวร เพื่อนำมารองรับและดำเนินการต่างๆ ตามนโยบายของทางราชการ (สุริยน จันทรนกูร,2537) ฉะนั้น คำว่า บวร จึงเป็นคำย่อ โดยการนำเอาพยัญชนะต้นของคำว่า บ้าน วัด โรงเรียน มา บัญญัติเป็นคำใหม่ คือ ซึ่งมีองค์ประกอบของ บวร (ธนพรรณ ธานี,2545,น.6) ดังต่อไปนี้
1. สถาบันการปกครอง (บ้าน) ซึ่งประกอบไปด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อบต. สาธารณสุขตำบล เกษตรตำบล เป็นต้น รวมทั้งระบบกลไกในการบริหารที่มาจากรัฐ ในรูปอื่นๆ ด้วย
2. สถาบันศาสนา (วัด) ประกอบด้วย เจ้าอาวาส พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ กลุ่ม หรือ ชมรมทางศาสนา ซึ่งในความหมายในเชิงกว้าง อาจจะหมายรวมถึง องค์กรหรือ หรือ สถาบันทางศาสนาต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ด้วย
3. สถาบันการศึกษา (โรงเรียน) ประกอบ ด้วย ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ คณะครู นักวิชาการ และบุคคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และองค์กรทางการศึกษาอื่นๆ ด้วย
ดังนั้น ประชาสังคมแบบ บวร จึงหมายถึง การนำเอา สถาบันหลักในชุมชนมาเป็นกลไกในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการพัฒนา ติดสินใจ แก้ปัญหาตนเอง และ ชุมชน กำหนดแผนแม่บทชุมชนด้วยการร่วมกันคิด สร้าง และ บริหารจัดการชุมชนของคนในท้องถิ่นที่ร่วมกันเป็นเจ้าของ
ในกรณีของประเทศไทย จุดแข็งอย่างหนึ่งของสังคมไทย ก็คือ การมีพระพุทธศาสนาและได้รับการยอมรับโดยพฤตินัยว่า ประเทศไทยเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนา มีบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่เป็นพระภิกษุและสามเณร จำนวน 340,303 รูป มีวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาจำนวน 33,674 วัด (ข้อมูลจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ,2547)
นอกจากนี้ความผูกพันระหว่างวัดและชุมชน จึงเป็นทุนทางจิตวิญญาณ (Spiritual capital) ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital) ในสังคมไทยมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ตั้งแต่เกิดจนตาย บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นทุนมรดกทางสังคม ที่มีมาคู่สังคมไทย สถาบันทั้ง 3 จึงมีความสัมพันธ์ในทางสังคม และเป็นตัวเชื่อมโยงกิจกรรมในชุมชนทั้ง มิติทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม
ลักษณะชุมชนที่ปรากฏในสังคมไทยจึงมักประกอบด้วย บ้าน (ชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งรวมของผู้คนและระบบชีวิตที่ก่อเกิดกิจกรรมทางสังคมที่หลาก หลาย) วัด (สถาบันศาสนาซึ่งเป็นตัวขัดเกลาและบ่มเพาะวัฒนธรรมและศูนย์รวมจิตใจของ ชุมชน) โรงเรียน (สถานศึกษาเป็นตัวเพิ่มเติมความรู้และถ่ายทอดการศึกษาอย่างเป็นระบบ)
ถ้าสังเกตจะเห็นได้ว่าโรงเรียนก็แยกตัวออกมาจากวัด วัดกับโรงเรียนจึงเป็นหน่วยงานที่ใกล้เคียงกันในด้านการทำงาน กล่าวคือ การให้ความรู้ สติปัญญาและจิตวิญญาณ วัดมีพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิในด้านความรู้ พระสงฆ์อาจมีความรู้นอกเหนือจากทางธรรม คือก่อนมาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านอาจเป็นช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ มาก่อน ความรู้นี้ท่านอาจนำมาพัฒนาวัดหรือนำมาสอนญาติโยม เพื่อนำไปประกอบอาชีพได้ โรงเรียนเช่นกันสร้างปัญญา วีธีการสมัยใหม่ เพื่อนำไปสู่การปรับตัวในสังคมในยุคปัจจุบัน
ฉะนั้น บ้าน วัด โรงเรียน จึงเป็นหน่วยทางสังคมที่มีความสำคัญทั้งหมด วัด มีบ้านและโรงเรียนให้การอุปถัมภ์ ค้ำชู ทำนุบำรุงพระศาสนา บ้านก็มี วัดคอยให้สติ เตือนใจ รวมทั้งจิตวิญญาณและมีโรงเรียนคอยสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน โรงเรียน มีวัด ที่ให้การสนับสนุน อบรมสั่งสอนในศีลธรรม และมีบ้านที่คอยให้การสนับสนุน
ผู้ที่มีความรู้ความสามรถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยอาจเป็นครูภูมิปัญญา ให้ความรู้ในเรื่องที่เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ และกรรมการสถานศึกษาก็มีพระ มีผู้นำชุมชน เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานในโรงเรียน
ป้ายคำ : ภูมิปัญญา