บัวหลวง ชื่อสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติหรือบัวหลวง มีถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย เช่น จีน อินเดีย และไทย มีลำต้นใต้ดินแบบเหง้า และไหล ใบเมื่อยังอ่อนจะลอยปิ่มน้ำ ส่วนใบแก่จะโผล่พ้นน้ำ ก้านใบ และก้านดอกมีหนาม ดอกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ชูสูงพ้นผิวน้ำ มีทั้งดอกทรงป้อมและแหลม กลีบดอกมีทั้งชนิดซ้อนและไม่ซ้อน สีขาว ชมพู หรือเหลือง แล้วแต่ชนิดพันธุ์ บัวในสกุลนี้เป็นบัวที่รู้จักกันดีเพราะเป็นบัวที่มีดอกใหญ่นิยมนำมาไหว้พระ และใช้ในพิธีทางศาสนา เหง้าหรือที่มักเรียกกันว่ารากบัว และไหลบัว รวมทั้งเมล็ดสามารถนำมาเป็นอาหารได้
บัวเป็นไม้ดอกที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ก่อนสมัยพุทธกาลตามพุทธประวัติ พบว่าบัวมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่เมื่อพระพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พุทธศาสนิกชนจึงมีการใช้ดอกบัวเพื่อการบูชาพระ ตลอดทั้งในพิธีการทางศาสนาพุทธ บัวจึงเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ ของความบริสุทธิ์และคุณงามความดี ในพุทธ – ศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัวเป็น 4 ระดับ คือ บัวในโคลนตม บัวใต้น้ำ บัวปิ่มน้ำ และบัวเหนือน้ำ ซึ่งเปรียบเสมือนว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าสูงสุด
บัวหลวง เป็นไม้ล้มลุก ซึ่งเจริญเติบโตอยู่ใต้ดิน ลำต้นสีเขียวอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปกลม แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลมขนาดใหญ่ ใบมีสีเขียว ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวาง จะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยวมีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง ๔-๕ กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียวหรือสีชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น นฐานรองดอกรูปกรวย สีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมากฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียวที่เรียกว่า “ฝักบัว” มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
รูปดอกจะเป็นพุ่มทรงสูงกลีบดอกสีชมพู ซ้อนกันหลายชั้น แต่ละกลีบโค้ง มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก ถัดเข้าไปตรงกลางเป็นส่วนฐานรองดอก จะขยายเป็นรูปกรวยสีเหลืองเป็นส่วนที่ไข่จะฝังอยู่และไข่จะเจริญไปเป็นผลบัวและฝังอยู่บนฝักบัว บัวชนิดนี้ มีชื่อเรียกว่า”ปทุม ปัทมา โกกระนต โกกนุต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nucifera Gaertn.
ชื่อสามัญ : Lotus
วงศ์ : Nelumbonaceae
ชื่ออื่นๆ : บุณฑริก ปทุม ปัทมา สัตตบงกช บัวฉัตรขาว บัวฉัตรสีชมพู สัตตบุษย์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน เหง้า จะมีลักษณะเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลือง แข็งเล็กน้อย ถ้าตัดตามขวางจะเป็นรูกลมๆ หลายรู ไหลจะเป็นส่วนที่เจริญไปเป็นต้นใหม่ ใบ ใบเดี่ยวรูปโล่ ออกสลับ แผ่นใบจะชูเหนือน้ำ รูปใบเกือบกลม ขนาดใหญ่ ขอบเรียบและเป็นคลื่น ผิวใบมีนวล ก้านใบแข็งเป็นหนาม ถ้าตัดตามขวางจะเห็นเป็นรูภายใน ก้านใบมีน้ำยางขาว เมื่อหักจะมีสายใยสีขาว ใบอ่อนสีเทานวล ปลายม้วนงอขึ้นทั้งสองด้าน ก้านใบจะติดตรงกลางแผ่นใบ ดอก เดี่ยว มีสีขาว สีชมพู กลิ่นหอม บัวหลวงจะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมืนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4- 5 กลีบ ขนาดเล็ก สีขาวอมเขียว หรือสีเทาอมชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกมีจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมากสีเหลือง ปลายอับเรณูมีระยางคล้ายกระบองเล็กๆ สีขาว เกสรตัวเมียจะฝังอยู่ในฐานรองดอกรูปกรวยสีเหลืองนวล ผล รูปกลมรีสีเขียวนวล มีจำนวนมาก ฝังอยู่ในส่วนที่เป็นรูปกรวย เมื่ออ่อนมีสีเหลือง รูปกรวยนี้เมื่อเป็นผลแก่จะขยายใหญ่ขึ้นมีสีเทาอมเขียว ที่เรียกว่า “ฝักบัว” มีผลสีเขียวอ่อนฝังอยู่เป็นจำนวนมาก
สายพันธ์บัวหลวง
บัวหลวงอยู่ในวงศ์ Nymphaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nelumbo nucifera Gaertn มีชื่อสามัญว่า Sacred Lotus บัวที่นิยมปลูกมี 4 สายพันธุ์ ดังนี้
ประโยชน์ :
ดอกนำมาบูชาพระ ใบห่ออาหาร หรือใช้ในงานประดิษฐ์ เมล็ดนำมาประกอบเป็นอาหาร เกสรผู้เป็นยาขับปัสสาวะ หรือเป็นเครื่องสำอาง
ส่วนที่ใช้ : ดีบัว ดอก เกษรตัวผู้ เมล็ด ไส้ของเมล็ด ยางจากก้านใบและก้านดอก เง่า ราก
สรรพคุณ :
สารเคมี :
การขยายพันธุ์
การแยกเหง้า
วิธีนี้เหมาะสำหรับบัวในเขตร้อนคือบัวหลวง จะสร้างไหลจากเหง้า ( ราก ) ของต้นแม่แล้วงอกไปเป็นต้นใหม่ สามารถขยายพันธุ์โดยการตัดเหง้า ให้มีความยาวประมาณ 2-3 ข้อ มีตาประมาณ 3 ตา ต้นอ่อนจะขึ้นจากตา และเจริญเป็นต้นใหม่
การเก็บรักษาเหง้า
โดยนำมาวางรวมกัน รดน้ำให้โชกปิดด้วยใบตองหรือผ้าที่ชุบน้ำให้เปียก เพื่อรักษาความชื้นอย่าให้แห้ง ( พันธุ์บัว 1 เหง้าควรจะต้องมีตา 3 ตา กรณีที่มีตาไม่ถึง 3 ตา สามารถนำมามัดรวมกันแล้วนับให้ได้ 3 ตา ซึ่งเกษตรกรจะเรียก 1 กำ หรือ 1 จับ )
การเตรียมดิน
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกบัวมีข้อควรพิจารณาดังนี้
การเตรียมพื้นที่
สำหรับทำนาบัวจะคล้ายๆกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ สูงประมาณ 1.5 เมตร เก็บเศษวัสดุและกำจัดวัชพืชออกให้หมดปรับพื้นที่ให้เรียบ ไถดะโรยปูนขาว ตากแดดทิ้งไว้ 7-15 วัน แล้วไถแปรอีกครั้งพร้อมกับเติมปุ๋ยคอกเก่าๆ เช่น มูลไก่ มูลโค ประมาณ 200 กิโลกรัม จากนั้นระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้นดินประมาณ 15 ซม . ทิ้งไว้ 3-5 วัน ให้ดินตกตะกอนและอ่อนตัว แล้วจึงนำไหลบัวมาปักดำระยะปลูกที่เหมาะสมคือระยะระหว่างต้น 2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่จะใช้ไหลบัวประมาณ 400 ไหล
การปลูกบัว
วิธีการปักดำมี 2 วิธีการคือ
การให้น้ำ
ในช่วงเดือนแรกต้องรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในนาบัวประมาณ 30 ซม . ถ้าระดับน้ำสูงกว่าที่กำหนด ใบบัวที่แตกใหม่ขึ้นมาเหนือผิวน้ำจะโผล่ได้ช้า เป็นสาเหตุให้บัวตาย หลังจากนั้นเมื่อบัวเจริญเติบโตสูงขึ้น ปล่อยน้ำเข้าแปลงให้มีความลึกประมาณ 50 ซม . แต่ไม่ควรเกิน 100 ซม . เพราะความลึกระดับนี้บัวจะได้รับอุณหภูมิพอเหมาะทำให้บัวสามารถออกดอกได้มาก
ศัตรูพืช
โรค
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน