บานบุรีเป็นชื่อของพันธุ์ไม้ ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายพันธุ์ ตามสีของดอก ได้แก่ บานบุรีสีเหลือง บานบุรีสีเหลืองแคระ บานบุรีสีแสดและ บานบุรีสีม่วง เป็นพืชพื้นเมืองของบราซิล นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ออกดอกตลอดปี
บานบุรีนับเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่มีความสิริมงคล ดอกเหลืองอร่ามเป็นเสมือนแสงแห่งความเจริญรุ่งเรืองหากบ้านใดปลูกดอกบานบุรี ย่อมจะไดพ้รับแต่สิ่งที่ดีและมีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Allamanda cathartica L.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ Allamanda, Golden Trumpet
ชื่ออื่นๆ บานบุรีหอม, บานบุรีแสด
ถิ่นกำเนิด อเมริกาใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บานบุรีหอมเป็นพรรณไม้เถาเล็ก จะเลื้อยเถายาวเกี่ยวเกาะกับไม้พุ่มใหญ่ๆ ลักษณะของใบเป็นใบมนรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งของต้น ช่อๆ หนึ่งมีดอกอยู่ประมาณ 5-8 ดอกและจะทยอยกันบาน ดอกมีสีเหลืองแสด ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างกลม แฉกกลีบเวียนคล้ายกงจักร โคนดอกเป็นหลอด เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-7 ซม. มีจุดริ้วสีส้มที่โคนคอกลีบ ดอกจะมีกลิ่นหอมในตอนเช้า ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่ง
การปลูกและดูแลรักษา
บานบุรีหอมเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุยมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ควรปรับปรุงดินให้มีคุณภาพก่อนการปลูก เป็นพืชที่ต้องการน้ำและความชื้นจึงควรรดน้ำบ่อยๆ แต่ไม่ควรรดจนแฉะเกินไป หากกิ่งยึดยาวควรปักไม้และจับยอดเลื้อยพันให้สวยงาม
บานบุรีมีวิธีการปลูกโดยการปักชำกิ่ง โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้คือ ให้ตัดกิ่งบานบุรีบริเวณใต้ข้อประมาณ 2 เซนติเมตร และให้กิ่งปักชำมีความยาวประมาณ 1 ฟุต แล้วปักในกะบะทรายหรือถุงปักชำ รดน้ำพอชุ่มวางไว้ในที่ร่มหรือวางไว้ภายในเรือนเพาะชำประมาณ 3 สัปดาห์ ก็จะมีรากงอกออกมาแล้วจึงนำไปปลูกในหลุมปลูก หรือจะปลูกใส่กระถางก็ได้ตามต้องการ การปลูกหากปักชำกิ่งในถุงก็ให้ใช้มีดกรีดถุงให้ขาด แล้วเอาถุงออกยกดินพร้อมกิ่งปักชำลงในหลุมหรือกระถางได้เลยกลบดินพอแน่นรดน้ำให้ชุ่มแต่ถ้าหากว่าปักชำกิ่งในกะบะปักชำก็ให้ใช้ช้อนปลูกตักดินที่ปักชำติดขึ้นมาด้วยแล้วนำลงหลุม หรือกระถางปลูก กลบดินพอแน่น รดน้ำให้ชุ่ม ดินที่ใช้ปลูกบานบุรีควรเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายและควรจัดวางกระถางต้นไม้ให้ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอเนื่องจากบานบุรีเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดหรือชอบอยู่กลางแจ้ง จึงจะให้ดอกที่สวยงาม
สรรพคุณของ บานบุรีเหลือง
ที่มา
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือไม้ต่างถิ่นในเมืองไทย เล่มที่ 1
ป้ายคำ : ไม้ดอก