บุญรุ้ง สีดํา นักค้นคว้าวิจัยทางด้านจุลินทรีย์

14 พฤศจิกายน 2558 ปราชญ์ของแผ่นดิน 0

จุลินทรีย์ ดั่งเดิมในท้องถิ่นมีความสำคัญมาก ถ้าจะนับเวลาที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงอยู่ในสภาพแวดล้อมก็จะยาวนานนับ 1,000 ปี จุลินทรีย์เหล่านี้มีพัฒนาการเพื่อการอยู่รอดและปรับตัวให้คงทนต่อสภาพที่ ไม่เหมาะสมมานานแล้ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านั้นจะมี ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง และมีกิจกรรมมาก ดังนั้นเมื่อมีการ่นำจุลินทรีย์จากต่างถิ่นหรือที่ผลิตเป็นการค้า จึงพบว่าจะขาดลักษณะเด่นคือไม่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมและ ไม่สามารถดำรงชีพอยู่ได้

boonrungseedams

จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs) พื้นฐานของความของความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การเพาะปลูกจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากดินที่เหมาะสม ดังนั้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่เพาะปลูกจึงควรต้องทำเป็น อันดับแรกดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีลักษณะอย่างไร จากรายงานการวิจัยพบว่าดินที่ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษในพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร จะมีจุลินทรีย์อยู่หลายชนิดคิดเป็นน้ำหนักเท่ากับ 700 กิโลกรัม โดยปกติปริมาณจุลินทรีย์มากน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ดินจะประกอบด้วยเชื้อรา 75% แบคทีเรีย 20-25% และสัตว์ขนาดเล็กในดิน 5% คิดเป็นน้ำหนักแห้งประมาณ 140 กิโลกรัม

ปุ๋ยเคมี ทำให้ดินเสีย โครงสร้างของดินเล็กลง การถ่ายเทน้ำ อากาศไม่ดี แม้จะใส่ปุ๋ย รากพืชก็ไม่สามารถ ดูดเอาแร่ธาตุไปใช้ได้ แต่จุลินทรีย์ ทำหน้าที่ย่อยสลาย ทำให้ดินมีชีวิต ปลูกอะไร ก็เจริญเติบโต การบำรุงดิน ทำได้ง่ายมาก ถ้าดินสมบูรณ์แล้วไม่ต้องขุด แค่เอาฟางคลุม รดด้วยน้ำจุลินทรีย์ หัวใจที่คิดจะให้แก่ดิน แก่แม่พระ ธรณี เป็นใจ ที่อุดมสมบูรณ์ เราก็จะได้ความอุดมสมบูรณ์กลับมา

boonrungseedamk

การเก็บเชื้อจุลินทรีย์ในป่า(IMO) เพื่อเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ในท้องถิ่นในป่า นำไปเป็นหัวเชื้อ หรือนำไปเป็นดินปลูกพืช
เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์

  1. จอบ
  2. คราด
  3. พลั่ว
  4. บัวรดน้ำ
  5. รำข้าว หยาบ ละเอียด
  6. กากน้ำตาล

ขั้นตอนวิธีทำ

  1. เข้าป่ากวาดใบไม้ออก
  2. ใช้จอบขูดสับหน้าดินลึก 1-2″
  3. รวมดินขึ้นกอง 1 ส่วน
  4. เทราดรำข้าว 1 ส่วน
  5. คลุกเคล้าเข้ากันผสมแห้ง
  6. ราดกากน้ำตาลที่ละลายน้ำ 1:10
  7. ผสมให้เข้ากันความชื้น 60% พอกำเป็นก้อนได้
  8. ขึ้นกองเป็นรูปกรวยค่ำ โรยทับด้วยรำ ปิดคลุมด้วยใบไม้
  9. เมื่อ 3 วันผ่านไปให้กลับกอง ครบ 7 วันใช้ได้

วิธีนำไปใช้
ใช้โรยบนแปลงผัก เป็นปุ๋ยให้พืชผัก หรือนำไปคลุกขยายเชื้อในดิน
โดยนำไปเป็นหัวเชื้อคลุกเคล้าในแปลงผัก 1 บุ้งกี๋ ต่อ 1-2 ตารางเมตร

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น