บ้านก้อนฟาง เกิดขึ้นครั้งแรกที่รัฐเนบราสกา ในอเมริกา โดยนักบุกเบิกรุ่นแรกๆที่อพยพไปอยู่ในอเมริกาในรัฐนี้จากทุ่งกว้างใหญ่ไพร ศาล หาไม้ยาก วัสดุก่อสร้างอื่นหายาก เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งราบลมแรงมากคนก็เลยเอาฟางมาตั้งซ้อนกันเป็นที่หลบ ลม ต่อมาก็มีคนทำหลังคาใส่ เอาดินมาฉาบ ก็เลยเป็นบ้านที่อยู่สบายทนทานต่อแรงลม ป้องกันเสียง ป้องกันความหนาวความร้อนได้ดี เพราะฟางเป็นฉนวนป้องกันการถ่ายเทอุณหภูมิได้ดีที่สุด หลังจากนั้นบ้านก้อนฟางก็กลายเป็นที่นิยมของผู้คนในมลรัฐนั้นเรื่อยมาจนอเมริกาเจริญก้าวหน้าคนเริ่มหันมาใช้คอนกรีต และวัสดุอื่นแทนจนประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้คนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นเพราะต้นทุนถูกเป็นมิตรกับสิ่ง แวดล้อมและควบคุมอุณหภูมิได้ดีกว่าบ้านทุกชนิด ทั้งในอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีคนทำบ้านก้อนฟางมากขึ้น
บ้านก้อนฟางในยุคแรกจะเป็นบ้านระบบผนังรับน้ำหนักไม่มีเสาไม่มีโครงสร้างไม้ แต่ปัจจุบันคนทำบ้านก้อนฟางแบบใหม่ คือเปลี่ยนมาเป็นระบบเสารับน้ำหนักซึ้งต้องใช้ไม้ใช้เสามากขึ้นความจริงแล้ว มันก็เหมือนบ้านคอนกรีตบ้านไม้ทั่วไปเพียงแต่ผนังเป็นฟางเท่านั้นเอง ทุกวันนี้ยังมีคนจำนวนมากที่ยังทำบ้านก้อนฟางโดยวิธีดั้งเดิม คือระบบผนังรับน้ำหนัก เพราะมันถูกกว่าง่ายกว่าและแข็งแรงมาก บ้านรุ่นแรกที่นักบุกเบิกเข้าไปทำไว้หลายหลังยังคงอยู่จนถึง ปัจจุบันซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี
ในที่นี้จะพูดถึงการทำบ้านก้อนฟางแบบผนังรับน้ำหนักหรือแบบดั้งเดิมเท่านั้นเพราะบ้านระบบเสารับน้ำหนักเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว
วิธีการทำบ้านก้อนฟาง
1. การเลือกที่ พื้นที่จะสร้างบ้านก้อนฟางต้องเป็นพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง หากเป็นที่ลุ่มก็ควรถมที่ให้สูงเพราะบ้านก้อนฟางน้ำจะท่วมไม่ได้เลย บ้านก้อนฟางก็คล้ายบ้านดินไม่กลัวลมไม่กลัวฝน ไม่กลัวไฟกลัวอย่างเดียวคือน้ำท่วมที่ที่เป็นที่ลุ่มมากๆระดับน้ำท่วมแต่ละ ปีไม่แน่นอนไม่ควรสร้างหรือถ้าจำเป็นต้องสร้างควรถมที่ดินให้สูงมาก
2. การทำฐาน เนื่องจากฟางดูดซับน้ำได้ดีและเน่าเร็วถ้าเปียกน้ำ ดังนั้นการป้องกันน้ำหรือ ความชื้นไม่ให้มาถึงฟางได้จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การทำฐานคอนกรีตหรือ ฐานหินให้สูงจากพื้นดินอย่างน้อย 5 นิ้วขึ้นไปจะช่วยป้องกันความชื้นไม่ให้ขึ้นมาถึงก้อนฟางได้ดีส่วนมากฐานจะ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เหมือนฐานบ้านทั่วไปเพียงแต่ฐานบ้านก้อนฟางจะใหญ่กว่าฐานบ้านทั่วไป กำแพงบ้านก้อนฟางจะใหญ่เท่าก้อนฟาง ดังนั้นฐานจึงมีหน้ากว้างเท่ากับก้อนฟางด้วยการทำฐานบ้านก้อนฟางก็เหมือนกับ ทำฐานบ้านดิน คือทำฐานเหนือดินเพราะวัตถุประสงค์หลักของบ้านก็เพื่อป้องกันความชื้นและ ปลวกไม่ให้ขึ้นมาถึงก้อนฟางได้ โดยปกติแล้วปลวกไม่ค่อยชอบกินฟางเท่าไหร่ ยกเว้นกรณีที่ฟางเปียกชื้นทับถมกันแน่นๆถ้าฟางแห้งปลวกไม่กินในระหว่างที่ทำ ฐาน ควรจะเอาไม้หรือเหล็กเส้นตัดประมาณ ฟุตครึ่ง เสียบลงไปในคอนกรีตให้ปลายไม้ไผ่ หรือเหล็กโผล่ขึ้นมาประมาณ หนึ่งฟุต ห่างกันประมาณฟุตครึ่ง หรือกะให้พอดีกับก้อนฟางหนึ่งก้อน ควรจะอยู่บนเหล็กเส้นหรือไม้ไผ่สองเส้นหัวท้ายเพื่อที่จะให้เสียบก้อนฟางลง กับไม้หรือเหล็กเส้นเหล่านี้ได้
3. ก้อนฟาง ควรเป็นก้อนฟางใหม่ที่สุดแห้งสนิทไม่มีความชื้นไม่มีเชื้อราขึ้น ก้อนฟางที่อัดแน่น ถือว่าดีที่สุดฟางจะเป็นฟางอะไรก็ได้หรือก้อนหญ้าอะไรก็ได้ขอให้อัด เป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ปกติจะมีขนาด ยาว 1 เมตร กว้าง 45 50 เซนติเมตร
4. การใส่วงกบประตู ควรจะตั้งวงกบประตูให้เสร็จก่อนที่จะเริ่มก่อ ตั้งเสร็จก็ใช้ไม้ยึดไว้ไม่ให้เคลื่อน
5. การก่อ ก่อนก่อให้วางท่อพีวีซี ขนาด 4 หุน หรือตัดไม้ไผ่ให้มีปล้องยาวขนาดเท่ากับก้อนฟางวางไว้บนฐานเป็นช่วงๆห่างกัน ประมาณเมตรครึ่งสำหรับเอาไว้ร้อยเชือกขึ้นไปรัดโครงหลังคาก่อนมุงหลังคา อย่างน้อยด้านละสองตำแหน่งการก่อใช้ก้อนฟางเสียบลงไปที่เหล็กเส้นหรือไม้ที่ เราเสียบฝังไว้ติดกับหน้าฐานโดยวางก้อนฟางให้ตรงกันมากที่สุดจากนั้นก็วาง ชั้นที่สอง ระวังไม่ให้ปลายก้อนฟางตรงกับปลายก้อนฟางชั้นล่างต้องวางสลับกันเสมอเหมือน กับการก่อ อิฐทุกอย่างพอก่อชั้นที่สองเสร็จใช้ไม้ไผ่หนา 1 นิ้ว ยาวเท่ากับฟาง 2 ก้อน ตอกยึดกับก้อนฟางแถวล่าง ทุกๆชั้นต้องตอกไม้ให้ยึดกับชั้นล่างตลอดการตัดก้อนฟางเพื่อให้ได้ฟางครึ่ง ก้อนหรือตามขนาดที่เราต้องการนำก้อนฟางมาวาง แต่อย่าพึ่งตัดเชือกที่มัดก้อนฟางทั้งสองเส้นให้ใช้ลวดแข็งๆ หรือไม้ไผ่เจาะรูปลายด้านหนึ่งเพื่อให้เป็นรูเข็มใช้เชือกสำหรับมัดก้อนฟาง ร้อยเข้าไปในรูเข็มแล้วใช้เข็มไม้หรือเข็มลวดเสียบให้ทะลุก้อนฟางตรงที่เรา ต้องการจะตัดเพื่อร้อยเชือกแล้วมัดให้แน่นแล้วร้อยเชือกมัดอีกด้านให้แน่น เหมือนกันมัดแถวล่างอีกสองเส้นก่อนแล้วตัดเชือกเก่าทั้งสองเส้นเราก็จะได้ ก้อนฟางเล็กสองก้อนตามต้องการ
6. การใส่วงกบหน้าต่าง เมื่อก่อมาถึงระดับที่จะใส่วงกบหน้าต่างนำวงกบมาตั้งบนกำแพงฟางได้เลยแล้ว จับระดับน้ำให้เรียบร้อยก่อนตีไม้ยึดไว้แล้วก่อก้อนฟางชนกับวงกบไปได้เลย บางคนอาจจะใช้ไม้กระดานหรือไม้อัดหนาประมาณ 1 นิ้ว กว้างเท่ากับก้อนฟาง ตีเป็นกล่องสี่เหลี่ยม วางเป็นวงกบไว้ก่อน พอก่อเสร็จค่อยเอาวงกบจริงมาติดข้างในอีกทีก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ผนังภายในช่องหน้าต่างที่เรียบและมีมุมมีเหลี่ยมสำหรับคนที่ ชอบมุมเหลี่ยมที่คมๆ
7. ทับหลัง เนื่องมาจากก้อนฟางขนาดใหญ่มาก เมื่อวางบนหลังวงกบจะไม่แน่นให้มั่นคงเท่า ไหร่ถ้าใส่ไม้สองท่อนวางห่างกันนิดหน่อยเป็นทับหลังจะทำให้ก้อนฟางแน่นสนิท มากขึ้นไม่ขยับง่ายถ้าไม่อยากใช้ไม้สองท่อนอาจจะใช้ไม้กระดานแผ่นเดียวกว้าง หน่อยวางเลยก็ได้ไม้ทับหลังควรยาวพาดอยู่บนก้อนฟางทั้งสองข้าง ข้างละอย่างน้อย 5 นิ้ว ขึ้นไปก็ใช้ได้ ไม้ทับหลังจะเป็นไม้อะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นไม้เนื้อแข็ง หรือไม้เนื้อดี เพราะสุดท้ายเราจะฉาบทับด้วยดินหนาๆก็จะไม่มีปัญหาเรื่องมอดหรือการผุพัง
8. การทำโครงหลังคา เมื่อก่อได้ความสูงขนาดที่ต้องการแล้ว ให้วางไม้รอบกำแพงทั้งหมด แล้วตีตะปูยึดติดกันให้แน่น ไม้ควรมีขนาดไม้หน้าสามขึ้นไป หรือถ้าเป็นไม้กลมก็ควรจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 3 นิ้ว ขึ้นไป แล้วให้ตีดั้งตีกลอน เป็นโครงหลังคาต่อจากไม้ชุดนี้ขึ้นไปเหมือนกับการทำบ้านดินทุกอย่าง พอทำโครงเสร็จก่อนมุงหลังคาให้ใช้เชือกในล่อน หรือลวด ที่มีขนาดพอที่จะร้อยเข้าไปในท่อพีวีซีหรือท่อไม้ไผ่ที่วางไว้ที่ฐานก่อน เริ่มก่อ ร้อย แล้วดึงเชือกขึ้นมา รัดไม้โครงหลังคามัดยึดกับกำแพงกก้อนฟางให้แน่น
9. มุงหลังคาบ้านก้อนฟาง จะใช้หลังคาอะไรก็ได้เหมือนบ้านธรรมดาจะเป็นหญ้าคา สังกะสี กระเบื้องลอนคู่หรือกระเบื้องซีเมนต์ ก็ได้แล้วแต่ชอบ เพราะบ้านก้อนฟางรับน้ำหนักได้มากกว่าบ้านไม้หลายเท่าตัว เพราะมันเป็นระบบผนังรับน้ำหนัก
10. การเดินสายไฟและระบบน้ำ เมื่อมุงหลังคาเสร็จก่อนฉาบ ควรเดินสายไฟ และระบบน้ำให้เสร็จก่อน ซึ่งทั้งสายไฟ และระบบน้ำสามารถพับลวดแข็งๆ เป็นรูปตัวยูแล้วเสียบยึดสายไฟ หรือวางท่อน้ำติดต่อกับก้อนฟางได้เลย ตรงที่เป็นปลั๊กหรือสวิทก็ตัดแผ่นไม้อัดหนาๆ หรือไม้เนื้ออ่อนขนาดใหญ่กว่าปลั๊กหรือสวิทตัดนิดหนึ่ง ใช่สว่านเจาะรูที่ปลายมุม 4 ด้าน แล้วใช้ลวดที่พับเป็นรูปตัวยู เสียบตามรูและยึดกับก้อนฟางแต่ให้พออยู่ก่อนแล้วค่อยฉาบดินทับที่หลัง ตอนแรกอาจจะขยับไปมาได้บ้าง แต่เมื่อฉาบเสร็จจะแน่นมาก
11. การฉาบ เมื่อระบบไฟฟ้า น้ำประปา หรือหลังคาเสร็จเรียบร้อยเราก็จะเริ่มทำงานสบายๆในที่ร่มนั่นคือการฉาบ บ้านก้อนฟางจะฉาบด้วยซีเมนต์ หรือดินก็ได้ การฉาบด้วยซีเมนต์ในประเทศตะวันตกมักจะใช้เครื่องพ่นซีเมนต์พ่นใส่ผนัง แล้วตามด้วยเกรียงเหล็กฉาบให้เรียบร้อยตามต้องการ การใช้เครื่องพ่นซีเมนต์ หรือพ่นดินฉาบทำให้ติดผนังได้ดีขึ้นง่ายขึ้น แต่ก็ไม่เร็วเท่าฉาบด้วยมือเท่าไหร่ การฉาบดินด้วยมือก็เร็วดีแต่ต้องฉาบสองรอบ รอบแรกฉาบด้วยดินเหลวมากทิ้งให้แห้งประมาณครึ่งชั่วโมแล้วใช้ดินที่เหนียว ขึ้นฉาบตามหลัง ถ้าใช้ดินเหนียวฉาบรอบเดียวจะยากมากเพราะดินฉาบไม่ค่อยติดกับฟาง
ส่วนผสมของซีเมนต์ฉาบ ส่วนมากจะใช้ปูนซีเมนต์ 1 ส่วนผสมกับทราย 2-3 ส่วน ขนาดที่พอดีฉาบง่ายแล้วไม่ร้าวบางคนอาจจะผสมใยหินเข้าไปด้วยเพื่อลดการร้าว และทำให้แข็งขึ้นแต่ใยหินก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก ส่วนผสมของดินฉาบ ก็มีหลายสูตร แต่ที่ง่ายที่สุดคือ ใช้ดินดินที่มีในพื้นที่ผสมกับแกลบหรือทรายเข้าไปลองฉาบดูถ้าไม่มีรอยร้าวก็ ใช้ได้ แต่ถ้าอยากให้แน่นอนมากขึ้นก็อาจจะต้องใช้สูตรตวงดินเหนียวมากๆ 1 ส่วนผสมทราย 3 ส่วน ก็ได้ แต่ไม่ว่าจะฉาบด้วยสูตรไหนก็ตามสิ่งสำคัญคือไม่ร้าว เพราะรอยร้าวทำให้น้ำและ ความชื้นเข้าไปถึงก้อนฟาง ทำให้เน่าได้
12. การทาสี ตอนฉาบจะเป็นอะไรก็ได้ขอให้เรียบเสมอกันไม่ร้าวใช้ได้ สิ่งสำคัญคือ สี เพราะสีคือตัวทำให้สวย และป้องกันความชื้น ป้องกันการกัดเซาะได้ ส่วนมากสีที่เราใช้คือ
ภายใน
ผสมให้เข้ากันโดยใช้แป้งมันปรับความข้น ความเหนียว ตามต้องการแป้งมันใสมากไม่เป็นปัญหา
ภายนอก
ใช้ปูนขาวแช่น้ำแล้วกรอง เอาเม็ดใหญ่ๆ หรือฝุ่นผงออกตั้งไว้ 1 คืนให้ตกตะกอนแล้วเอาเฉพาะปูนที่เป็นโคลนมาใช้แทนแป้งมัน
ผสมให้เข้ากันโดยใช้น้ำเติมได้ตาม ต้องการ เพื่อให้ความเหนียวตามชอบ การทาสีให้ทาข้างบนลงข้างล่าง ก่อนสีแห้ง ถ้าอยากให้ผนังเป็นมันใช้บัตรโทรศัพท์ หรือบัตรเครดิตเก่าๆ ที่เป็นพลาสติกบีบให้โค้งนิดนึ่ง แล้วถูให้มันตามต้องการ ข้อสำคัญ ก่อนทาสี ผนังต้องแห้งจริงๆ ไม่อย่างนั้น อาจเกิดราได้ หรือบางทีอาจทำให้สีเปลี่ยนไปได้
13. การทำพื้น เมื่อทาสีเสร็จแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการทำพื้นจะทำเป็นพื้นอะไรก็ได้ คอนกรีต กระเบื้อง พื้นดินก็ได้ แต่พื้นดินจะมีปัญหาเรื่องปลวกอยู่บ้าง แต่ราคาพื้นดินจะถูกมาก ถ้าอยู่ในที่ที่ไม่มีปลวก ให้ใช้ดินเหนียวที่มีส่วนผสมกับทราย 3-4 ส่วน หรือใช้ดินในพื้นที่ที่มีทรายปนพอดีอยู่แล้ว ก็ใช้ได้เลยนำดินไปกองไว้ในกลางห้องใส่น้ำเข้าไปเหยียบผสมให้เป็นเหมือนดิน ฉาบแต่ เหลวกว่าแล้วใช้สามเหลี่ยมที่เขาใช้กับปูนปาดให้เสมอกัน ปล่อยให้แห้งและให้มันร้าวเต็มที่ แล้วใช้ทรายละเอียดผสมกับดินเหนียว 3:1 ปาดหน้าอีกครั้งบางๆ เพื่อเติมรอยร้าวให้เต็ม ปล่อยให้แห้งจะได้พื้นที่เรียบและเสมอ ในต่างประเทศหาน้ำมันลินสีดได้ง่าย ก็ใช้น้ำมันลินสีดทาอย่างน้อย 5-6 ครั้งก็จะได้พื้นที่แข็งแรงทนทาน จากนั้นใช้ฮาร์ทแว็กซ์ขี้ผึ้งแข็งชนิดหนึ่ง ทาเคลือบให้เป็นมันเงาก็ได้ แต่ในบ้านเรานั้นหาน้ำมันลินสีดหรือฮาร์ทแว็กซ์ไม่ได้ หรือแพงเกินไป อาจใช้น้ำมันยางที่ใช้ยาเรือผสมกับดินฉาบพอใช้ได้ แต่ก็ไม่ถือว่าดีมาก ความจริงแล้วพื้นดินบ้านเรามีปัญหาพอควรโดยเฉพาะเรื่องปลวก และความไม่แข็งแรง พื้นกระเบื้องหรือพื้นคอนกรีตสบายใจกว่า
14. ย้ายเข้ามาอยู่ได้เลย บ้านก้อนฟางเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ที่มา
พันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และศูนย์เมล็ดพันธ์ ตู้ ปณ.5 อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 50150
ป้ายคำ : บ้านดิน