ประคำดีควาย ปรุงเป็นยาใช้แก้ไข้ ดับพิษร้อน

7 สิงหาคม 2557 สมุนไพร 0

มะคำดีควาย เป็นไม้ที่ขึ้นทั่วไปในป่าเบญจพรรณ โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคกลางเรียกมะคำดีควายหรือประคำดีควาย ภาคเหนือเรียกมะซักหรือส้มป่อยเทศ เป็นต้น

มะคำดีควายถือเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณสามารถนำมาใช้เป็นยาได้หลายส่วนไม่ว่าจะเป็นเปลือก ใบ เมล็ด และที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือ ผล ผลของมะคำดีควายเป็นทรงกลม มีสีดำ นำมาปรุงเป็นยาใช้แก้ไข้ ดับพิษร้อนใน และแก้หืดหอบ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sapindus emarginatus Wall.
ชื่อสามัญ : Soap Nut Tree
วงศ์ : Sapindaceae
ชื่ออื่น : ประคำดีควาย, ประคำดีกระบือ, ส้มป่อยเทศ(เชียงใหม่), ชะแซ(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), คำดีควาย(ใต้), มะซัก(เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 2-4 ใบ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-14 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ดอกแยกเพศ อยู่ต้นเดียวกัน ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบ ก้านช่อดอกมีขนปกคลุม ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบ หรือมีรอยย่นที่ผลบ้าง ผลสดสีเขียว เมล็ดเดี่ยว

ลักษณะลำต้น
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้น มีความสูงประมาณ 5 – 10 เมตร ลักษณะของ ลำต้นมีเปลือกเป็นสีน้ำตาลอมเทา พื้นผิว เปลือกค่อนข้างเรียบ เรือนยอดของลำต้นหนา ทึบ

  • ใบ : ใบอ่อนเป็นช่อ เรียงสลับกัน ช่อหนึ่งมี ใบย่อยประมาณ 5 – 9 คู่ ใบย่อยมีลักษณะ เป็นรูปหอก โคนใบสอบเข้าหากัน ส่วยปลาย ใบเรียวแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.6 – 1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 – 4 นิ้ว ใบมีสี เขียวคล้าย ๆ กับใบทองหลาง
  • ดอก : ดอกออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ออกตาม บริเวณปลายกิ่ง ลักษณะของดอกเป็นดอกเล็ก สีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน ๆ ดอกหนึ่งมีกลีบ รองกลีบดอกเล็ก ประมาณ 4 กลีบ โคนกลีบ จะเชื่อมติดกัน และมีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ กลีบข้างนอกจะมีขนสั้น ๆ สีน้ำตาลปน แดง ขึ้นประปรายและตรงกลางดอกมีเกสรตัว ผู้อยู่ 10 อัน
  • ผล : ผลมีรูปลักษณะค่อนข้างกลม ออกรวมกันเป็นพวง ขนาดของผลมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 0.6 นิ้ว ผลมีสีดำ ข้างในผลมีเมล็ด เปลือกหุ้มที่แข้ง ผลหนึ่งมี 1 เมล็ดเท่านั้น

prakamton prakamking prakamdok prakambai

ส่วนที่ใช้
: ผลแก่ และตากแดดจนแห้ง ใบ ราก ต้น เปลือก ดอก เมล็ด

prakampon prakammed

สรรพคุณ

  • ผลแก่ แก้ไข้ ดับพิษร้อนภายใน ดับพิษทุกอย่าง แก้ไข้แก้เลือด แก้หอบเนื่องจากปอดชื้น ปอดบวม แก้กาฬ แก้โรคผิวหนัง แก้พิษตานซาง แก้เสลดสุมฝีอันเปื่อยพัง แก้จุดกาฬ ผลผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคตัวร้อนนอนไม่หลับ นอนสะดุ้งผวา แก้สลบ แก้พิษ หัด สุกใส แก้ฝีเกลื่อน แก้ปากเปื่อย แก้สารพัดพิษ สรพัดกาฬ แก้ไข้จับเซื่องซึม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สารพัดไข้ทั้งปวง
  • ใบ มีสรรพคุณแก้พิษกาฬ ดับพิษกาฬ
  • ราก ใช้แก้ริดสีดวงมองคร่อ แก้หืด หรือ ใช้รากผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้แก้ฝีในท้อง
  • ต้น แก้ลมคลื่นเหียน
  • เปลือกต้น มีสรรพคุณแก้กระษัย แก้พิษร้อน แก้พิษไข้ หรือ ใช้เปลือกต้นผสมในตำรับยากับสมุนไพรอื่นใช้แก้ฝีหัวคว่ำ ฝีอักเสบ
  • ดอก ใช้แก้พิษ เม็ดผื่นคัน
  • เมล็ด ใช้แก้โรคผิวหนัง

วิธีใช้และปริมาณ

  • ผลประคำดีควาย สุมให้เป็นถ่าน แล้วปรุงเป็นยารับประทาน
  • ผลประคำดีควาย ใช้รักษาชันนะตุหัวเด็กได้ ผลต้มแล้วเกิดฟอง สุมหัวเด็กแก้หวัด แก้รังแค ใช้ซักผ้าและสระผมได้
  • โดยเอาผลประมาณ 5 ผล ทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ทาที่หนังศีรษะ ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย ข้อควรระวัง : เวลาสระ ต้องระวังอย่าให้น้ำจากลูกมะคำดีควายเข้าตา เพราะจะทำให้ตาอักเสบ และไม่ควรใช้บ่อย เพราะจะทำให้ผมร่วง
  • แก้ชันนะตุ นำเนื้อของผลมะคำดีควาย 1 ลูก แกะแล้วตีกับน้ำสะอาดจนเกิดฟอง เอาฟองที่ได้สระล้างหนังศรีษะเด็กที่เป็นชันนะตุ แผลพุพอง ใช้เพียง 4 5 ครั้ง หรือใช้ผล 4-5 ผลทุบพอแตก ต้มกับน้ำประมาณ 1 ถ้วย ปล่อยไว้ให้เย็น ใช้ทาที่หนังศรีษะที่เป็นชันนะตุ วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น

prakamchor
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของประคำดีควาย

  • ฆ่าหอย พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด
  • ทำให้แท้ง ต้านฮอร์โมนเอสโตรเจน ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจน เป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ ยับยั้งการหดเกร็งของมดลูก กระตุ้นการบีบตัวของมดลูก ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก
  • ต้านการสร้างอสุจิ ฆ่าอสุจิ
  • ต้านเชื้อรา เชื้อไวรัส
  • ลดการอักเสบ
  • ทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • ต้านการชัก เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ
  • ชะลอการออกจากไข่ของแมลง
  • มีฤทธิ์เบื่อปลา
  • ยับยั้งเชื้อราที่ก่อโรคในพืช

prakamngog

prakamkla

ความเป็นพิษของประคำดีควาย
จากการทดสอบของความเป็นพิษ โดยการใช้สารที่สกัดจากผลด้วยแอลกอฮอล์ ปริมาณ 50% ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม โดยการทดลองฉีดเข้าใต้ผิวหนังในขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายครึ่หนึ่งคือ 2.0 กรัม/กิโลกรัม ปรากฏว่าไม่พบอาการพิษ

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น