ประยงค์ หรือ กระยง คือความยืนยง ความมั่นคงหรือความอยู่ยงคงกระพัน ประยงค์ เป็นพรรณ ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นและใบคล้ายกับต้นแก้ว แต่การแตกใบของประยงค์จะออกตามปลายกิ่งหนาแน่นและเป็น ช่อดอกออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง มีกลีบดอก 5-6 กลีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia odorata Lour
วงศ์ : Meliaceae
ชื่ออื่น : ขะยง ขะยม พะยงค์ ยม (ภาคเหนือ) ประยงค์ใบใหญ่ (ภาคกลาง) หอมไกล (ภาคใต้)
ลักษณะ
ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น เปลือกต้นเรียบ สีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบมน โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ก้านใบแผ่ออกเป็นปีก ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีเหลือง กลีบดอกมี 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นรูปทรงกลมไม่บาน ผล รูปทรงกลมรี ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเหลืองอ่อน ผลสุกสีแดง เมล็ดเดี่ยว สีน้ำตาล
สรรพคุณ
ดอก – ช่วยเร่งการคลอด แก้อาการเมาค้าง ฟอกปอด ทำให้หูตาสว่าง แก้ร้อนดับกระหาย อึดอัดแน่นหน้าอก ไอ วิงเวียนศีรษะ ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง
ก้านและใบ – แก้แผลบวมฟกช้ำ จากการหกล้ม หรือถูกระทบกระแทก ฝีมีหนองทั้งหลาย
ดอก หรือก้านและใบ แห้ง 3-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก เคี่ยวให้ข้น ใช้ทาแผลบวมฟกช้ำ
เพื่อเป็นสิริ มงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูก ต้นประยงค์ ไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ นิยมปลูกในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ชอบดินร่วนซุยไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค และศัตรูเพราะ เป็นไม้ที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติได้ดี
ป้ายคำ : ไม้ประดับ