ปรีชา บุญท้วม หรือน้าอ๋อย ผู้นำความรู้เรื่องดินหอมมาเผยแพร่สู่ชุมชนเขาชะเมา เริ่มจากเป็นเกษตรชาวสวนที่ใช้สารเคมีอย่างหนัก กระทั่งประสบกับปัญหาสุขภาพอย่างรุนแรง หนี้สินล้นพ้นตัว ต้นไม้โทรมอย่างรวดเร็ว โรคและแมลงเพิ่มสูงขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ และปุ๋ยหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี หลังจากเข้ารับการฝึกอบรมจาก อ.วิทูร ชินพันธุ์ ผู้เผยแพร่เรื่องราใบไม้สีขาวและจุลินทรีย์พื้นบ้านในเมืองไทย หลังจากน้าอ๋อยลองผิดลองถูกกับน้ำหมักและปุ๋ยหมักจุลินทรีย์พื้นบ้านกระทั่ง ประสบความสำเร็จกับดินหอม เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเกษตรกร จนก่อตั้งเป็นกลุ่มเกษตร ส.ป.ก.พัฒนา(เขาชะเมา) ปัจจุบันน้าอ๋อยได้รับเลือกให้เป็นปราชญ์เกษตรฯ ส.ป.ก. และยังเป็นอาจารย์ผู้ฝึกสอนประจำกลุ่มอีกด้วย จุลินทรีย์พื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น มีความเหมาะสมแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ อาหาร ที่อยู่ และการต้านทานโรคของจุลินทรีย์ ดังนั้นเมื่อใช้จุลินทรีย์พื้นบ้านย่อมได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรงและเหมาะที่ จะทำงานในสภาพแวดล้อมนั้นๆ จุลินทรีย์ที่เลือกมาจะมีคุณสมบัติ ต้องการออกซิเจน อาศัยอยู่ในที่สะอาด ร่ม โปร่ง แห้ง ไม่เปียกน้ำหรือชื้นแฉะ โดยทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในดิน ปลดปล่อยแร่ธาตุและสารอาหารคืนสู่ดิน เมื่อดินมีชีวิตจะเกิดความสมบูรณ์ขึ้น จุลินทรีย์ที่ใช้คือ ราใบไม้สีขาวจะพบมากใต้กอไผ่ กองใบก้ามปู และในกอกล้วย
“ปรีชา บุญท้วม”เริ่มจากการเป็นเกษตรชาวสวนที่ใช้สารเคมีอย่างหนัก กระทั่งมีปัญหาสุขภาพรุนแรง หนี้สินล้นพ้นตัว ต้นไม้โทรมอย่างรวดเร็ว โรคและแมลงเพิ่มสูงขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ และปุ๋ยหมักชีวภาพแทนการใช้สารเคมี หลังจากเข้ารับการฝึกอบรมจาก อ.วิทูร ชินพันธุ์ ผู้เผยแพร่เรื่องราใบไม้สีขาวและจุลินทรีย์พื้นบ้านในเมืองไทย และลองผิดลองถูกกับน้ำหมักและปุ๋ยหมักจุลินทรีย์พื้นบ้านกระทั่ง ประสบความสำเร็จกับดินหอม เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเกษตรกร จนก่อตั้งเป็นกลุ่มเกษตรส.ป.ก.พัฒนา(เขาชะเมา) ที่มีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อพึ่งพาตนเอง ปัจจุบันได้รับเลือกให้เป็นปราชญ์เกษตรฯส.ป.ก. และยังเป็น อาจารย์ผู้ฝึกสอนประจำกลุ่มอีกด้วย
จุลินทรีย์พื้นบ้านในแต่ละท้องถิ่น มีความเหมาะสมแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ อาหาร ที่อยู่ และการต้านทานโรคของจุลินทรีย์ ดังนั้นเมื่อใช้จุลินทรีย์พื้นบ้านย่อมได้จุลินทรีย์ที่แข็งแรงและเหมาะที่ จะทำงานในสภาพแวดล้อมนั้น ๆ จุลินทรีย์ที่เลือกมาจะมีคุณสมบัติ ต้องการออกซิเจน อาศัยอยู่ในที่สะอาด ร่ม โปร่ง แห้ง ไม่เปียกน้ำหรือชื้นแฉะ โดยทำงานร่วมกับสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้ดินร่วนซุยมีการระบายน้ำและอากาศได้ดี ย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในดิน ปลดปล่อยแร่ธาตุและสารอาหารคืนสู่ดิน เมื่อดินมีชีวิตจะเกิดความสมบูรณ์ขึ้น จุลินทรีย์ที่ใช้คือ ราใบไม้สีขาวจะพบมากใต้กอไผ่ กองใบก้ามปูและในกอกล้วย
วิธีการเก็บจุลินทรีย์พื้นบ้านราใบไม้สีขาว,โรคพืชและการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติ
วิธี การเก็บจุลินทรีย์พื้นบ้านราใบไม้สีขาว เริ่มด้วยการล้างและฆ่าเชื้อภาชนะที่จะใส่ ด้วยการลวกน้ำร้อน แล้วนำข้าวสุกที่หุงไม่แฉะใส่กล่องพลาสติก ปิดปากด้วยกระดาษขาวหรือน้ำตาลล้วน มัดด้วยหนังยางพับชายให้เรียบร้อย นำกล่องพลาสติกไปวางในกองใบไม้บริเวณที่มีราใบไม้สีขาวอยู่มากๆ ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คลุมกล่องพลาสติกกันเปียกด้วยแผ่นพลาสติก และครอบด้วยตระกร้า วางไว้ 2-3 วัน และหากมีราใบไม้สีขาวเกิดขึ้นจะเห็นใยสีขาวฟูเป็นปุยสะอาด ขึ้นคลุมข้าวอยู่ แต่ถ้ามีสีอื่นปนให้เททิ้งแล้วเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อจุลินทรีย์พื้นบ้าน นำข้าวที่ถูกราใบไม้สีขาวคลุมใส่ลงในภาชนะทึบแสง แห้ง และสะอาด ปากกว้างพอล้วงมือเข้าไปได้ โรยน้ำตาลทรายแดงผง น้ำหนักเท่ากับข้าว คลุกให้ข้าวกับน้ำตาลเข้ากันจะได้ของเหลวสีแดงเข้ม เหลือพื้นที่ครึ่งหนึ่งให้จุลินทรีย์หายใจ ปิดปากภาชนะด้วยกระดาษ มัดด้วยหนังยางวางในที่ร่ม 3-5 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์พื้นบ้านที่เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง เป็นเมือกสำหรับทำรำหมักต่อไป ทำรำหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน เตรียมโรงเรือนที่มีหลังคาห่างกองขยะสิ่งปฏิกูล ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและสัตว์เลี้ยง ผสมรำอ่อนและรำหยาบอย่างละครึ่ง เทใส่ภาชนะที่แห้งสนิทและสะอาด นำหัวเชื้อราใบไม้สีขาวละลายน้ำอัตราส่วน 1 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร โชยน้ำที่เตรียมลงบนกองรำทีละน้อย ใช้มือคลุกเคล้าให้เข้ากันจนได้ความชื้น 65% ทดสอบโดยใช้มือกำรำเบาๆ แล้วแบมือออก รำคงรูปเป็นก้อนแต่ต้องไม่มีน้ำไหลออกถือว่าใช้ได้ กองรำเป็นหลังเต่าสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร บนพลาสติก คลุมด้วยกระสอบป่าน ปักเทอร์โมมิเตอร์ตรงกลางลึกครึ่งกอง ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เกิน 64 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิเกิน 60 เซลเซียส ให้เปิดวัสดุคลุมออกหรือพรมน้ำเล็กน้อย ห้ามกลับกองรำเพราะจะเป็นการรบกวนจุลินทรีย์ แล้วหมักจนอุณหภูมิลดลง ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน สามารถนำไปทำดินหมักหรือเก็บใส่ตะกร้าพลาสติกไว้ได้ทั้งปี การทำดินหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน เตรียมสถานที่เช่นเดียวกับการทำรำหมัก อัตราส่วนการเตรียมดินหมัก รำหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน 1 ส่วน ต่อหน้าดิน 1 ส่วน แกลบดำ 1 ส่วน (ถ้ารำหมักจับตัวเป็นก้อนควรทุบหรือบดเป็นผงก่อน หน้าดินใช้ดินในแปลงที่จะเพาะปลูก) คลุกเคล้าหน้าดินกับแกลบดำให้เข้ากันก่อนจึงเติมรำหมักลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน พรมน้ำให้ทั่วคลุกเคล้าให้ได้ความชื้น 65% ทำกองดินเป็นหลังเต่าสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตรบนพลาสติก และคลุมด้วยกระสอบป่าน ดั่งการทำรำหมักจุลินทรีย์พื้นบ้าน อุณหภูมิจะค่อยๆลดลงภายใน 3 สัปดาห์ จึงนำไปใช้ได้ การเก็บรักษาควรเก็บดินหมักใส่กระสอบปุ๋ย
โรคพืชและการรักษาด้วยวิธี ธรรมชาติ ทุเรียน โรคหลักของทุเรียนที่ทำความสูญเสียให้เกิดกับผลทุเรียน เปลือกเน่า เนื้อทุเรียนเน่าเสียเป็นพู ทำให้ขายม่ได้ราคา ชาวสวนเรียกกันว่า ราท็อป หรือ ไฟท็อป ใช้พืชที่มีรสฝาดหาได้ง่าย เช่น หมาก เปลือกไม้ต่างๆ นำมาหมักเอาน้ำฝาดออกมาใช้ป้องกัน และรักษาโรคนี้ได้อย่างดี โรคราโคนเน่า รากเน่า เปลือกแตกยางไหล ก็ใช้ได้เหมือนกัน ใช้ในอัตรส่วน น้ำหวานจากสมุนไพรหมักที่มีรสฝาด 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น และรดที่โคนต้นให้ทั่วจะป้องกันได้เหมือนกับโรคราท็อป หนอนเจาะต้นทุเรียนป้องกันได้ โดยใช้น้ำหวานจากหนอนตายหยากหมัก หรือหมาหลง ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นทุก 5-7 วัน ใช้อัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร จะไล่หนอนได้ เงาะ แมลง 6 ขา กัดตาดอกและช่อดอก เพลี้ยแป้ง เกาะลูกเงาะทำให้หลุดร่วง หรือสีของผลไม่สวย ราน้ำค้าง ทำให้ไม่ติดดอกและผลจะกลายเป็นขี้ครอก วิธีการรักษา ใช้ใบน้อยหน่า กะทกรก ตะไคร้หอม และไม้ฝาดชนิดต่างๆ นำมาหมัก (แยกหมัก) แล้วเอาน้ำหวานหมักที่ได้มารวมกัน ใช้ฉีดพ่นในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร มังคุด เพลี้ยไฟไรแดง วิธีการรักษา ใช้กะทกรก ข่า ขมิ้นชัน นำมาหมัก (แยกหมัก) ฉีดพ่นในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ลองกอง พยาธิลำต้น หรือขี้กลากลำต้น วิธีการรักษา ใช้น้ำหวานหมักที่ได้จากกะเพียดหรือหนอนตายหยาก ตะไคร้หอม นำมาหมัก (แยกหมัก) ฉีดพ่นที่ลำต้นในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ยางพารา หน้ายางตาย ทาด้วยน้ำหวานหมักตำรับทาหน้ายางทุก 15 วัน ช่วยหน้ายางคืนสภาพป้องกันโรครา หน้ายางที่ตายแล้วจะมีเปลือกชุดใหม่ออกมาแทนกลับมากรีดได้อีก โรคและแมลง โรคราลงใบ (ช่วงใบร่วงแล้วผลิใบอ่อน) จะเป็นราและเพลี้ยไฟไรแดง พยาธิไชโคนยาง ทำให้ยางหน้าตาย หน้าเน่า ถ้าหน้ายางเน่าให้ใช้ฝาดจากหมากรักษาด้วยการหมักเอาน้ำ ทาที่รอยกรีดจะรักษาได้ เพลี้ยลงใบ ใช้น้ำหวานจากกะทกรกหมักป้องกันได้ พยาธิไชโคน ใช้กะเพียดหรือหนอนตายหยาก หมักเอาน้ำหวานเจือจางน้ำราดที่โคนต้นจะฆ่าพยาธิได้เป็นอย่างดี ยางจะคืนสภาพได้เร็ว ถ้าไม่มีกะเพียด (หนอนตายหยาก) ให้ใช้ฝักราชพฤกษ์ (คูน) แทนได้
ที่อยู่
เลขที่ 81 หมู่ที่ 1 บ้านคลองหิน ตำบลห้วยทับมอญ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง 21110
ป้ายคำ : ปราชญ์