ปอแก้วเป็นปอพื้นเมืองซึ่งปลูกกระจัดกระจายในแอฟริกาและอินเดีย มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันตกของประเทศซูดานเป็นพืชให้เส้นใยที่ได้จากเปลือกของลำต้น รู้จักกันดีในอียิปต์และอินเดียมาหลายศตวรรษแล้วต่อมาปลูกกันแพร่หลายในทวีปเอชีย อเมริกาใต้และแอฟริกา ใช้เปลือกทำเส้นใย สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอ ปอแก้วมักใช้แทนหรือปนกับเส้นใยจากปอกระเจาในการทอกระสอบ ทำเชือก หรือพรม หรือใช้ทำสิ่งทอในการหัตถกรรม เทียบกับเส้นใยจากปอกระเจา เส้นใยจากปอแก้วไม่สามารถทอให้เป็นเส้นเล็กๆ ได้เท่ากับเส้นใยจากปอกระเจา และถึงแม้ว่าปอแก้วจะมีลักษณะที่ดูดีกว่า ราคาของปอแก้วมักจะต่ำกว่าเส้นใยจากปอกระเจาเล็กน้อย
ปอแก้วแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ปอแก้ว ไทย (Thai Kenaf or roselle) หรือที่เรียกว่า “ปอแก้ว” ในปัจจุบัน และปอคิวบา (Cuban Kenaf) ปอแก้ว และปอคิวบา เป็นพืชในวงศ์มัลวาซีอี (Malvaceae) เช่นเดียวกับฝ้าย และอยู่ในสกุลเดียวกันคือ ไฮบิสคุส (Hibiscus) แต่ต่างชนิดกัน
๑. ปอแก้ว
ปอแก้วเป็นปอพื้นเมือง ซึ่งปลูกกระจัดกระจายในแอฟริกา และอินเดีย มีถิ่นกำเนิดในแถบตะวันตกของประเทศซูดาน เป็นพืชให้เส้นใยที่ได้จากเปลือกของลำต้น รู้จักกันดีในอียิปต์ และอินเดีย มาหลายศตวรรษแล้ว ต่อมาปลูกกันแพร่หลายในทวีปเอเชีย อเมริกาใต้ และแอฟริกา ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ ดร.วิลเลียม ล็อกซ์เบิร์ก (Dr.William Loxberg) ได้นำมา ทดลองปลูกตามบริเวณฝั่งทะเลโคโรแมนเดล ของอินเดีย และที่สวนพฤกษชาติของกัลกัตตา เชื่อว่า แหล่งกำเนิดอุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยจากปอแก้ว ได้เกิดขึ้นในอินเดียเป็นแห่งแรก ในพ.ศ. ๒๔๕๗ พีเจ เวบสเตอร์ (P.J. Webster) ได้ค้นคว้าพบว่า ปอแก้วที่ปลูกกันมากทาง โกลด์โคสต์ (Gold coast) ของแอฟริกาตะวันตก มีลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขาน้อยมาก จึงตั้ง ชื่อย่อยว่า แอลติสซิมา (Var. altissima) ซึ่งได้ปลูกแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทย เพื่อใช้ผลิตกระสอบบรรจุธัญพืชและน้ำตาลทราย
ปอแก้วมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไฮบิสคุส ซับดาริฟฟา (Hibiscus sabdariffa) มีชื่อพื้นเมืองเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่นที่ปลูก เช่น โรแซลล์ (roselle) ปูซาเฮมพ์ (pusa hemp) และชันนี (channi) เป็นต้น ปอแก้วมี ๒ ชนิดคือ ชนิดที่ ใช้กลีบรองดอกเป็นอาหารที่เรียกว่า กระเจี๊ยบ และชนิดที่ใช้เปลือกทำเส้นใย
๒. ปอคิวบา
ปอคิวบามีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาแถบแองโกรา ซึ่งภูมิประเทศมีลักษณะร้อนชื้นอยู่ระหว่างเส้นละติจูด ๔๐ – ๔๘ เหนือ แล้วต่อมาจึงกระจัดกระจายออกไปแถบรัสเซีย และแมนจูเรีย จนถึงเส้นละติจูด ๓๐ใต้
การนำพันธุ์เข้ามาปลูกในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปอแก้วนั้น ค้นคว้าหลักฐานไม่พบ เท่าที่ทราบครั้งแรกเรียกกันว่า ปอแก้วจีน สันนิษฐานว่า คงมีผู้นำมาจากประเทศจีนหรือไต้หวันเป็นครั้งแรก แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นปอแก้วไทย และเป็นปอแก้วในปัจจุบัน ส่วนการนำพันธุ์ปอแก้วมาทดลองปลูก เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรีย์ จันทรสถิตย์) นำมาปลูกทดสอบพันธุ์ที่โรงเรียน เกษตรกรรมโนนวัด (เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีทดลอง พืชไร่โนนสูง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันได้ยุบสถานีไปแล้ว) ซึ่งขณะนั้นสังกัด อยู่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๓ ประเทศไทยได้เริ่มปลูก ปอแก้วกันเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเนื้อที่ปลูกประมาณ ๓๑,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผลประมาณ ๔,๗๐๐ ตัน
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ นายเริ่ม บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมกสิกรรม ได้นำเมล็ดพันธุ์ปอคิวบา จำนวน ๑๐๘ สายพันธุ์จากสหรัฐอเมริกา เข้ามาทดลองปลูกในประเทศไทย มอบหมายให้ กองการค้นคว้า และทดลอง (ปัจจุบันเป็นสถาบัน วิจัยพืชไร่) กรมกสิกรรม ทำหน้าที่ค้นคว้า ทดลองเพื่อหาพันธุ์ดีใช้ในการส่งเสริม
ปอคิวบามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ไฮบิสคุส คานาบินุส ลินเนียส (Hibiscus Canabinus Linnaeus) มีชื่อพื้นเมืองเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น ที่ปลูก เช่น เคนัฟ (kenal) เดคคานเฮมพ์ (deccan hemp) บิมลิพาตัม (bimlipatam) และเมสตา (mesta) เป็นต้น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus spp.
วงศ์ : Malvaceae
ชื่อสามัญ : Kenaf , Hemp hibiscus
ชื่ออื่น : ปอด้าย (ภาคเหนือ)
ลักษณะ
ปอแก้ว หรือ kenaf เดิมหมายถึง Hibiscus cannabinus เท่านั้น แต่ปัจจุบันอาจรวามไปถึงพืชวพก Hibicus sabdariffa (โดยเฉพาะพวกที่เส้นใยมักเรียกว่า H. sabdariffa var. altissima ) พืชทั้งสองชนิดมีชื่อพื้นเมืองต่างๆ กัน เช่น mesta , Bimlipatam jute หรือ Bimli roselle (โดยเฉพาะพวกที่มีกิ่งแขนงสั้นๆ และใช้ดอกเป็นอาหารได้) นอกจากนี้ อาจเรียก Siamese or Thai jute, Java jute, teal, gambo, papoula-de-sao-francisco และจะยังอาจมีชื่ออื่นๆ อีก
ปอแก้วมีลำต้นตรงไม่แตกกอ สูงประมาณ 4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนต้นประมาณ 8-25 มิลลิเมตร มักไม่มีกิ่งแกขนงเมื่อปลูกในระยะชิดกันเพื่อผลิตเส้นใย พันธุ์ต่างๆ อาจมีสีของลำต้นต่างกัน เช่น เขียว แดง หรือม่วง ปอแก้วทั้งสองชนิดมีดอกสีเหลืองอ่อน และมีสีม่วงแดงตรงกลางดอก แต่อาจมีบางพันธุ์ซึ่งมีสีแตกต่างจากที่กล่าว
H.cannabinus อาจมีใบแบบซิมเปิลลีฟ หรือ พาลเมท ซึ่งจะออกสลับกันบนลำต้น แต่ปกติแล้วใบที่ฐานจะเป็นแบบซิมเปิลลีฟ ฝักมีลักษระทรงกระบอกและมีขน มีเมล็ดประมาณ 18-20 เมล็ด ต่อฝัก เมล็ดมีสีเทา ลักษณะคล้ายไต มีน้ำหนักประมาณ 1 กรัม ต่อ 35-40 เมล็ด
H. sabdariffa มีดอกสีค่อนข้างเหลืองเข้มกว่าพวก H. cannabinus และมีขนาดเล็กกว่า มีใบแบบพาลเมทค่อนข้างกลม แต่ใบที่ฐานจะมีลักษณะเป็นแบบซิมเปิลลีฟ ใบจะออกสลับกันบนลำต้น เมล็ดมีสำน้ำตาลไหม้ มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1 กรัมต่อ 60 เมล็ด
แหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศ
ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ขอนแก่น สุรินทร์ นครราชสีมา และยโสธร
ประเภทและพันธุ์
ปอแก้วที่ใช้ปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ ทั้งพันธุ์เบา พันธุ์กลางและพันธุ์หนัก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่นำมาจากต่างประเทศ บางพันธุ์ก็เป็นพันธุ์แท้ บางพันธุ์เป็นลูกครึ่งผสม ซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ที่ได้คัดเลือกไว้ มีลูกผสมจำนวนน้อยซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ พันธุ์ปอแก้วที่แนะนำให้ใช้ปลูกในปัจจุบัน มีดังนี้
วิธีปลูกและระยะการปลูก
การปลูกทำได้หลายวิธีตามลักษณะพื้นที่ การเตรียมดิน และแรงงานที่มีอยู่คือ
เมื่อปอมีอายุ 12-20 วัน ถอนแยกให้เหลือระยะระหว่างต้นประมาณ 5 เซนติเมตร ควรทำเมื่อดินมีความชื้นพอประมาณหรือภายหลังฝนตก ส่วนใหญ่จะถอนแยกไปพร้อมกับการกำจัดวัชพืชระหว่างแถว ข้อควรระวังคือ ไม่ควรทำในระยะที่ดินแห้งหรือฝนแล้ง เพราะจะกระทบกระเทือนรากทำให้ต้นแคระแกร็นหรือตายได้
การใส่ปุ๋ย ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ปลูกปอแก้วส่วนใหญ่มีสภาพเป็นที่ดอน ดินร่วนปนทราย หรือดินทรายปนดินเหนียว ซึ่งมีการชะล้างค่อนข้างสูงกว่าชนิดอื่น ยิ่งถ้าพื้นที่ลาดเอียงด้วยแล้วจะทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินสูงขึ้น ฉะนั้นควรไถพรวนให้น้อยครั้งแต่ให้หน้าดินโปร่งอยู่เสมอ เพื่อให้น้ำฝนซึมลงได้สะดวก การพรวนดินตื้นๆ โดยใช้ใบมีดลากหน้าดินเป็นการรักษาดินให้โปร่ง ขณะเดียวกันก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วยนอกจากนั้นยังไม่ทำลายชั้น อินทรียวัตถุและเป็นการรักษาความชุ่มชื้นของดินไว้ได้นานอีกด้วย
ดินที่ปลูกปอแก้วติดต่อกันหลายๆ ปี โดยไม่มีการใส่ปุ๋ยหรือใส่น้อยมาก จะทำให้ธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืชลดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชและทำให้ผลผลิตลดลงทุกปี และประการสำคัญที่สุดจะทำให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดินเลวลงด้วย ดินที่ปลูกปอแก้วส่วนใหญ่จะมีสภาพเป็นกรด เนื่องจากฝนได้ชะล้างธาตุอาหารพวกพืชพวกประจุบวกออกไป และแทนที่ด้วยไฮโดรเจนไอออน การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพวกแอมโมเนียมและไนเตรท ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดทุกๆ ปี จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารต่างๆ ให้แก่ดิน และปรับปรุงคุณสมบัติของดินได้ดีขึ้น เช่นทำให้มีการถ่ายเทอากาศและระบายน้ำได้ดี การใส่ปุ๋ยบำรุงดินนั้นอาจกระทำได้โดยใช้ปุ๋ยต่างๆ ดังต่อไปนี้
จากการศึกษาการดูดธาตุอาหารจากดินของปอแก้วไทย พบว่า ปอแก้วจะดูดธาตุอาหารหลักจากดินมาใช้ในการสร้างต้น ใบ และเส้นใย ในอัตรา 11.3 กิโลกรัมไนโตรเจน 2.6 กิโลกรัมฟอสฟอรัส และ 25.6 กิโลกรัมโพแทสเซียมต่อไร่
การควบคุมวัชพืช
ในระยะแรกปอแก้วจะเจริญเติบโตเร็วมาก หากปลูกได้ถูกต้องตามฤดูกาลและดินฟ้าอากาศอำนวย ในระยะที่ปอแก้วสูง 10-20 เซนติเมตร ควรกำจัดวัชพืชและพรวนดิน 1 ครั้ง และเมื่อปอแก้วมีความสูง 40-50 เซนติเมตร ควรกำจัดวัชพืชและพรวนดินอีกครั้งก็พอ หากปอแก้วไม่ได้รับการใส่ใจและปฏิบัติรักษาดีเท่าที่ควรแล้ว ผลผลิตที่ได้จะต่ำและทำให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้สะดวกด้วย การป้องกันและกำจัดวัชพืช สำหรับปอแก้วทำได้ 2 วิธีคือ
การเก็บเกี่ยวและการแยกเส้นใย
การตัดต้นปอแก้วเพื่อให้ได้เส้นใยที่ดีนั้นควรพิจารณาจากอายุ ความสูง และระยะออกดอกเป็นหลัก การใช้อายุเป็นหลักนั้น พันธุ์เบาควรตัดเมื่ออายุ 90-120 วัน พันธุ์หนักตัดเมื่ออายุ 140-160 วัน หากการเจริญเติบโตของปอแก้วสมบูรณ์ตามปกติควรตัดเมื่อต้นสูง 1.5 เมตรขึ้นไป อายุปอแก้วซึ่งใช้ลำต้นฟอกเป็นเส้นใย ควรตัดเมื่ออายุ 160-180 วัน ซึ่งเป็นระยะปอแก้วออกดอกแล้ว ส่วนปอคิวบาอายุเก็บเกี่ยวจะสั้นกว่า ซึ่งสามารถตัดได้เมื่ออายุ 110-130 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวันปลูก โดยทั่วไปแล้วถ้าตัดปอแก้วเมื่อเริ่มมีดอกไปจนถึงระยะที่เริ่มมีฝักอ่อนจะ ได้ผลผลิตของเส้นใยดี มีสีเป็นเงางามและเหนียวแน่น ถ้าหากตัดปอแก้วที่มีอายุอ่อนเกินไปจะได้ปริมาณของเส้นใยน้อย ไม่เหนียวแน่น เปื่อยและขาดง่าย แต่ถ้าหากตัดปอแก้วซึ่งมีอายุแก่เกินไปจะได้เส้นใยหยาบแข็งกระด้างเปราะ และไม่เงางามอันเป็นลักษณะของเส้นใยปอแก้วที่มีคุณภาพต่ำ เมื่อนำไปทอกระสอบจะไม่มีความต้านทานต่อการรับน้ำหนัก กระสอบจะขาดหรือรั่วได้ง่าย
การตัดควรตัดให้ชิดพื้นดิน แล้วมัดเป็นกำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ควรแยกเป็นพวกตามขนาดและความยาวของลำต้น โดยมัดต้นเล็กหรือต้นใหญ่ซึ่งมีความยาวเท่ากันแยกเป็นพวกๆ ถ้าปอแก้วสูงขนาด 1 เมตรขึ้นไปควรมัด 3 เปลาะ ถ้าสูง 2 เมตรขึ้นไปควรมัดเพียง 2 เปลาะ แล้วนำไปแช่น้ำหรือขูดเปลือกออกทันที หรือจะทิ้งไว้ในไร่ 3-4 วัน เพื่อให้ใบร่วงก่อนแล้วนำไปแช่น้ำภายหลังก็ได้เช่นเดียวกับปอกระเจาซึ่งจะทุ่นแรงในการขนและประหยัดเนื้อที่แช่ลงบ้าง อย่างไรก็ตามไม่ควรทิ้งไว้ในไร่นานเกินควรจนต้นแห้งจะทำให้การฟอกเพื่อลอกเส้นใยออกจากลำต้นยากและให้เส้นใยมีคุณภาพต่ำ
วิธีแยกเส้นใยออกจากต้นทำได้หลายวิธีดังต่อไปนี้
1. การลอกเปลือกสดออกจากต้นแล้วตากเส้นใยให้แห้ง เส้นใยที่ได้เรียกว่าปอกลีบแห้ง (dry ribbon fiber) วิธีนี้มักทำกันเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัวเป็นส่วนมาก เส้นใยชนิดนี้ใช้สำหรับมัดของแทนเชือกโดยทั่วไปแล้วปอกลีบแห้งมีราคาต่ำกว่าปอฟอก ในหนึ่งวันชาวไร่สามารถลอกเปลือกสดออกจากต้นได้ 18-20 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อทำเป็นปอกลีบแห้งจะได้น้ำหนักราว 4 กิโลกรัม เป็นอย่างสูง
2. การลอกเปลือกสดออกจากต้นแล้วขูดผิวออกให้เหลือแต่เส้นใยแล้วตากแดดให้แห้ง เส้นใยที่ได้เรียกว่า ปอกลีบขูดผิวหรือเส้นใยปอขูด (decorticated fiber) วิธีนี้ชาวไร่ไม่นิยมกระทำกันเพราะเส้นใยชนิดนี้ราคาขายถูกกว่าเส้นใยปอฟอก การขูดผิวออกนั้นอาจจะใช้มีดขูดออกซึ่งต้องเปลืองแรงงานและทำได้ช้ามาก ต่อมาได้ใช้เครื่องขูดโดยใช้แรงงานจากเครื่องจักรแทน ซึ่งนับว่าสะดวกและทุนแรงได้มากแต่คุณภาพของเส้นใยชนิดนี้สู้ปอฟอกไม่ได้ ในแง่อุตสาหกรรมแล้วถ้าหากใช้เส้นใยปอขูดผิวกับเส้นใยปอฟอกผสมกันในการทอกระสอบ จะได้กระสอบที่มีคุณภาพดีกว่าการใช้เส้นใยปอฟอกแต่อย่างเดียว
เครื่องขูดปอแก้วมีหลายแบบด้วยกัน บางชนิดใช้ขูดปอแก้วได้ทั้งต้น บางชนิดก็หีบเอาแกนต้นปอออกเสียก่อน แล้วจึงนำเปลือกสดไปเข้าเครื่องขูดอีกทีหนึ่ง โดยมีท่อน้ำฉีดเพื่อล้างเมือกของเส้นใยขณะขูดด้วยประสิทธิภาพของเครื่องขูด ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของเครื่องตลอดจนความชำนาญของผู้ใช้ โดยเฉลี่ยแล้วปอแก้วไทยต้นสด 100 กิโลกรัม จะใช้เวลาขูด 19.2 นาที ได้น้ำหนักเส้นใยปอแก้วสด 13.44 กิโลกรัม เมื่อนำไปตากให้แห้งจะได้น้ำหนัก 4.77 กิโลกรัม
3. การลอกเปลือกสด (fresh ribbon) ออกแล้วนำไปแช่ฟอก เส้นใยที่ได้เรียกว่า ปอกลีบสดฟอก วิธีนี้เป็นวิธีประหยัดเนื้อที่แช่ หลังจากตัดต้นสดแล้วใช้ไม้ทุบโคนต้นให้แตกเสียก่อนเพื่อความสะดวกในการลอก เปลือกออกจากแกนลำต้น นำเปลือกสดที่ได้มามัดเป็นกำโดยมัดส่วนโคนแล้วนำไปแช่ฟอก คนงานหนึ่งคนสามารถลอกเปลือกสดได้ 30 กำต่อวัน เปลือกสดหนึ่งกำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม เมื่อนำไปแช่ฟอกจะได้เส้นใยปอฟอกประมาณ 1 กิโลกรัม
4. การแช่ปอสดทั้งต้นและฟอก เส้นใยที่ได้เรียกว่า เส้นใยปอฟอก (retted fiber) การแช่นี้เป็นงานที่ยุ่งยาก คุณภาพของเส้นใยนั้นขึ้นอยู่กับการแช่เป็นหลัก นอกจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุที่นำมาทับมัดปอ ขนาดของมัดปอ ลักษณะและปริมาณของน้ำในคู บ่อ ห้วย หนอง หรือคลองที่แช่ และความหนาของชั้นปอที่แช่อยู่ใต้ระดับน้ำ
การจัดชั้นมาตรฐานของเส้นใยปอแก้วฟอกนั้น โรงงานทอกระสอบจะพิจารณา สี ความเป็นมันเลื่อม ความเหนียวของเส้นใย และความยาวของเส้นใยเป็นหลัก เส้นใยที่มีความยาว ความเหนียวดี สีสวย และเป็นมันเลื่อมไม่มีตำหนิและเปอร์เซ็นต์เปื่อยขาดน้อยที่สุด เรียกว่าเส้นใยที่มีคุณภาพดี อย่างไรก็ตามคุณภาพของเส้นใยที่ว่าดีตามอุดมคตินั้น ก็ยากแก่การพิจารณาตัดสินเหมือนกัน
5. การใช้สารเคมีสกัดผิวและเมือกที่ปกคลุมเส้นใยออก วิธีการสกัดเส้นใยโดยใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เรียกว่า chemical extraction สารเคมีที่ใช้มี sodium hydroxide, sodium carbonate, sodium sulfate, calcium hydroxide, sodium sulfide, sodium chloride และ ethyl alcohol ระยะเวลาในการแช่ 7 วัน ก็จะได้เส้นใยที่ขาวสะอาดและมีคุณภาพ วิธีนี้นับว่าทุ่นเวลาและแรงงานมาก แต่ยังไม่เคยมีการทดลองในประเทศไทย
6. การสกัดผิวเปลือกออกจากเส้นใยโดยใช้เชื้อบักเตรี (bacteriological extraction) บักเตรีที่ใช้ได้แก่ Arthrobactor sp.,Pseudomonas sp., Aerobactor sp. หรือ Bacillus vulgatus และ Bacillus cereus วิธีนี้ใช้เวลาแช่เพียง 5 วัน ก็จะได้เส้นใยที่ขาวสะอาดและมีคุณภาพดี
7. การฝังปอแก้วทั้งต้นในดินเพื่อแยกเส้นใย วิธีการนี้พอจะอนุโลมเป็นปอฟอกได้ และเหมาะสมสำหรับไร่ปอแก้วที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำหรือหาน้ำแช่หรือฟอกปอแก้วไม่ได้ หลุมหมักควรลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ความยาวของหลุมเท่ากับความยาวของต้นปอแก้ว ส่วนความกว้างของหลุมก็แล้วแต่ปริมาณของต้นปอแก้วที่จะใช้หมัก นำต้นปอแก้วมาวางเรียงในหลุมเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นที่เรียงใช้ดินกลบบาง ๆ ส่วนชั้นบนสุดนั้นกลบปากหลุมด้วยดินให้แน่น และรดน้ำบนปากหลุมที่หมักทุกวัน เพื่อช่วยให้บักเตรีและจุลินทรีย์ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ภายหลัง 30 วัน ขุดดินออก ลอกเส้นใยจากแกนลำต้น นำไปล้างน้ำให้สะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง
ที่มาของข้อมูล :
หนังสือ พืชไร่ Guide for Field Crops in Tropics and the Subtropics Samuel C.Litzenberger
โครงการสารานุกรมไทยฯ สนามเสือป่า ถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ป้ายคำ : พืชไร่