น้ำปัสสาวะมีสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ต่อพืช คนจะถ่ายปัสสาวะประมาณวันละ 1-1.5 ลิตรจากการวิเคราะห์ปัสสาวะของคนหนึ่งคน พบสารอาหารของพืชมากมาย สารอาหารของพืชเหล่านี้สามารถนำไปปลูกพืชผักโดยแทบไม่ต้องลงทุนมากเลย น้ำปัสสาวะที่มนุษย์ขับถ่ายและทิ้งในแต่ละวันสามารถตอบสนองต่อความต้องการปุ๋ยในการปลูกพืชของโลกทั้งหมดได้ การใช้น้ำปัสสาวะให้ปลอดภัย ปัสสาวะต้องไม่ถูกปนเปื้อนจากอุจจาระ เพราะเชื้อโรคจากแบคทีเรีย ไวรัส และโรคหนอนพยาธิเกือบทั้งหมดจะอยู่ในอุจจาระ ยกเว้นพยาธิใบไม้เลือด ปัสสาวะที่ออกมาใหม่จะมีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ เมื่อเวลาผ่านไป 5-6 ชั่วโมง ปัสสาวะจะเริ่มมีกลิ่น เนื่องจากจุลินทรีย์จะไปสลายยูเรียให้เป็นแอมโมเนียก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นไนเตรทในที่สุด ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้และต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
องค์ประกอบของสารอาหารในน้ำปัสสาวะมีดังนี้
ธาตุอาหารเหล่านี้สามารถนำไปปลูกพืชผักโดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยสรุปว่า น้ำปัสสาวะที่มนุษย์ขับถ่ายและทิ้งในแต่ละวันสามารถตอบสนองต่อความต้องการปุ๋ยในการปลูกพืชของโลกทั้งหมดโดยธรรมชาติ
แต่ข้อเสียมีกลิ่นฉึ่งๆโดยปรกติสัตว์ถ่ายลงดิน,ลงน้ำ,บนใบไม้กิ่งไม้แห้ง เป็นการเจือจางก่อนที่พืชจะนำไปใช้ ถ้ารดต้นไม้สดๆพืชอาจตายได้เพราะความเข้มข้นสูงนึกภาพควายเวลายืนปัสสาวะ(นานมากยังไม่มีใครจับเวลาแล้วเหม็นมากแสดงว่ามีไนโตรเจนสูง)ลงบนฟางในนาข้าวคงให้ปุ๋ยยูเรียแก่ดินเพื่อต้นข้าวต่อไปนอกจากมูลของมันปัสสาวะจะเป็นสารประกอบไนโตรเจน เป็น ยูเรีย,ครีเอไทน์,แอมโมเนียและกรดยูริค ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ในดินเข้ามากินแล้วเปลี่ยนสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบที่พืชต้องการใช้เป็นอาหารได้เราเรียกว่า วงจรไนโตรเจน (NITROGEN CYCLE)
จุลินทรีย์ในดินมีมากแต่ที่พบมี แบคทีเรีย 2 ตัวคือ
-ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter)
-ไนโตรโซโมนาส(Nitrosomonas)
ปรกติ ปัสสาวะ จะมีไนโตรเจน ในรูป ยูเรีย แล้วเปลี่ยนเป็น แอมโมเนีย(NH3)อย่างรวดเร็วในสภาพดินที่มีอากาศเกิดกระบวนการณ์ออกซิไดซ์ เรียกว่าNITRIFICATION คือ
ยูเรียและแอมโมเนีย—————–>ไนไตรท์(NO2) โดย ไนโตรโซโมนาส
ไนไตรท์(NO2)———————->สารประกอบไนเตรท(NO3)โดย ไนโตรแบคเตอร์
ซึ่งสารประกอบอนินทรีย์ไนเตรทจะเป็นอาหารของพืชจะถูกสังเคราะห์โดยขบวนการสังเคราะห์แสงเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอะมิโน และโปรตีนของพืชต่อไป
เมื่อพืชถูกกินจากสัตว์ก็นำกรดอะนิโมไปสร้างโปรตีนของสัตว์ต่อไปส่วนที่ไม่ได้ใช้จะถูกขับถ่ายออกมา แต่การที่แบคทีเรียนำยูเรียและแอมโมเนียมาเป็นอาหารเพื่อเพิ่มจำนวนนั้นต้องอาศัยธาตุคาร์บอนด้วยเพื่อสร้างผนังเซลล์และเอนไซม์
ถ้าคาร์บอนไม่พอจะทำให้ยูเรียและแอมโมเนียเหลือซึ่งสัดส่วน คือ คาร์บอนต่อไนโตรเจนหรือ C:N = 25:1 แต่ในปัสสาวะมี คาร์บอนต่อไนโตรเจน หรือ C:N =0.8:1 แหล่งคาร์บอนที่สำคัญ คือ ใบไม้แห้ง ,กิ่งไม้
นี่คือการรังสรรค์จากธรรมชาติเพื่อย่อยใบไม้กิ่งไม้ให้เข้าระบบธรรมชาติที่มิให้ศูนย์เปล่าทุกอย่างมีค่าทั้งหมดการนำปัสสาวะมาใช้ประโยชน์เราเติมคาร์บอนไปด้วยให้ได้ 25:1 อาจใช้ใบไม้แห้ง,ขี่เลื่อย,เศษกระดาษและน้ำตาล
น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีคาร์บอนมากใช้อัตรส่วน น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วยต่อน้ำปัสสาวะ1-1.5 ลิตรหมักในที่มีอากาศก็จะได้ไนเตรทที่เป็นประโยชน์กับพืช
วิธีการใช้น้ำปัสสาวะมาเป็นปุ๋ย
*การวิจัยจากสถาบันวิจัยต่างๆในหลายประเทศยืนยันว่าปลอดภัยปราศจากเชื้อโรคสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยปลูกพืชเป็นอาหารคนได้
*ในสวีเดนการประปานำมาปลูกธัญพืช
*เม็กซิโกรวบรวมจากหลายสถานที่ใส่เก็บไว้หลายสัปดาห์นำไปปลูกข้าวโพด,ข้าวสาลี,ข้าวโอ๊ต ได้ผลดี
*องค์การนาซ่า ปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิคได้ผลดีเยี่ยม
*มหาวิทยาลัยสวีเดนรายงานว่าน้ำปัสสาวะผู้ใหญ่1คน สามารถเป็นปุ๋ยเพียงพอต่อการปลูกพืชผักเลี้ยงตัวเอง ได้50-100 %เลยทีเดียว
ที่มา หนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติ เขียนโดย ดร.อานัฐ ตันโช
น้ำปัสสาวะมีไนโตรเจน แอมโมเนีย ยูเรีย กรดยูลิค อยู่ปริมาณมากและยังมีธาตุอาหารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และน้ำปัสสาวะในคนปกติจะเป็นน้ำปัสสาวะที่ปลอดเชื้อ สามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยได้
วิธีการนำน้ำปัสสาวะเพื่อใช้เป็นปุ๋ยในการทำเกษตร
วัสดุ/อุปกรณ์
วิธีทำน้ำหมักปัสสาวะเพื่อใช้ในการเกษตร
นำกากน้ำตาลและน้ำหมักชีวภาพ ผสมให้เข้ากัน ใส่ลงไปในถัง แล้วปิดฝาหลังจากนั้นให้นำน้ำปัสสาวะเติมลงไปในทุกวันคนแล้วปิดไว้ โดยเติมน้ำปัสสาวะลงไปทุกวัน จนครบ 20 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้
นาข้าวใช้ น้ำหมักปัสสาวะ 1 ส่วน/น้ำ 200 ส่วน โดยใช้น้ำหมักปัสสาวะ 2 ลิตร/ไร่
ข้อมูลจาก :คุณนายจุรีรัตน์ หวลถนอม 168 หมู่ที่2 ตำบลหนองเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดตราด
การผลิตปุ๋ยยูเรียจากน้ำปัสสาวะ
การผลิตปุ๋ยยูเรียง่ายๆสามารถผลิตใช้เองได้ภายในครัวเรือน ใช้รดพืชผักสวนครัวก็ได้หรือจะใช้ในสวนผลไม้หรือสวนยางพาราก็ดีวิธีการทำมีดังนี้
ส่วนผสม
การนำไปใช้
ข้อมูลจาก:คุณจำปา สุวไกร สมาชิกกลุ่มคุณธรรมกสิกรรมไร้สารพิษเศรษฐกิจพอเพียง จ.อำนาจเจริญ
ป้ายคำ : ปุ๋ยหมักชีวภาพ