การเลี้ยงไส้เดือนดินและการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ของไส้เดือนดิน ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ อาหาร พี เอช
ไส้เดือนดินและการทำปุ๋ยหมัก
พันธุ์ไส้เดือนดินที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก เช่น Eisenia fetida (the tiger worm) Lumbricidae Eisenia andrei (red tiger worm) Eudrilus eugemiae (african night crawler) Dendrobaena veneta, Perionyx excavatus, Polyheretima elongata และ Lumbricus rubellus
เศษซากอินทรียวัตถุที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก เศษวัสดุเหลือใช้ทุกชนิดจากภาคการเกษตร อุตสาหกรรม หรือขยะอินทรีย์จากชุมชน มูลสัตว์ เช่น มูลม้า วัว หรือควาย วัสดุอื่นๆ เช่น ฟางข้าว ต้นกล้วย ผักตบชวา เปลือกข้าว และใบกระถิน
การย่อยสลายขยะของไส้เดือนดิน
ของไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretima peguana)และไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus)โดยใช้อัตราส่วนปริมาณไส้เดือนต่อปริมาณขยะเท่ากับ 1 : 2 กิโลกรัม (ไส้เดือนสายพันธุ์ไทย 1 กก. มี 1,200 ตัว ส่วนไส้เดือนสายพันธุ์ต่างประเทศ 1 กก. มี 970 ตัว) พบว่า ไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus) มีความสามารถในการย่อยสลายขยะได้เร็วกว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทยพันธุ์ฟีเรทธิมา พีกัวน่า (Pheretima peguana) โดยใช้เวลาในย่อยสลายขยะน้อยกว่า 2 เท่าของไส้เดือนสายพันธุ์ไทย และไส้เดือนดินทั้งสองสายพันธุ์ใช้เวลาในการย่อยเศษผลไม้ได้รวดเร็วที่สุด และใช้เวลาในการย่อยเศษอาหารและเศษผักใกล้เคียงกัน
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเป็นพิษต่อไส้เดือนดิน ได้แก่ อัลดิคาร์ป เบนโนมิล บีเอชซี คาร์บาริล คาร์โบฟูราน คลอร์เดน เอนดริน เฮบตาคลอร์ มาลาไธออน พาราไธออน เป็นต้น
รูปแบบที่เหมาะสมในการใช้ไส้เดือนดินกำจัดขยะ
1. การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับครัวเรือน (แบบหลังบ้าน)
2. การกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในระดับชุมชน (แบบโรงเรือน)
วิธีทำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
วัสดุอุปกรณ์
1.กล่องพลาสติกเจาะรูระบายน้ำ 1 รู รูระบายอากาศ รอบๆกล่องไม่จำกัดขนาด 1 กล่อง
2.เศษกระดาษ 2 ขีด
3.เศษพืชผักผลไม้ 1-2 กิโลกรัม
4.ขี้วัว 1 กิโลกรัม
5.ดิน 1 กิโลกรัม
วิธีทำ
1.ฉีกเศษกระดาษรองก้นกล่องพลาสติก
2.รองด้วยเศษผักผลไม้
3.เทดินและขี้วัวลงกล่องเกลี่ยให้ทั่ว
4.ราดน้ำให้พอชุ่ม
5.ทิ้งไว้ประมาณ 3 สัปดาห์
6.ปล่อยไส้เดือนลงไปจำนวน 200-300 ตัว
จากนั้นเติมเศษผักผลไม้ และ รดน้ำให้ทั่วให้สัปดาห์ละครั้ง ใช้ระยะเวลาย่อยสลาย 3 เดือน ก็นำปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมาคัดแยกเอาปุ๋ย
วิธีการคัดแยก
นำปุ๋ยหมักไส้เดือนดินมากองไว้บนผ้าใบ แล้วเกลี่ยออกมาทีละน้อย แล้วนำไส้เดือนที่ติดมาด้วยคัดแยกใส่กล่อง ส่วนปุ๋ยหมักนำไปร่อนกับตะแกรง ทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 1 วัน ห้ามโดนแสงแดด
ไส้เดือนดิน
ลักษณะโดยทั่วไปของไส้เดือนดิน มีอยู่ทั่วไปตามดินชุ่มชื้นร่วนซุย แต่ตามเมืองใหญ่ ๆ ที่เต็มไปด้วยป่าคอนกรีต เราอาจจะพอหาดูได้ตามบริเวณสวนหย่อมหน้าบ้านที่มีใบไม้ทับถมอยู่มาก ๆ และตามพื้นดินที่เป็นแหล่งกองขยะอินทรีย์หรือเศษอาหารจากตลาดหรือชุมชน
มันจะคืบคลานหากินอยู่ตามผิวดินและชอนไชไปตามซอกหลืบของเม็ดดิน ปกติมันจะกินเศษใบไม้และพืชผักเป็นอาหาร ทั้งนี้สังเกตได้ว่าหลังจากที่ไส้เดือนขึ้นมาบนพื้นดินเพื่อหาอาหารกินแล้ว จะพบเศษใบไม้และพืชผักปกคลุมอยู่ตามรูที่มันอาศัยอยู่ นอกจากนี้มันยังกินซากของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เน่าเปื่อย รวมทั้งสัตว์เล็ก ๆ อย่างแมลงและตัวอ่อนของแมลงได้อีกด้วย มันจึงถูกจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกินทั้งพืชและสัตว์ (Omnivorous) เป็นอาหาร ซึ่งมี วงจรชีวิต ผูกพันธุ์กับดิน ระบบนิเวศที่ดี จะช่วยให้ การแพร่กระจายพันธุ์ เป็นไปด้วยดีเช่นกัน
การชอนไชของไส้เดือนทำคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น คือทำให้ดินโปร่งร่วนซุย ไม่แน่นทึบและแข็ง เกิดการถ่ายเทอากาศภายในดินดีขึ้น เพิ่มช่องว่างในดิน ช่วยในการอุ้มน้ำของดิน การไหลผ่านของน้ำในดินทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ จึงเหมาะแก่การแทงรากออกไปหาอาหารของพืช และผลจากกระบวนการกินอาหารของไส้เดือนยังช่วยพลิกกลับดินหรือนำแร่ธาตุจากใต้ดินขึ้นมาบนผิวดิน โดยดิน ซากพืชซากสัตว์ เศษอาหาร และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ที่ไส้เดือนกินเข้าไป จะถูกย่อยสลายและถูกขับถ่ายออกมาเป็นมูล (cast) ซึ่งมีธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากและอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดี เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส กำมะถัน แคลเซียม และธาตุอาหารอื่น ๆ รวมทั้งช่วยส่งเสริมในการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ไปอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ ประโยชน์ได้ นอกจากนี้ไส้เดือนยังช่วยกำจัดแมลงและตัวอ่อนของแมลง เช่น หนอนเจาะลำต้นลองกอง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้หอม ตัวอ่อนด้วงหมัดผัก เป็นต้น การเจริญเติบโตของพืชเบื้องบนจึงเป็นผลมาจากการทำงานเบื้องล่างของไส้เดือน ทุกอย่างสอดคล้องกันไปตาม บทบาทหน้าที่ของไส้เดือนจำนวนมหาศาลใต้ผิวดินทั่วโลก ซึ่งทำประโยชน์ให้กับมวลมนุษย์อย่างประเมินค่ามิได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า “ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินและพืช”
นอกจากดินและพืชจะได้รับประโยชน์จากไส้เดือนอย่างอเนกอนันต์จากกิจกรรมในการดำรงชีวิตแล้ว มนุษย์อย่างเรา ๆ ก็รู้จักนำมันมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของตัวเองเช่นกัน อาทิเช่นนำมาใช้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจจำพวกสัตว์ปีก ปลา กบ และหมู เนื่องจากไส้เดือนมีโปรตีนที่สูงมาก และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในค่าอาหารสัตว์ นำมา เป็นอาหาร ซึ่งมีบางประเทศบนโลกใบนี้จับไส้เดือนมาเป็นอาหาร เนื่องจากมีโปรตีน เป็น ยาสมุนไพร ตำราการแพทย์จากต่างประเทศมีงานวิจัยออกมาชัดเจนว่าไส้เดือนจะมีสารเคมีบางชนิดช่วยในการรักษาโรคหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ส่วนตามตำรายาจีนระบุว่าไส้เดือนเป็นอาหารที่ใช้บำรุงกำลัง ยาบำรุงทางเพศ และแก้โรคช้ำใน คนจีนจะกินไส้เดือนที่ปรุงสำเร็จตามสูตรแล้วเป็นอาหารเช้าคู่กับน้ำเต้าหู้ อย่างเช่นในจีนมีการนำไส้เดือนมาตากแห้งวางขายแก่ลูกค้าที่ต้องการนำไปเป็นยาบำรุงทางเพศและยาบำรุงรักษาโรคหัวใจตามตำราจีน ส่วนในไทยก็ไม่น้อยหน้าไปกว่าชาวจีนสักเท่าใด ด้วยความเชื่อว่าเป็นยาสรรพคุณในการแก้ช้ำใน เลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้า สร้างรายได้ให้แก่ชีวิต ใช้ ฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรม เช่น ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ กำจัดเศษอาหารและขยะ
ที่สลายตัวได้รวดเร็ว สืบเนื่องจาก “เศษอาหารและขยะ” ที่มีเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน นับเป็นปัญหาใหญ่หลวงในการจัดการ ดังนั้นนักวิชาการจึงได้มีการคิดค้นหาวิธีการแก้ไขดังกล่าว ในที่สุดก็พบว่าไส้เดือนสามารถกำจัดเศษอาหารและขยะได้ ที่สำคัญคือไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษแก่ธรรมชาติและมนุษย์เหมือนวิธีการเผา หรือวิธีการฝังกลบที่ยังไม่มีพื้นที่รองรับอย่างเพียงพอ แถมยังได้ปุ๋ยหมัก (Vermicompost) นำมาใช้บำรุงพืชอีกด้วย
ในต่างประเทศ..การกำจัดเศษอาหารในครัวเรือน รวมถึงจากวัสดุที่สลายตัวได้ กำลังเป็นที่นิยมทำกันในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับมาตรการลดภาษีสิ่งแวดล้อมกับครัวเรือนในชุมชนที่มีรูปแบบการกำจัดขยะสดด้วยตนเอง เป็นแรงผลักดัน ส่วนในไทยเริ่มให้ความสนใจเรื่องนี้มาได้ราว 4-5 ปีแล้ว ได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ทำโครงการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะชุมชนที่ย่อยสลายได้ กล่าวว่า “จากการทำโครงการนี้ได้ศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตของไส้เดือน พบว่าสัตว์ชนิดนี้มีคุณประโยชน์มหาศาล คือสามารถกำจัดขยะที่ย่อยสลายได้ โดยเฉพาะเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งกระดาษชำระและหนังสือพิมพ์ได้เร็วที่สุดในโลก โดยไส้เดือน 1 กิโลกรัม (ประมาณ 1,200-1,300 ตัว) จะกำจัดขยะ 1 กิโลกรัม ได้ภายในเวลา 4 วัน ขยะจะถูกย่อยสลายโดยการดูดกินของไส้เดือน และไส้เดือนจะถ่ายออกมากลายเป็นปุ๋ยหมักที่นำไปบำรุงรักษาต้นไม้ได้อีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ขยะ 100 กิโลกรัม จะถูกไส้เดือนดูดกินเหลือออกมาเป็นปุ๋ยหมักคุณภาพดีได้ถึง 70 กิโลกรัม ในขณะที่การใช้วิธีอื่นเพื่อกำจัดขยะประเภทนี้ต้องใช้เวลานานกว่านี้มาก และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดมลภาวะ เกิดสารพิษตกค้าง และมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
โดยเริ่มแรกจากการทดลองได้นำไส้เดือนพันธุ์แลมบริคัส รูเบลลัส (Lumbricus rubellus) มาจากสหรัฐอเมริกา เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ พบว่าไส้เดือนมีความสามารถในการกำจัดขยะจากเศษพืชผักสูงมาก โดยสามารถกินอาหารได้หลายชนิด เช่น เศษกับข้าว เศษผัก เปลือกผลไม้ที่เริ่มเน่า กล่องกระดาษ กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษผม เศษหญ้า และมูลสัตว์ในบ้าน โดยไม่กินผักสดพืชสดที่ยังไม่เน่า แต่เนื่องจากไส้เดือนพันธุ์ดังกล่าวมีราคาแพง จึงมีการมองหาพันธุ์ไส้เดือนในประเทศไทย จนกระทั่งพบไส้เดือนพันธุ์ขี้ตาแร่ (หรือคิตาแร่) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Pheretima peguana” มีมากในภาคเหนือ เป็นพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณภาพดีที่สุด แม้ว่าไส้เดือนพันธุ์นี้จะกินอาหารเก่ง แต่ก็ยังมีปริมาณในการกำจัดขยะและเศษพืชผักได้น้อยเพียงครึ่งหนึ่งของไส้เดือนพันธุ์ต่างประเทศที่เคยทดลอง
จาก ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อไส้เดือนดิน ปัญหามลภาวะที่เป็นผลมาจากการดำเนินการต่าง ๆ ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณไส้เดือนในประเทศลดจำนวนลง ขณะนี้จึงได้คิดเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพิ่มมากขึ้นมี การจำแนกสายพันธุ์ รวมทั้งได้มีการสร้างโรงเรือนสำหรับการเพาะเลี้ยงไส้เดือนอย่างเป็นระบบสมบูรณ์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ทดลอง เลี้ยงในชั้นพลาสติกในห้องทดลอง และวิธีการเลี้ยง แบบต่างๆ อย่างไรก็ตามได้สั่งไส้เดือนที่กินเก่งอีก 8 สายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามา เพื่อทดลองเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้การทำงานด้านนี้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
ปัจจุบันนี้หลายประเทศเริ่มทำอุตสาหกรรมเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพื่อส่งออกอย่างจริงจัง ประเทศที่นำเข้าไส้เดือนมากที่สุด คือ กลุ่มสหภาพยุโรป และจีน ส่วนประเทศที่ส่งออกไส้เดือนมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา โดยอเมริกาได้ใช้เทคโนโลยีตัดต่อพันธุกรรม (GMO) ไส้เดือน ทำให้มีคุณสมบัติในการดูดกินเศษอาหารมากกว่าไส้เดือนพันธุ์อื่น รองลงมาคืออินเดียและไทย สำหรับในเมืองไทยนั้น หลายพื้นที่หันมาเพาะพันธุ์ไส้เดือนเพื่อส่งออก โดยเฉพาะที่ จ.นครพนม และ จ.อุบลราชธานี ขณะนี้นักวิชาการ กำลังหาวิธีการเพื่อขยายและปรับปรุงพันธุ์ไส้เดือน เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ และใช้การลดปริมาณขยะและแปลงสภาพเป็นปุ๋ยให้ได้มากขึ้น
ป้ายคำ : ปุ๋ยหมัก