ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบไม่กลับกอง (ฉบับประยุกต์)

19 เมษายน 2560 จุลินทรีย์, ดิน 0

เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช เป็นหลักสำคัญของการทำกสิกรรมธรรมชาติ สำหรับดินที่ผ่านการใช้งานมาอย่างเข้มข้น ยังมีสารเคมีตกค้าง จำเป็นต้องมีปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพช่วยพื้นธรรมชาติของดิน

ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ แบบไม่กลับกอง (ฉบับประยุกต์)
ปุ๋ยหมักชีวภาพเป็นปุ๋ยหมักที่ประกอบด้วยอินทรีย์วัตถุ มูลสัตว์ และจุลินทรีย์ รวมทั้งอาหารจุลินทรีย์ นำมาหมักรวมกัน ประยุกต์รูปแบบเป็นแบบไม่กลับกอง ด้วยการนำท่ออากาศช่วยระบายความร้อนและนำอากาศให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ย เพื่อให้จุลินทรีย์เป็นเพื่อนกันด้วยการหมักไว้ในสวน
สูตรปุ๋ยหมัก เกิดจากการวิเคราะห์ดินพื้นที่ เป็นดินที่เป็นดินขาดอินทรีย์วัตถุ จึงเป็นสูตรที่มีอินทรีย์วัตถุมากขึ้น

วัสดุอุปกรณ์

  • มูลสัตว์ในท้องถิ่น ได้แก่ ขี้หมู 15 กระสอบ ขี้วัว 5 กระสอบ ขี้ไก่ 5 กระสอบ ขี้ไก่แกลบ 10 กระสอบ
  • อินทรีย์วัตถุในท้องถิ่น ได้แก่ ขุยมะพร้าว 5 กระสอบ ขี้เลื่อย 5 กระสอบ แกลบ 10 กระสอบ ถ่านชีวภาพ 4 กระสอบ
  • จุลินทรีย์ โดยใช้นำหมักชีวภาพ 20 ลิตร และกากน้ำตาล 10 กก. ผสมน้ำ 30 ลิตร หมักไว้ 4-5 วัน
  • อาหารจุลินทรีย์ ได้แก่ รำละเอียด (รำละเอียดปนลำหยาบ) 5 กระสอบ
  • ท่ออากาศ ประกอบด้วย ท่อ pvc 2″ ยาว 1 เมตรเจาะรู ,สามทาง,ฝาปิด มีจำนวนตามขนาดกองปุ๋ย

วิธีทำปุ๋ยหมัก

  1. เตรียมพื้นที่ เลือกที่ร่มและน้ำไม่ท่วม เนื่องจากหมักในสวนยางวนเกษตรซึ่งอยู่ในร่มไม้ ต้องทำการปูพื้นกองปุ๋ยด้วยกระสอบ 1-2 ชั้น ให้มั่นใจว่ารากต้นไม้จะไม่มารบกวน
  2. นำมูลสัตว์ อินทรีย์วัตถุ ผสมกันด้วยการเทมูลสัตว์ อินทรีย์วัตถุ และอาหารจุลินทรีย์ สลับกันไป พร้อมกับคลุกเคล้าให้กระจายอย่างทั่วถึง
  3. ทำเป็นกองขนาดที่ต้องการ กว้าง ยาว ตามพื้นที่ สูงไม่เกิน 50 ซม. รดด้วยจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้ผสมน้ำ ให้มีความชื้น ประมาณ 60% (กำปุ๋ยมาบีบพอมีน้ำตามง่ามนิ้ว)
  4. วางท่ออากาศตามแนวตรงกลางแล้วกลบกอง ทำเป็นกองสามเหลี่ยมกลบท่ออากาศ
  5. ปิดกองด้วยกระสอบ และทับด้วยวัสดุที่มีน้ำหนัก ป้องกันสัตว์ขุดคุ้ย หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-6 เดือน จนกองปุ๋ยเย็น สามารถนำไปใช้ได้


การนำไปใช้งาน
นำปุ๋ยหมักชีวภาพในรอบต้นโดยโรยให้กระจายไปทั่วรอบทรงพุ่ม (กรณีเป็นไม้ยืนต้น) สำหรับสวนยางวนเกษตรแห่งนี้ ใส่ต้นยางอายุ 3 ปีใส่ประมาณ 2 กก. ไม้ยืนต้นอื่น (ตะเคียน ยางนา สะเดาเทียม กระถินเทพา จำปาทอง สัก ฯลฯ ) ใส่ 1 กิโลกรัม ไผ่(ไผ่บงหวาน ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางนวล ไผ่รวก ไผ่เลี้ยงหวาน ฯลฯ) ใส่ 1-2 กิโลกรัม ผัก ผลไม้พื้นบ้าน (เหลียง สับประรด) ใส่ครึ่งกิโลกรัม

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด จุลินทรีย์

แสดงความคิดเห็น