ปูนเพื่อการเกษตร

28 พฤษภาคม 2558 ดิน 0

ปูนที่ใช้ประโยชน์เฉพาะในด้านการเกษตร หมายถึง วัสดุสารประกอบที่มีธาตุแคลเซียม หรือแคลเซียมและแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่ ปูนมีคุณสมบัติเป็นด่าง ซึ่งสามารถลดความเป็นกรดหรือความเปรี้ยวของดินได้ เช่น ปูนสุก ปูนขาว หินปูน (คัลไซต์ และโดโลไมต์) ปูนมาร์ล เปลือกหอย และผลพลอยได้ต่างๆ รวมทั้งตะกรันและวัสดุอื่นๆ

ใส่วัสดุปูนเพื่อการเกษตรเมื่อใด
ในการพิจารณาว่าดินในขณะนั้นมีความจำเป็นต้องใส่ปูนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับสภาพของความเป็นกรด-ด่างของดิน หากพบว่าดินมีสภาพเป็นกรด ดินกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด (pH ต่ำ) ควรทำการใส่ปูน เนื่องจากในสภาพความเป็นกรดจะทำให้เกิดการขาดแคลนธาตุอาหารพืช เช่น ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส อีกทั้งหากพบว่าดินที่อยู่ในสภาพที่เป็นกรดจัด จะมีธาตุอะลูมินั่มละลายออกมาจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก พืชไม่เจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้นการใช้วัสดุปูนเพื่อการเกษตรปรับปรุงดินดังกล่าว จึงเป็นวิธีการแก้ไขที่สะดวกรวดเร็วและลงทุนต่ำ นอกจากปูนดังกล่าวจะช่วยแก้ไขความเป็นกรดของดินแล้ว ยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมและหรือแมกนีเซียม เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารบางชนิดในดิน เพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ และยังช่วยเสริมกิจกรรมทางด้านชีวภาพอีกด้วย

ประโยชน์ของการใช้ปูนเพื่อปรับปรุงดินกรดหรือดินกรดจัด
ปูนช่วยยกระดับ pH ของดินให้สูงขึ้น ลดความรุนแรงของกรด และลดผลเสียโดยทางอ้อมอันเนื่องมาจากความเป็นกรด และช่วยทำให้สมดุลธรรมชาติของธาตุอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในดิน
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพวกไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม ซิลิกา โมลิบดินัม เป็นต้น

ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินบางชนิดให้ดีขึ้น ทำให้ดินเหนียวร่วนขึ้น ทำให้เกิดการถ่ายเทน้ำออกไปจากช่องอากาศในดิน และการอุ้มน้ำในช่องว่างขนาดเล็กมีมากขึ้น เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มและส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น จุลินทรีย์ที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติ ที่ระดับ pH เป็นกรดอ่อนหรือเป็นกลาง
การใส่ปูนจะช่วยลดการเกิดอาการโรคเน่า โคนเน่าของพืช
ควบคุมปริมาณกรดอินทรีย์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ความเข้มข้นของเหล็ก อะลูมินัม ตลอดจนสารพิษต่างๆ เช่น ไพไรท์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ในสารละลายดิน มิให้มีการสะสมมากเกินไปจนเป็นพิษต่อข้าว

ชนิดและคุณภาพของปูนที่ใช้ทางการเกษตร
ปูนในรูปของคาร์บอเนต (Carbonate)

  • 1.1 หินปูน (limestone) หมายถึง หินชั้นหรือหินตะกอนที่ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่
  • 1.2 คัลไซต์ (calcite) เป็นคาร์บอเนตที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ คัลไซต์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของหินปูน หินอ่อนและชอร์ค
  • 1.3 โดโลไมต์ (dolomite) เป็นแร่เกิดจากตะกอนของแคลเซียมและแมกนีเซียมทับถมกัน
  • 1.4 ปูนมาร์ล (marl) องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนตและดินเหนียว
  • 1.5 หินอ่อน (marble) ประกอบด้วยเม้ดผลึกของแร่คัลไซต์ และไดโนไมต์

ปูนในรูปออกไซด์ (oxide) ได้แก่พวกแคลเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ หาได้ง่ายโดยทั่วไป ในทางการค้าเรียกปูนเผา
ปูนในรูปไฮดรอกไซด์ (hydroxide) ได้แก่ พวกแคลเซียมไฮดรอกไซด์
ปูนในรูปซิลิเกต (silicste) เป็นผลพลอยได้จากโรงงานถลุงเหล้ก ได้แก่ พวกสแลคต่างๆ เช่น เบสิคสแลค เป็นต้น

phoonmanplang

วัสดุปูนที่มีการใช้กันในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามองค์ประกอบหลักของเนื้อปูนได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มคาร์บอเนต กลุ่มออกไซด์ และไฮดรอกไซด์ ซึ่งปูนแต่ละกลุ่มจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวบางอย่างที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องพิจารณานำมาใช้ให้เหมาะสม และเลือกใช้ให้ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
1. กลุ่มคาร์บอเนต ปูนกลุ่มนี้รู้จักกันทั่วไป เรียกว่า ดิบ หินปูนบด หรือปูนเปลือกหอยบดโดยไม่ได้ผ่านกระบวนเผาหรือพรมน้ำ ได้แก่

  • ปูนแคลไซท์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ได้จากการนำหินปูน และเปลือกหอยที่มี CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักมาบดให้ละเอียด โดยทั่วไปปูนกลุ่มนี้จะมีเปอร์เซ็นต์คาร์บอเนตอยู่ในช่วง 75-99 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับแหล่งที่นำมาผลิต
  • ปูนมาร์ล (Marl) เป็นปูนที่มีองค์ประกอบของ CaCO3 กับพวกแร่ดินเหนียวและอินทรีย์สารผสม ปะปนกันอยู่ ทำให้จับตัวเป็นก้อนได้ง่าย เมื่อได้รับความชื้น ปูนชนิดนี้จะมีความบริสุทธิ์ของ CaCo3 ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำกว่าปูนแคลไซท์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามีปริมาณดินเหนียวและอินทรีย์สารปะปนอยู่มากน้อยเพียงไร ถ้ามีผสมอยู่มากเปอร์เซ็นต์ของ CaCO3 ก็จะต่ำ
  • ปูนโดโลไมท์ หรือ แคลเซียมแมกนีเซียม คาร์บอเนต (CaMg(CO3)2) เป็นปูนที่ได้จากนำหินที่มีองค์ประกอบของ (CaMg(CO3)2) มาบดละเอียดสำหรับปูนกลุ่มนี้เมื่อใส่ในน้ำจะให้ธาตุแมกนีเซียม (Mg2+) ซึ่งธาตุชนิดนี้แพลงก์ตอนพืชในน้ำสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิตได้ ดังนั้นในกรณีที่น้ำในบ่อใส การใช้ปูนโดโลไมท์จะมีผลช่วยเสริมในการทำสีน้ำได้
  • อื่น ๆ เช่น ชอล์ค หินอ่อน ปะการัง ก็มีส่วนประกอบพวกคาร์บอเนต แต่ไม่คุ้มค่าที่จะนำมาใช้เชิงธุรกิจ

คุณสมบัติของปูนกลุ่มคาร์บอเนต

  1. เป็นปูนที่มาจากแหล่งธรรมชาติ แล้วนำมาบดโดยไม่ผ่านกระบวนการเผาด้วยความร้อน
  2. จะปรับค่าพีเอชให้เพิ่มขึ้นช้า ๆ จึงทำให้ค่าพีเอชคงอยู่ได้นาน
  3. ช่วยเพิ่มค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้ของน้ำได้อย่างดี
  4. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไปเกิดความร้อนหรือไม่ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
  5. มีความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ
  6. เมื่อสัมผัสกับน้ำแล้วไม่ออกฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้
  7. เมื่อได้รับความชื้นจะจับตัวเป็นก้อนได้ง่ายโดยเฉพาะปูนมาร์ล

2. กลุ่มอ๊อกไซด์ หรืออาจจะเรียกว่า “ปูนเผา” (burn lime หรือ Quick lime) ปูนกลุ่มนี้ได้แก่ แคลเซียมอ๊อกไซด์ (CaO) และแมกซีเซียมอ๊อกไซด์ (MgO) ซึ่งได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของ CO3 เป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 600-900 องศาเซลเซียส แล้วนำมาบดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ 600 – 900 oC
ปูนคาร์บอเนต ปูนอ๊อกไซด์เผา
คุณสมบัติของปูนกลุ่มอ๊อกไซด์

  1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดเหมาะสมที่จะใช้แก้ปัยหาดินเป็นกรดมากที่สุด
  2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้
  3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
  4. เมื่อสัมผัสกับน้ำ จะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
  5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวเป็นก้อน เนื่องจากผ่านกระบวนการให้ความร้อนสูง ซึ่งเป็นการทำลายโครงสร้างให้มีขนาดอนุภาคเล็กลง

3. กลุ่มไฮดรอกไซด์ ปูนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเรียกรวม ๆ ว่า “ปูนขาว” (Slaked lime) ซึ่งได้แก่ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (Mg(OH2)) ได้จากการนำหินปูนคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยที่มีองค์ประกอบของคาร์บอเนตเป็นหลักมาเผาที่อุณหภูมิสูง แล้วพรมด้วยน้ำให้ชุ่ม ปูนจะแตกร่วนออกมาเอง ทำให้ประหยัดค่าบดและได้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
ปูนอ๊อกไซด์ + น้ำ ปูนไฮดรอกไซด์
คุณสมบัติของปูนกลุ่มไฮดรอกไซด์

  1. จะทำให้ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าพวกคาร์บอเนตแต่น้อยกว่าปูนพวกอ๊อกไซด์
  2. มีผลต่อค่าคาร์บอเนตอัลคาไลนิตี้น้อยกว่า
  3. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะเกิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิของน้ำเพิ่มสูงขึ้น
  4. เมื่อสัมผัสกับน้ำจะมีฤทธิ์กัดผิวหนัง จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
  5. เมื่อได้รับความชื้น จะไม่จับตัวกันเป็นก้อน

ประสิทธิภาพการทำลายกรดของวัสดุปูน
การทำงานของวัสดุปูนแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพดีหรือไม่เพียงไรนั้นจะมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประการด้วยกัน คือ

  1. ชนิดของวัสดุปูน ปูนแต่ละชนิดจะมีอำนาจการทำลายกรดไม่เท่ากัน รายละเอียดดัง ตาราง
    ชนิด ค่าการทำลายความเป็นกรด
    หินปูนธรรมดา calcite (CaCO3)ปูนเผา (อ๊อกไซด์) Quick lime (CaO)ปูนขาว (ไฮดรอกไซด์) Slake lime (Ca(OH)2)หินปูนโดโลไมท์ Dolomite (CaMg(CO3)2)
    ค่าการทำลายกรดเทียมมาตรฐานจากอำนาจการทำลายกรดของ แคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์ (CaCO3) ซึ่งคิดเป็น 100%
    ตัวอย่าง
    เมื่อทราบว่าต้องใช้แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) จำนวน 320 กก/ไร่ ในการปรับค่าพีเอช ของดินจากพีเอช 5 มาเป็น 6.5 ถ้าต้องการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) แทนแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) สามารถคำนวณหาปริมาณแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ต้องใช้ได้จาก
  2. ขนาดเม็ดอนุภาคของวัสดุปูน
    ประสิทธิภาพการทำงานของปูน นอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของปูนแล้ว ขนาดเม็ดปูนก็มีผลต่อการทำงานไม่น้อยเลยทีเดียว เม็ดปูนที่มีขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าเม็ดปูนขนาดใหญ่ หน่วยมาตรฐานที่ใช้ในการวัดขนาดเม็ดปูนเรียกเป็น “เม็ช” (Mesh) ซึ่งหมายถึงขนาดรูตะแกรงร่อน เช่น 20 เม็ช หมายถึง ความถี่ของช่องตะแกรง 20 ช่องใน 1 นิ้ว
    ขนาดเม็ดอนุภาค ประสิทธิภาพ (%)
    ตาตะแกรง (เม็ช) ขนาด (มม.)
    มากกว่า 6060 – 2020 – 8น้อยกว่า 8 เล็กกว่า 0.2500.250 – 0.8550.855 – 2.360ใหญ่กว่า 2.360
    หมายเหตุ ปูนที่ดีควรมีความละเอียดในช่วง 20-100 ผสมกันจะใช้ได้ดีในการควบคุมค่าพีเอช
  3. ชนิดเนื้อดินของบ่อเลี้ยง
    เนื้อดินแต่ละชนิดจะมีค่าความเป็นกรดไม่เท่ากัน ยิ่งเนื้อดินมีความละเอียดมาก เช่น ดินเหนียว จะมีปริมาณความเป็นกรดในเนื้อดินสูง กว่าดินเนื้อหยาบ เนื่องจากดินที่ละเอียดสามารถดูดซับสารต่าง ๆ ไว้ในเนื้อดินได้มากกว่าดินเนื้อหยาบ ดังนั้นการใช้ปูนในการปรับค่าพีเอชจึงต้องพิจารณาเนื้อดินด้วย

phoonmanwan

คุณสมบัติของวัสดุปรับปรุงดิน
ไม่ว่าจะเป็น ปูนขาว ปูนมาร์ล หรือไดโลไมท์ ต่างก็เป็นวัสดุที่ใช้ประโยชน์ทางด้าน การเกษตร และใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนคุณสมบัติและองค์ประกอบหลักๆ ก็มีดังนี้ครับ
ปูนขาว
ปูนขาว ไดโลไมท์ : คือวัสดุที่ได้จากการเผาหินปูน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แคลเซียมคาร์บอเนต โดยผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนค่อนข้างสูง ซึ่งจะได้ในรูปของปูนสุกหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แคลเซียมออกไซด์,CaO,Lime เมื่อเย็นตัวลงแล้วจะผ่านอีกหนึ่งกระบวนการคือพรมน้ำให้ชุ่ม ทำให้ปูนที่สุกแล้วทำปฏิกิริยากับน้ำกลายเป็นแคลเซียมไฮดรอกไซด์ ส่วนที่เป็นผงแห้งก็จะได้เป็น ปูนขาว และส่วนที่เหลือก็จะเป็นพวกสารแขวนลอยคือ น้ำปูนไลม์

ปูนมาร์ล : จะเป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ให้ทั้งแคลเซียม อีกทั้งยังช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ค่าPH) ของดินให้สูงขึ้นอย่างช้าๆ และยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่มีประโยชน์สำหรับพืช ที่มีราคาถูกกว่าปูนขาวหรือไดโลไมท์อีกด้วย เพราะปูนมาร์ลจะใช้ต้นทุนในการผลิตให้เป็นวัสดุปรับปรุงดินที่ถูกกว่าปูนขาว ดังนั้นจึงเป็นแหล่งแคลเซียมที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเกษตร เช่น การผลิตถั่วลิสงโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่วนใหญ่แล้วจะมีสภาพดินเป็นกรด ซึ่งปูนมาร์ลจะช่วยปรับสภาพดินกรดให้สูงขึ้นอย่างช้าๆและสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้เราจะในในปริมาณที่มากก็ตาม และโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อพืชก็น้อยมาก ซึ่งหากเราใส่ในปริมาณที่มากๆครั้งเดียวและย่อยสลายไปไม่หมด ก็จะยังคงเป็นประโยชน์สำหรับพืชในฤดูปลูกต่อไปได้อีกด้วย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ดิน

แสดงความคิดเห็น