ผักกระฉูดเป็นเสมือนฝาแฝดของผักกระเฉด โดยเฉพาะหากผักกระเฉดอยู่บนบก จะดูแทบไม่ออกเลย แต่ถ้าผักกระเฉดอยู่ในน้ำยังสังเกตได้จากที่เถาของมันจะมีฟองน้ำ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “นม” ที่ผักกระฉูดไม่มี แม้ว่าผักกระฉูดจะอยู่ในน้ำก็จะไม่มีนมเหมือนผักกระเฉด
ผักกระฉูด เป็นไม้ทอดเลื้อยยาวได้ 1 เมตร ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อย 7-30 คู่ เป็นรูปขอบขนาน ปลายมนโคนตัด สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีเหลืองปนส้มเล็กน้อย ผล เป็นฝักแบนมีหลายเมล็ด ขยาย
พันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำต้น พบขึ้นทั่วไป ในภูมิภาคอินโดจีน อินโดนีเซีย พม่า ประเทศติมอร์ ในประเทศไทยพบทุกภาค โดยจะขึ้นตาม ที่โล่งแจ้ง แห้งแล้ง หรือ ที่ชื้นแฉะ มีชื่อเรียกอีกคือ ผักกระเฉดโคก และ ผักกระเฉดบก
ผักกระฉูดนำไปทำอาหารได้เหมือนผักกระเฉด แต่มีความต่างกันมากเมื่อนำไปปรุงอาหาร เพราะผักกระฉูดจะเหนียว แข้งกระด้าง ผิดกับผักกระเฉดที่จะกรอบ และผักกระเฉดสามารถนำไปแกงส้ม หรือยำได้ทั้งยอดที่เป็นเถายาว ๆ แต่ผักกระฉูดจะนำไปแกงส้มหรือยำได้เฉพาะยอดอ่อนที่มีใบไม่เกิน 2 – 3 ใบจากปลายยอดเท่านั้น ถ้ายาวไปกว่านั้น จะเหนียวเคี้ยวไม่ออก
วงศ์ MIMOSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Neptunia spp.
ชื่อสามัญ water mimosa, water sensitive plant
ชื่ออื่น ผักกระฉูด ผักรู้นอน ผักฉีด ผักกระเสดน้ำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
การขยายพันธุ์ เมล็ด เถาแก่ที่มีราก
ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน กินเป็นผักสด หรือนำไปประกอบเป็นอาหารได้เหมือนกับผักกระเฉดทุกอย่าง เช่น กินเป็นผักสดหรือต้ม ลวก จิ้มน้ำพริกทุกชนิด แกงส้มกุ้ง ปลา เป็นต้น แต่การใช้ประโยชน์ทางอาหารนิยมเด็ดเอาเฉพาะยอดอ่อนยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตเท่านั้นจึงจะกรอบอร่อย หากเด็ดยาวเกินกว่านั้นจะเหนียว ไม่นิยมรับประทาน
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน