ผักกาดคอส สลัดคอส

16 ธันวาคม 2558 พืชผัก 0

ผักกาดคอส (Cos Lettuce) มีชื่อเรียกมากมาย ทั้งผักกาดโรเมน (Romaine Lettuce) ผักกรีนคอส เบบี้คอส บ้างก็เรียกผักกาดหวาน เป็นผักสลัดอันดับต้น ๆ ที่นิยมรับประทานกัน ด้วยความที่ผักกาดชนิดนี้มีรสชาติขมเล็กน้อย แต่มีความกรอบและเบา เหมาะจะนำไปทำเป็นซีซาร์สลัดได้สบาย ๆ นอกจากนี้ผักกาดคอสยังอุดมไปด้วยวิตามินซี มีไฟเบอร์สูง โพรแทสเซียม และกรดโฟเลตก็สูงไม่แพ้กันด้วย

ผักกาดหวาน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า สลัดคอส มีชื่อวิทยาศาสตร์ Lactuce sativa. longifolla ลักษณะทั่วไปเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นกอ ลักษณะใบยาวรี ซ้อนกันเป็นช่อ ใบบางกลม การปลูกดูแลรักษาคล้ายผักกาดหอมห่อ แต่จะมีลักษณะ แตกต่างกันออกไปบ้าง ตามสายพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีชนิดใบกลมขนาดเล็ก ห่อหัวแน่น รสชาติหวานกรอบ เรียกว่า เบบี้คอส (baby cos) โดยกลุ่มพืชชนิดนี้ ควรปลูกเฉพาะ ในฤดูหนาว และฤดูฝน

paggadcoston

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ผักกาดหวาน เป็นพืชที่ต้องการสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ ระหว่าง 10-24C ในสภาพอุณหภูมิสูง การเจริญเติบโต ทางใบจะลดลง และพืชสร้างสารคล้ายน้ำนม หรือยางมาก เส้นใยสูง เหนียว และมีรสขม

ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์ และมีอินทรีย์วัตถุสูง หน้าดินลึก และอุ้มน้ำ ได้ดีปานกลาง สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินอยู่ระหว่าง 6-6.5 พื้นที่ปลูกควรโล่ง และได้รับแสงแดด อย่างเต็มที่ เนื่องจากใบผักกาดหวานมีลักษณะบาง ไม่ทนต่อฝน ดังนั้น ในช่วงฤดูฝนควรปลูก ใต้โรงเรือน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร
ผักกาดหวาน เป็นพืชที่นิยมบริโภคสด โดยเฉพาะในสลัด หรือกินกับยำ นำมาตกแต่ง ในจานอาหาร แต่สามารถประกอบอาหารได้ ในบางชนิด เช่น นำไปผัดกับน้ำมัน โดยใช้ไฟแรงอย่างรวดเร็ว ผักกาดหวาน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ และมีวิตามินซีสูง นอกจากนี้ ยังให้ฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ช่วยป้องกันโรค โลหิตจาง บรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

paggadcoskin

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโต

การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด ทิ้งไว้ 14 วัน ให้วัชพืช แห้งตาย ขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตัน/ไร่

การเตรียมกล้า เพราะกล้าในถาดหลุม ดินเพาะควรมีระบบน้ำดี อายุ กล้าประมาณ 3-4 อาทิตย์

การปลูก ระยะปลูก 3030 ซม. 3 แถว ในฤดูร้อน และ 4040 ซม. 3 แถว ในฤดูฝน (เพื่อป้องกันการระบาดของโรค)
ข้อควรระวัง

  • อย่าปลูกในหลุม ใหญ่หรือลึก เพราะน้ำอาจขังหาก การระบายน้ำไม่ดี อาจทำให้เน่าเสียหาย
  • อย่าเหยียบ หลังแปลงเพาะ จะทำให้ดินแน่น พืชเติบโตได้ไม่ดี
  • กล้วควรแข็งแรง อายุม่เกิน 30 วัน เมื่อย้ายปลูก
  • ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ตามคำแนะนำ
  • ก่อนใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ ต้องวั pH ก่อนช่วงเตรียมดิน
  • หลังย้ายกล้าในฤดูฝน ให้ระวังหนอนกระทู้ดำและจิ้งหรีด

paggadcosa

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และเพียงพอ ต่อการเจริญเติบโต การให้ไม่ควรมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคโคนเน่า

การให้ปุ๋ย หลังปลูก 7 วัน ใส่ปุ๋ย พร้อมกำจัดวัชพืช หลังปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ย พร้อมกำจัดวัชพืช ขุดร่องลึก 2-3 ซม. รัศมีจากต้น 10 ซม. โรยปุ๋ย 1/2 ช้อมโต๊ะ กลบดินแล้ว รดน้ำ
ข้อควรระวัง
ควรฉีดพ่น แคลเซียม และโบรอน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันอาการปลายใบไหม้ (Tipburn) บางพื้นที่มีปัญหาขาดธาตุรอง
การพรวนดิน ระวังอย่ากระทบ กระเทือนราก หรือต้นเพราะจะมีผล ต่อการเข้าปลีที่ไม่สมบูรณ์
ไม่ควรปลูกซ้ำที่

paggadcoss

การเก็บเกี่ยว เมื่อมีอายุ ได้ ประมาณ 40-60 วัน หลังย้ายปลูก ใช้หลังมือ กดดูถ้าหัวแน่นก็เก็บได้ (กดยุบแล้วกลับคืนเหมือนเดิม) ใช้มีดตัด และเหลือใบนอก 3 ใบ เพื่อป้องกัน ความเสียหายในการขนส่ง หลีกเลี่ยง การเก็บเกี่ยวตอนเปียก ควรเก็บเกี่ยว ตอนบ่าย หรือค่ำ แล้วผึ่งลมในที่ร่ม และคัดเกรดป้ายปูนแดง ที่รอยตัด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเข้าสู่หัว อย่าล้างผัก บรรจุลงลังพลาสติก
ข้อควรระวัง
ในฤดูฝนเก็บเกี่ยว ก่อนผักโตเต็มที่ 2-3 วัน เพราะ เน่าง่าย
เก็บซากต้นนำไปเผา หรือฝังลึกประมาณ 1 ฟุต ป้องกันการ ระบาดและสะสมโรคในแปลงปลูก

paggadcosbai

โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

  • ระยะหยอดเมล็ด 0-25 วัน โรครากปม, หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ
  • ระยะการเจริญเติบโต 20-25 วัน โรคใบจุดเชอคอสปอร์ร่า, โรคใบจุดเชพโรเรีย, โรครากปม, หนอนกระทู้ดำ, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, ปลายใบไหม้
  • ระยะห่อหัว 30-35 วัน โรคใบจุดเชอคอสปอร์ร่า, โรคใบจุดเชพโรเรีย, โรคต้น/หัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, ปลายใบไหม้,
  • ระยะเก็บเกี่ยว 50-55 วัน โรคใบจุดเชอคอสปอร์ร่า, โรคใบจุดเชพโรเรีย, โรคต้น/หัวเน่า, โรครากปม, หนอนชอนใบ, หนอนกินใบ, ปลายใบไหม้

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น