ผักกาดหัวไชเท้า ผักสดหรือดองเค็ม

21 พฤศจิกายน 2556 ไม้ใต้ดิน 0

ผักกาดหัวเป็นพืชผักอายุปีเดียวที่ปลูกกันไว้เพื่อบริโภคส่วนของรากที่ขยายตัวใหญ่ขึ้น ซึ่งเราเรียกว่า หัวผักกาด อาจจะเป็นสีแดงหรือสีขาวก็ได้ คุณภาพของหัวผักกาดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุ์ การปลูก การปฎิบัติดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ถ้าหากปล่อยให้อายุแก่หรือเลยระยะเวลาเก็บเกี่ยวแล้วรากจะขยายใหญ่มากยิ่งขึ้นเพื่อสะสมอาการสำหรับสร้างดอก และติดเมล็ด เนื้อจะเริ่มฟ่าม มีเส้นใยมากขึ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus Linn., Cv group Chinese radish
ชื่อสามัญ Chinese radish, Oriental radish, Daikon
วงศ์ Cruciferae
ชื่ออื่น ไช่เท้า,หัวผักกาดขาว (ทั่วไป) ; ผักกาดจีน(ภาคกลาง) ; ผักขี้หูด, ผักเปิ๊กหัว(ภาคเหนือ) ; ไหล่ฮก, จี๋ซ้ง (จีน)

ลักษณะ
ผักกาดหัวไชเท้าเป็นพืชจำพวกผัก มีรากสะสมอาหารลักษณะทรงกระบอกใหญ่ยาว สีขาวหรือสีอื่น ต้นสูงประมาณ 1 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบแตกออกจากโคนต้นเป็นกอ ยาว 12-12 ซม. ตัวใบใหญ่ปลายใบมน ขอบใบมีรอยเว้าลึก 4-6 คู่ทั้ง 2 ข้าง ขอบใบมีรอยหยักคล้ายฟัน ก้านใบลักษณะสามเหลี่ยม ขอบมนใบที่ออกจากต้นที่ชูสูงขึ้นจะมีขนาดเล็กลง ใบรูปไข่กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ หรือแทบไม่มีเลย โคนใบมีก้านสั้น ๆ หรือแทบไม่มี ดอกออกเป็นช่อจากปลายก้านดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียวเป็นแผ่นยาวปลายมนกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นแผ่นยาวปลายมนกลมสีม่วงอ่อนหรือสีชมพู ส่วนโคนกลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่ลักษณะเป็นฝักยาวกลม ผลเป็นฝักยาวมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดกลม แบนเล็กน้อยมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 มม.

hoachaitoadin hoachaitoat

คุณค่าทางอาหาร
ในหัวผักกาดขาวสดส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้ 100 กรัม มี

  • น้ำ 91.7 กรัม
  • โปรตีน 0.6 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม
  • ความร้อน 250,000 แคลอรี่
  • เส้นใยหยาบ 0.8 กรัม
  • ash 0.8 กรัม
  • คาโรทีน (Carotene) 0.02 มก.
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.02 มก.
  • วิตามินบีสอง 0.04 มก.
  • กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มก.
  • วิตามินซี 30 มก.
  • แคลเซียม 49 มก.
  • ฟอสฟอรัส 34 มก.
  • เหล็ก 0.5 มก.
  • โปแตสเซียม 196 มก.
  • ซิลิกอน 0.024 มก.
  • แมงกานีส 1.26 มก.
  • สังกะสี 3.21 มก.
  • โมลิบดีนัม 0.125 มก.
  • โบรอน 2.07 มก.
  • ทองแดง 0.21 มก.

นอกจากนี้ยังมีกลูโคส (Glucose) ซูโครส (Sucross) Fructose Coumaric acid,Ferulic acid, Gentisic acid, Phenylpyruvic acid และกรดอะมิโนหลายชนิด
เมล็ด มีไขมัน เช่น: -Erucic acid, Linolenic acid และ Glycerol sinapate เป็นต้น น้ำมันหอมระเหยที่สำคัญคือ Methyl mercaptan นอกจากนี้ยังมีสารที่ยับยั้งแบคทีเรีย คือ Raphanin

ผักกาดหัว มีชื่ออื่น ๆ อีกเช่น ผักขี้หูด ผักกาดจีน ไช้โป๊ว หรือไช้เท้า เป็นต้น สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนปนทราย ซึ่งมีความชื้นในดินสูงพอควร และได้รับแสงแดดตลอดวัน มีพีเอชประมาณ 5.5-7.0 และอุณหภูมิประมาณ 18.5-24 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ผลดีที่สุด ในช่วงเดือนตุลาคม มกราคม เป็นที่นิยมปลูกกันมากทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่นแถบจังหวัดราชบุรี เพชรบุรีและกาญจนบุรี

ผักกาดหัวนิยมปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารทั้งรับประทานสดหรือดองเค็ม (ไช้โป๊ว) เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงพอควร คือ ในปริมาณ 100 กรัม จะให้โปรตีน 1 กรัม, คาร์โบไฮเดรท 3.6 กรัม, ไขมัน 0.1 กรัม, วิตามิน เอ 10 ไอ.ยู รวมทั้งพลังงาน 17 แคลลอรี่ นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารอื่น ๆ รวมอยู่อีกมาก

hoachaitoahoa

หัวไชเท้าหรือผักกาดหัวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน (เจ้าถิ่นที่ยังยืนหยัดเป็นหลักให้กับ เอเซียทั้งทางด้านการแพทย์ตะวันออกและค่าเงินหยวน) แต่ตอนหลังหัวไชเท้าก็แพร่หลายไปทั่วตามการอพยพย้ายถิ่นของคนจีน นิยมรับประทานเป็นอาหาร ใช้ทำเป็นแกงจืด แกงส้ม ต้มจับฉ่าย หรือเอามาดองเค็ม ตากแห้ง ทำเป็นหัวไชโป๊ แล้วนำมาปรุงเป็นอาหารกินกับข้าวต้มกุ๊ยได้อีกหลายๆ ตำรับ ที่สำคัญคือเจ้าหัวไชเท้านี่มีสารโปรวิตามินเอ ที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเออยู่สูงมาก หัวไชเท้าจึงเป็นแหล่งวิตามินเอที่หาง่ายและราคาถูก หัวไชเท้าเป็นอาหารที่ดีมาก ตำราจีนกล่าวว่าไชเท้ามีสรรพคุณในการกระจายสิ่งหมักหมมในร่างกาย ละลายเสมหะ แก้พิษ ลดความดัน ขยายหลอดลมและหลอดเลือด จึงควรเป็นอาหารที่อยู่ในเมนูของคนที่ป่วยเป็นโรคหวัด ไอเสียงแหบแห้ง ท้องขึ้นเนื่องจากอาหารไม่ย่อย คออักเสบเรื้อรัง

สรรพคุณ

  • ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่นเนื่องจากกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด
  • เมล็ด : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม
  • ใบหรือทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง
  • ใบสด : คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือง

hoachaitoafan

  1. อาหารไม่ย่อย ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ใช้รากหรือใบสดเคี้ยวกินเล็กน้อย สำหรับรากและใบสุกแห้งหรือดองเกลือกินจะไม่ได้ผล
  2. คลื่นไส้อาเจียนเรอเปรี้ยว ใช้รากสดตำให้ละเอียด ต้มกับน้ำผึ้งเคี้ยวกิน
  3. เสียงแหบแห้ง ใช้รากสดคั้นอำน้ำผสมน้ำขิงกิน
  4. เลือดกำเดาออกไม่หยุด ใช้รากสดคั้นเอาน้ำผสมเหล้าเล็กน้อยกิน และเอาน้ำคั้นสวนจมูกข้างที่มีเลือดออก หรือเอาน้ำคั้นผสมเหล้าต้มให้เดือดสูดดมไอและต้มน้ำคั้นผสมเหล้ากิน
  5. ท้องผูกเนื่องจากการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ใช้รากสด 500 กรัม หั่นเป็นแผ่นใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มให้เหลือน้ำ 100 มล. กินครั้งเดียวหมด วันละ 1 ครั้ง
  6. คอแห้ง กระหายน้ำ ใช้รากสดคั้นเอาน้ำกิน 1 ถ้วย (ประมาณ 25 มล.)
  7. ปวดหัวข้างเดียว ใช้รากสดคั้นเอาน้ำขนาด 1 เปลือกหอยแคลง ให้ผู้ป่วยนอนหงายเอาน้ำคั้นหยอดจมูกทั้ง 2 ข้างทีละข้าง
  8. แผลไฟลวก กล้ามเนื้ออักเสบ ใช้รากสดหรือเมล็ดตำให้ละเอียดพอก
  9. ฟกช้ำ ห้อเลือดจากกระทบกระแทก ใช้รากสดหรือใบสดตำให้ละเอียดพอก หรือใช้เมล็ดตำให้ละเอียดผสมเหล้าพอก
  10. ปากเป็นแผลเปื่อยเจ็บ ใช้รากสดต้มเอาน้ำชะล้างและใช้รากแห้งบดเป็นผงทา
  11. เท้าเป็นแผลเจ็บ ใช้รากสดต้มเอาน้ำชะล้างละใช้รากแห้งบดเป็นผงทา
  12. ไอเรื้อรังมีเสมหะมากทำให้หอบ เสมหะมีเลือดปน ใช้เมล็ด 1 ถ้วย (ประมาณ 10 กรัม) บดต้นน้ำกิน
  13. มีเสมหะเหนียว หอบหืดหายใจลำบากหรือหายใจขัด ใช้เมล็ดล้างให้สะอาด นึ่งให้สุก บดให้ละเอียด ผสมน้ำขิงทำเป็นยาเม็ดขนาดเมล็ดถั่วเขียว กินครั้งละ 30 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
  14. ท้องอืดแน่น อึดอัดใช้เมล็ดคั่วให้แห้งบดเป็นผงกินครั้งละ 3 กรัม

พันธุ์ที่ใช้ปลูก
ผักกาดหัวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

  1. กลุ่มยุโรป ซึ่งเรียกกันว่า แรดิช ซึ่งส่วนของรากมีขนาดเล็กมาก ผิวสีแดงเข้ม ดำ หรือน้ำเงิน เนื้อภายในอาจเป็นสีขาว หรือสีแดง มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 18-25 วัน นิยมปลูกและบริโภคเป็นผักสลัดในแถบทวีปยุโรป และอเมริกา
  2. กลุ่มอาเซีย เรียกกันว่า ผักกาดหัว ส่วนของรากที่ขยายใหญ่หรือหัวมีขนาดใหญ่ รูปทรงแตกต่างกันไป เช่น ทรงกลม, กระบอกกรวยยาว และยาวธรรมดา ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผิวของรากอาจเป็นสีขาวหรือสีแดงแต่เนื้อภายในสีขาว มีอายุการเก็บเกี่ยวยาวกว่ากลุ่มแรกคือพันธุ์เบาประมาณ 42-45 วัน และพันธุ์หนักประมาณ 60-65 วัน สามารถแยกออกได้เป็น 2 พวกคือ
    2.1 พันธุ์แบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะขอบใบหยักลึกเข้าไปตลอดใบ จะถี่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หนัก หรือปานกลาง
    2.2 พันธุ์แบบจีน มีลักษณะขอบใบเรียบ ไม่มีรอยหยักหรือมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบาพันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเรานั้น เป็นพันธุ์กลุ่มเอเชียทั้ง 2 พวกดังกล่าว เช่น
    ก. พันธุ์แม่โจ้ 1 (OW-1) มีลักษณะรูปทรงของหัวแบบทรงกรวยยาว ผิวเปลือกและเนื้อในสีขาว ยาวประมาณ 20-22 ซม. รสชาติไม่เผ็ดนัก ใบและขอบใบเรียบ ไม่มีหยัก หรือมีน้อย ไม่มีขนหรือหนามดอกสีขาว เป็นพันธุ์เบามีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 42 วัน หลังจากหยอดเมล็ด
    ข. พันธุ์ เค.ย.- วัน ลักษณะรูปทรงของหัวแบบทรงกรวยยาว ผิวเปลือกและเนื้อในสีขาวเช่นกัน ยาวประมาณ 20.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. และน้ำหนักต่อหัวโดยเฉลี่ยประมาณ 225 กรัม ใบเรียบไม่มีขน หรือหนาม ขอบใบเรียบและมีหยักเล็กน้อยบริเวณโคนก้านใบ ดอกสีขาว เหมาะสำหรับรับประทานสดมากกว่าดองเค็ม เป็นพันธุ์เบา มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45-48 วัน หลังจากหยอดเมล็ด
    ค. พันธุ์เอฟเวอเรส ไฮบริด มีขนาดของหัวโตสม่ำเสมอ ยาวประมาณ 30 35 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 7 ซม. ลักษณะใบเรียบ ไม่มีขน เป็นพันธุ์ปานกลาง มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน หลังจากหยอดเมล็ด เป็นพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น

การปลูก
การเตรียมแปลง เนื่องจากผักกาดหัวเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรขุดดินให้ลึกตั้งแต่ 10-12 นิ้วขึ้นไป และตากดินทิ้งไว้ 7-10 วันก่อนปลูก ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1,500-2,000 กก.ต่อไร่ เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินกรณีดินเป็นกรด ควรใส่ปูนเพื่อปรับระดับพีเอชของดินให้พอเหมาะกับผักกาดหัว จากนั้นจึงยกแปลงกว้างประมาณ 1 1.5 เมตร ยาวแล้วแต่พื้นที่ และความสะดวกในการปฎิบัติงาน ใส่ปุ๋ยเคมีตามอัตราส่วนที่แนะนำ พรวนดินหรือย่อยดินชั้นผิวหน้า เพื่อกลบปุ๋ยรองพื้นและให้ดินผิวหน้ามีขนาดเล็ก

การปลูก นิยมปลูก 2 แบบ

  1. โรยเป็นแถว โดยการเจาะร่องตามความยาวของแปลง จำนวน 3 แถวต่อแปลง ระยะห่างเท่ากับ 30 45 ซม. ลึกประมาณ 1 1.2 ซม. โรยเมล็ดตามร่อง กลบด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือดินผสมที่ละเอียดคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งรดน้ำให้ชุ่ม
  2. หยอดหลุม โดยการเจาะหลุมปลูกระยะห่างระหว่างต้น 20 30 ซม. และระหว่างแถว 30 45 ซม. จำนวน 3 แถวต่อแปลง หยอดเมล็ด 3 5 เมล็ดต่อหลุม กลบด้วยขี้เถ้าแกลบ หรือดินผสมละเอียด คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

SANYO DIGITAL CAMERA

การปฎบัติดูแลรักษา

  1. การให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอต่อความต้องการ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ได้ขนาดและคุณภาพของหัวผักกาดเลวลง
  2. การถอนแยก หลังจากปลูกได้ 7 10 วันหรือต้นกล้าเริ่มงอกมีใบจริง 2 3 ใบ ควรถอนแยกบ้างโดยถอนต้นที่อ่อนแอเป็นโรคหรือถูกแมลงทำลายทั้ง กรณีปลูกแบบโรยเป็นแถว ควรถอนแยกและจัดระยะห่างระหว่างต้น 20 30 ซม. ส่วนการปลูกแบบหยอดหลุมควรถอนให้เหลือหลุมละ 1 ต้น
  3. การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่แนะนำให้ใช้กับผักกาดหัวนั้น นอกจากจะแนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว อัตรา 1,500 2,000 กก.ต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ก่อนปลูกปริมาณครึ่งหนึ่ง ครั้งที่สองเมื่อผักกาดหัวมีอายุ 20 25 วันหลังปลูก และปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟท (21-0-0) อัตรา 10 15 กก./ไร่ หลังปลูก 7 10 วัน โดยโรยข้างแถว และพรวนดินกลบลงไป
  4. การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรกระทำพร้อม ๆ กับการใส่ปุ๋ยทั้ง 2 ครั้งดังกล่าวคือ หลังปลูก 7 10 และ 20 25 วัน หลังปลูก ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้ารากกระทบกระเทือนมากเกินไป จะทำให้ผักกาดไม่ลงหัว

hoachaitoaton

การเก็บเกี่ยว
ควรเก็บเกี่ยวทันที เมื่อถึงอายุการเก็บเกี่ยวซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ และสภาพแวดล้อม การปล่อยให้ผักกาดหัวแก่เกินอายุการเก็บเกี่ยวจะทำให้คุณภาพลดลง คือเนื้อฟ่าม เหนียว ไม่กรอบ รสไม่ดี และน้ำหนักลดลงมาก โดยเฉพาะพวกพันธุ์เบา

hoachaitoabai

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ใต้ดิน

แสดงความคิดเห็น