ผักขี้หูด ผักพื้นบ้าน

28 มีนาคม 2560 พืชผัก 0

ผักขี้หูด แถวบ้านชาวนาเรียกผักขึ้หูด บางที่ก็เรียกผักเปิ๊ก หรือผักผ่อง ในภาษาอีสาน เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมนำฝักอ่อน มาประกอบอาหาร เช่น แกง ลวกหรือนึ่งจิ้มน้ำพริก รสหวาน เหมือนกวางตุ้ง ปลูกในช่วงฤดูหนาว บริเวณภาคเหนือ มีรสเผ็ดเล็กน้อย แต่เมื่อทำให้สุกจะมีรสหวาน มัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Raphanus sativus Linn.
วงศ์ CRUCIFERAE

ลักษณะ

  • ต้น เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 0.3 1.0 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นจะเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง
  • ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงต้นแบบสลับ จะอวบน้ำ ส่วนด้านล่างของใบจะมีขอบใบที่เว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ส่วนยอดสุดมีปลายมนหรือแหลม และมักมีขนาดใหญ่กว่า ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบขนาดกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 9-15 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร
  • ดอก เป็นช่อ ออกบริเวณซอกใบ ช่อดอกยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีเขียว กลีบดอกมี 4 กลีบ สีม่วงอมชมพูหรือสีขาว
  • ผล เป็นฝัก หยักคอดเว้าเป็นข้อๆ เมื่อแห้งจะแตก ฝักขนาดกว้าง 0.5 2.0 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ผนังด้านในของฝักจะอ่อนนุ่มคล้ายกับฟองน้ำ มี 2-10 เมล็ด รูปร่างกลมหรือค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร

ผักชนิดนี้จะออกดอกเดือนมิถุนายน-ธันวาคม และออกผลเดือนกรกฎาคม-กุมภาพันธ์ เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมนำมาปลูกตามไร่ สวนครัว ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชุ่มชื้น
ส่วนที่ใช้บริโภค ดอกอ่อน ฝักอ่อน


การขยายพันธุ์ เมล็ด
การปรุงอาหาร ดอกและฝักอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุกรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก และนำมาปรุง อาหาร เช่น ผัด แกงแค

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น