ไม้น้ำที่ชื่อตับเต่ามี ๒ ชนิด คือ ตับเต่าหรือผักอีแปะซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ วงศ์เดียวกับต้นแววมยุราชนิดหนึ่งและผักเต่าหรือตับเต่านาซึ่งเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว วงศ์เดียวกับสาหร่ายหางกระรอกอีกชนิดหนึ่งทั้ง ๒ ชนิดขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำจืด ในท้องนาและหนองบึงทั่วไป ดังนั้น ต้นตับเต่าที่กล่าวถึงในวรรณคดี จึงอาจเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งในจำนวนนี้
ตับเต่า (Mimulus orbicularis Benth.)
ตับเต่ามีลำต้นอวบน้ำ และแตกแขนง ไม่มีไหล มีรากตามข้อ ใบเป็นใบเดี่ยว เป็นแผ่นกลมหนา ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม และลอยอยู่บนผิวน้ำ ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ มีสีม่วงอ่อนแกมขาว มีจุดสีเหลืองตรงกลางดอก มีก้านยาวชูดอกขึ้นเหนือน้ำ ฝักมีเมล็ดเล็กๆ จำนวนมากขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด ในภาคอีสานเรียกว่าผักจองแปะ ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกตูม ใช้รับประทานเป็นผักสด
ตับเต่านา (Hydrocharis morsus-ranae Linn.)
ลักษณะคล้ายตับเต่า ใบกลมแต่ฐานใบเว้าลึก ก้านใบยาว แลดูคล้ายกับอยู่เป็นกลุ่มเป็นกอเล็กๆ ๕ – ๖ ใบ มีไหลทอดยาวไปตามน้ำดอกสีขาว แยกเพศ มีก้านชูขึ้นเหนือน้ำ ผลกลมๆ คล้ายตะขบฝรั่ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและไหล ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด
ชื่ออื่น ผักตับเต่า ตับเต่าน้ำ ผักเต่า ผักปอดม้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hydrocharis morsus ranae Linn.
วงศ์ HYDROCHARITACEAE
ผักตับเต่าเป็นพืชลอยน้ำอายุหลายฤดู ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงยึดพื้นดิน ชอบขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่นในนาข้าว ลำต้นเป็นไหลเรียวยาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลม ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แตกที่ข้อของลำต้นเป็นกลุ่มชูขึ้นเหนือน้ำ มีรากเกิดเป็นกระจุกทางด้านล่างของกลุ่มใบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีจางกว่าและกลางใบจะพองออกคล้ายฟองน้ำ ช่วยพยุงลำต้น ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีขาว มี 3 กลีบ เกิดตามซอกใบ มีก้านชูดอกเรียวยาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ประโยชน์
ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและไหล
แหล่งอ้างอิง
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน