ผักบุ้งเป็นผักที่มีคนนิยมนำมารับประทานเป็นอันดับต้นๆ จึงถือได้ว่าเป็นผักยอดนิยม เนื่องจากมีความกรอบ รสชาติที่อร่อย รับประทานง่าย โดยนิยมนำมาจิ้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือจะนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงในอาหารต่างๆ เช่น แกงเผ็ด ส้มตำ หรือว่าจะเป็นผัดไทย แต่ที่เรามักจะนำไปประกอบอาหาร ก็คือเมนูผักผักบุ้งไฟแดงที่แสนอร่อยของหลายๆคน หรือแกงคั่วใส่ผักบุ้ง แกงส้มผักบุ้งก็ดีไม่แพ้กัน
ชื่อโดยทั่วไป : ผักบุ้ง , Woolly Morning-Glory ( Morning-Glory เป็นดอกไม้ของต่างประเทศ รูปร่างเหมือนดอกผักบุ้งบ้านเราเปี๊ยบ)
ชื่ออื่นๆของผักบุ้ง : ผักทอดยอด(ตามที่อ.ภาษาไทยสอนแต่ทำไมไม่ค่อยมีคนใช้คำนี้เช่น แม่ค้าเอาผักทอดยอดกำนึง ) , ผักบุ้งแดง, ผักบุ้งไทย, ผักบุ้งนา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forsk., I.reptans (Linn.) Poir
วงศ์ของพืช : CONVOLVULACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ผักบุ้งเป็นพืชน้ำ และเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลือยทอดไปตามน้ำหรือดิน ทีชื้นแฉะ
ไม้เถาล้มลุก ไม้น้ำหรือขึ้นตามที่ชื้นแฉะ เกลี้ยง มีรากตามข้อ ใบรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 3.5-17 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบตัด รูปหัวใจ หรือเป็นเงี่ยงลูกศร ก้านใบยาว 3-14 ซม. ช่อดอกมี 1-5 ดอก ก้านช่อยาว 1.5-9 ซม. โคนช่อมีขนสั้นนุ่ม ใบประดับเป็นแผ่นเกล็ดขนาดประมาณ 1-2 มม. ก้านดอกยาว 1.5-5 ซม. กลีบเลี้ยงเกลี้ยง กลีบคู่นอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 7-8 มม. ขอบมักเป็นสีขาว ปลายมน เป็นติ่งแหลม 3 กลีบในรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. กลีบดอกรูปแตร ยาว 3.5-5 ซม. เกลี้ยง สีขาว ชมพู หรืออมม่วง กลางกลีบมักมีสีเข้ม เกสรเพศผู้และเพศเมียไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่รูปกรวย เกลี้ยง แคปซูลรูปไข่เกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. แห้งแล้วแตกยาก เมล็ดมีขนสั้นหนานุ่ม ผักบุ้งมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อนทั้งในอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งนา หนองน้ำ จนถึงระดับความสูงประมาณ 400 เมตร
การขยายพันธุ์ :
เพาะเมล็ด ลำต้นแก่มีรากติด
ประโยชน์ของผักบุ้ง
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ : รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11447IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม
ประโยชน์ทางอาหาร : ผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปีและมีมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูกและการจำหน่ายในท้องตลาดอย่างแพร่หลายในทุกฤดูกาล ผักบุ้งเป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดนับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็นผักสดหรืออาจนึ่ง ลวก และราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำและนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริกและหมู นอกจากนี้ยังนำไปทำแกง เช่น แกงส้มแกงคั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดองและนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดองหรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริกเป็นต้น
สรรพคุณของผักบุ้ง
สรรพคุณทางยา : ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งโดยเฉพาะผักบุ้งแดงคนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ
ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11,447 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม และมีสารต้านฮีสตามีน
ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น ผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า – แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น
การปลูกผักบุ้ง
ผักบุ้งที่ปลูกในประเทศไทย มี ประเภท ผักบุ้งไทย (Ipomoea aquatic Var. aquatica) มีดอกสีม่วงอ่อน ก้านสีเขียวหรือม่วงอ่อน ใบสีเขียวเข้ม และก้านใบสีม่วง และผักบุ้งจีน (Ipomoea aquatica Var. reptans) ซึ่งมีใบสีเขียว ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกสีขาว ผักบุ้งจีนนิยมนำมาประกอบอาหารกว้างขวางกว่าผักบุ้งไทย จึงนิยมปลูกเป็นการค้าอย่างแพร่หลาย ทั้งการปลูกเพื่อบริโภคสด และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ปัจจุบันผักบุ้งจีนได้พัฒนาเป็นพืชผักส่งออกที่มีความสำคัญ โดยส่งออกทั้งในรูปผักสด และเมล็ดพันธุ์ การส่งออกเฉพาะผักบุ้งจีนเพื่อบริโภคสดไม่มีตัวเลขแน่นอน เพราะรวมผักบุ้งจีนในหมวดผักสดอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผักสดชนิดต่าง ๆ ตลาดที่สำคัญคือฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนประเทศไทยสามารถส่งออกเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนในปี 2538 ปริมาณ 540.6 ตัน มูลค่าการส่งออก 19.8 ล้านบาท
การปลูกผักบุ้งแก้ว
การปลูกผักบุ้งแก้ว ทำได้ 2 วิธี คือการปลูกในนาเรียกว่า การทำนาผักบุ้ง และ การปลูกในคูคลอง
การปลูกผักบุ้งในนาทำแบบเดียวกับการทำนาข้าว แบบดำนา คือ ไถและราดเทือกให้เดินเป็นโคลน ปล่อยน้ำเข้านาให้มีระดับน้ำประมาณ 1 ฟุต นำยอดผักบุ้งที่มีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร มาปักดำโดยใช้ระยะห่างระหว่างขุม (กอที่ปลูก) 1 เมตร และระหว่างแถว 1เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ยอดผักบุ้ง 1600 ยอด หรือปลูกได้ 1600 ขุม ประมาณ 10 วัน ผักบุ้งก็ลงรากบักเนื้อดิน เกษตรกรควรตัดยอด จะช่วยให้ผักบุ้งแตกยอดแตกกอมากขึ้น หากมีการเสริมด้วยน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยฉีดพ่นทุก 5 วัน เพียง 1 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวสร้างเงินได้แล้ว น้ำหมักชีวภาพมีประสิทธิภาพสูงในการเร่งยอด คือ น้ำหมักจากยอดผักบุ้งและหยวกกล้วย ในอัตรา 3:2 คือ ยอดผักบุ้ง 2 กิโลกรัม หยวกอ่อน 3 กิโลกรัม หมักกับกากน้ำตาล 2 กิโลกรัม ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน นาไปผสมน้ำ 3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ จะเกิดการเร่งยอด ทำให้ผักบุ้งแตกยอดเร็วขึ้นเป็น 2 เท่าของปกติ
การเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะต้องเก็บเกี่ยวแบบวันเว้นวัน พื้นที่ 1 ไร่ หากเก็บเกี่ยวหมดทั้งแปลงจะได้ประมาณ 100 กำ เป็นอย่างน้อย
การปลูกผักบุ้งแก้วอีกวิธีหนึ่งคือ ปลูกในคูคลอง วิธีนี้ง่ายมาก เพียงเกษตรกรกำจักวัชพืชในคูคลองออกให้หมด นำผักบุ้งที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร มัดหลวมๆ มัดละ 6-8 ยอด หาไม้ไผ่หรือไม่ที่คงทน และตรงพอสมควร ปักกลางลำน้ำให้ห่างกัน 4 4 เมตร นำผักบุ้งไปผูกไว้กับไม้หลัก ทำการตัดยอดผักบุ้งออกทั้งหมด เพื่อให้ผักบุ้งแตกยอดมากขึ้น หมั่นฉีดพ่นปุ๋ยหมักน้ำทุก 5 วัน ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บ ยอดผักบุ้งขายได้แล้ว
การปลูกผักบุ้งในคูคลองมีส่วนดีคือ ระดับน้ำลึก น้ำไม่ร้อน ยอดผักบุ้งจะอวบขาวสวยน่ารับประทาน ไม่ดีคือ อาจมีเต่ากัดกิน มันก็ต้องระวัง แต่มันมีเพียงบางพื้นที่เท่านั้น การเก็บเกี่ยวก็แบบวันเว้นวันเหมือนผักบุ้งในนา เก็บได้ทั้งเดือนทั้งปี และหลายหลายๆ ปี
การปลูกผักบุ้งจีน
ผักบุ้งจีนใช้เวลาในการงอกเพียง 48 ชั่วโมง ระยะแรกของการเจริญเติบโตจะให้ลำต้นตั้งตรง หลังจากงอกได้ 5-7 วัน จะมีใบเลี้ยงโผล่ออกมา 2 ใบ มีลักษณะปลายใบเป็นแฉก ไม่เหมือนกับใบจริงเมื่อต้นโตในระยะสองสัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งอายุประมาณ 30-45 วัน การเจริญเติบโตจะเปลี่ยนไปในทางทอดยอดและแตกกอ
สำหรับผักบุ้งจีนที่หว่านด้วยเมล็ด การแตกกอจะมีน้อยมาก การแตกกอเป็นการแตกหน่อออกมาจากตาที่อยู่บริเวณโคนต้นที่ติดกับราก มีตาอยู่รอบต้น 3-5 ตา เมื่อแตกแถวออกมาแล้วจะเจริญทอดยอดยาวออกไปเป็นลำต้น มีปล้องข้อ และทุกข้อจะให้ดอกและใบ
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน