ผักพาย มีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อย ช่วยเจริญอาหาร รับประทานใบเป็นผักสดกับ ส้มตำ ลาบ ก้อย หรือลวกจิ้มพริกก็ได้ ผักพายน้อยเป็นพืชที่นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง เป็นผักเคียงกับส้มตำ ลาบ น้ำตก น้ำพริก และอื่นๆอีกมากมาย เป็นพืชน้ำขนาดเล็ก ขึ้นเองได้ง่ายตามธรรมชาติในช่วงหน้าฝน ในสภาพที่มีน้ำขังหรือมีความชื้นสูง แต่ปริมาณในธรรมชาติก็ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ปีไหนแล้งก็จะไม่มีบริโภค จึงได้มีเกษตรกรนำเมล็ดมาปลูกเพื่อการค้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnocharis flava Buch.
ชื่อวงศ์ : LIMNOCHARITACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ตาลปัตรฤๅษี นางกวัก บอนจีน บัวค้วก บัวลอย กันจอง คันจ่อง ตาลปัตรยายชี ผักตบใบพาย ผักคันจอง ผักทัพพี หรือ ทับพี
ลักษณะ
ผักพายเป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีนาขัง เซ่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเป็น เหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น ใบขึ้นเหนือผิวน้า บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมากใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว15-18 ซม.กว้าง12 ชม.มีก้าน ใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้า ก้านใบยาวประมาณ 30 ซม. ก้านใบสีเขียวอ่อน เป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม (คล้ายก้านใบผักตบ) เมื่อหักก้านใบจะพบมียาง สีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลแตร ดอกเป็นดอกช่อแบบ ร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่าย เล้นผ่าศูนย์กลาง ของดอกย่อ ประมาณ 1.5ซม.
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สรรพคุณ : ผักพายช่วยเจริญอาหารและมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวลม
วิธีใช้ในการประกอบอาหาร : ผักพายเป็นพืชล้มลุกประเภทไม้น้ำ สามารถนำมากินได้ ทั้งต้นอ่อน ก้านใบ และดอก นอกจากจะให้รสชาติ หวานมันอร่อยแล้ว กินเป็นผักสดแกล้ม ลาบก้อย น้ำพริก และยังทำเป็น ผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก ชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผักพาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
คุณค่าทางอาหาร : ผักพายมีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อยช่วยเจริญอาหารกองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์ ผักพาย 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
การขยายพันธุ์: ใช้หัว/เหง้า/หน่อ
การปลูก
การเตรียมแปลงและการปลูก
การบำรุงรักษา
การเก็บผลผลิต
เมื่อได้ประมาณ 40 วัน ผักพายน้อยก็จะเริ่มโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำหลังจากนั้น 30 วันก็เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว ในช่วงฤดูฝนจะเก็บผลผลิตได้ต่อเนื่องเกือบทุกวันจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาคม ก็จะเริ่มออกดอก เกษตรกรควรปล่อยให้ออกดอกเพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไป
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน