ผักหวานบ้าน ผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ

12 กรกฏาคม 2556 พืชผัก 0

ผักหวานบ้าน มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายมีสารอาหารหลายชนิด ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์ ต่อร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินซี มีเบต้า-แคโรทีน สารต้านมะเร็งเป็นตัวนำ ตามด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัสเพื่อกระดูกแข็งแรง ต่อด้วยแมกนีเซียมช่วยในการยืดหดของกล้ามเนื้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauropus androgynus
ชื่อสามัญ Pak-wan Tree
วงศ์ Euphorbiaceae
ชื่ออื่นๆ ก้านตรง จ๊าผักหวาน โถหลุ่ยกะนิ เต๊าะ นานาเซียม ผักหวานใต้ใบ และมะยมป่า

ลักษณะ :
ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่ม สูง 0.8 – 2 เมตร กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ประมาณ 2 – 4 มม. ใบออกแบบสลับ รูปร่างกลมรูปขอบขนาน หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกว้าง 2 – 3.2 ซม. ยาว 3.2 – 6 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมนขอบใบเรียบ และมีหูใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ที่โคนก้านใบ ดอกสีม่วงแดงหรือแดงเข้มกลุ่มละ 2 – 4 ดอก เป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายลูก มะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0 – 1.5 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดเล็ก

pakwanbaankan

  • ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง
  • ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว
  • ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่ ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว

ผักหวานบ้าน หรือ บางท้องถิ่นเรียกว่า ก้านตรง ภาคเหนือเรียกว่า จ๊าผักหวาน , แถวสตูล(ใต้)เรียกว่า ผักหวานใต้ใบ , แถวประจวบคีรีขันธ์ (ใต้)เรียกอีกอย่างว่า มะยมป่า , ผักหวานบ้านนั้นเดิมเราจะพบในป่าทุ้ง ป่าแดง ตามทุ่งนาหรือป่าผสมผัดใบ เริ่มแรกเดิมทีคนอีสานและภาคกลางเอามาปลูกในสวน หรือบริเวณบ้าน เพื่อเก็บยอดรับประทาน เมื่อทานแล้วชื่นชอบจึงนำมาปลูกเพื่อการค้า และผักหวานบ้านนี้สามารถนำมาผัด , ต้ม, ยำ, ทอด, หรือแกง หรือจะนำมารับประทานสด ๆ กะได้ครับ ผักหวานบ้านนี้ดีตรงที่ว่าออกยอดตลอดปีครับ
ผักหวานบ้านที่นิยมปลูก จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์หลัก คือ พันธุ์นวล และพันธุ์สายน้ำผึ้ง สองพันธุ์นี้จะแตกต่างกันที่สี และขนาดของใบและยอด พันธุ์นวลจะมีสีเหลืองนวล ใบเล็ก ยอดดก ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ส่วนพันธุ์สายน้ำผึ้งจะมียอดอวบอ้วน ใบใหญ่ และได้น้ำหนักมากกว่า ส่วนรสชาติหวานมันเหมือนกัน

pakwanbaanpol

การปลูกผักหวาน
การเตรียมพื้นที่ ต้องเตรียมพื้นที่แปลงปลูกให้เหมาะสม ไม่ให้มีน้ำท่วมขังได้ เพราะผักหวานบ้านไม่ชอบพื้นที่น้ำขังจะทำให้ใบเหลืองได้ ดินแปลงปลูกก็ควรผสมปุ๋ยคอก เช่น มูลไก้แกลบ หรือมูลวัว คลุกเคล้าให้ทั่ว
การเพาะต้นกล้า การเพาะต้นกล้าสามารถทำได้โดยวิธีการปักชำกิ่ง ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2 เดือนก็จะออกรากและสามารถนำไปลงดินได้ ในการย้ายต้นกล้าลงดินนั้นจะต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ตุ้มดินแตกเหลือแต่ราก ซึ่งจะทำให้ต้นผักหวานบ้านโตได้ช้าและดูทรุดโทรม

การเก็บเกี่ยวยอดผักหวานบ้าน หลังจากที่ต้นผักหวานบ้านเริ่มตั้งตัวได้ ให้ทำการตัดแต่งยอด เพื่อให้ผักหวานบ้านออกพุ่มใหม่ เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 เดือนก็จะสามารถเก็บยอดได้ ในการเก็บยอดนั้นควรเก็บในเวลาเช้า ซึ่งจะได้ยอดที่ขาวอวบอ้วนน่ารับประทาน หลังจากเก็บยอดมาแล้วถ้ายังไม่ได้นำไปขายทันทีให้ใช้ผ้าชุบน้ำคลุมตะกร้าผักหวานบ้านที่เก็บมาเอาไว้ เพื่อรักษาความชื้น ลดการคายน้ำของยอด ทำให้ยอดไม่เหี่ยว

pakwanbaanton

การดูแลต้นผักหวานบ้าน ให้สามารถเก็บยอดได้นานๆ จะต้องใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง หรืออาจใส่ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย ในช่วงที่อากาศร้อนมาก หรือเป็นช่วงฤดูแล้งจะต้องรดน้ำต้นผักหวานบ้าน 3 เวลา คือ เช้า กลางวัน เย็น เมื่อต้นผักหวานบ้านโตเกินไปก็ให้ตัดแต่งกิ่งใหม่ และใส่ปุ๋ยก็จะทำให้ต้นผักหวานสามารถออกยอดได้เหมือนเดิม

คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

  • น้ำ 76.6 กรัม
  • โปรตีน 8.2 กรัม
  • คาร์โบไฮเดท 10 กรัม
  • เยื่อใย 3.4 กรัม
  • เถ้า 1.8 กรัม
  • แคโรทีน 1.6 มก.
  • วิตามินซี 115 มก.
  • ค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

pakwanbaanyod

ประโยชน์
ผักหวานบ้านที่นำมาใช้กินเป็นผักก็คือใบและยอดอ่อน จะมีวิตามินเอมากเป็นพิเศษ คือใน ๑๐๐ กรัม มีวิตามินเออยู่สูงถึง ๑๖,๕๙๐ หน่วยสากล (IU) และเป็นผักที่เป็นไม้ยืนต้นในจำนวนไม่มากนักที่มีวิตามินเคอยู่ด้วย ซึ่งวิตามินเคนี้มีสรรพคุณในการช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อมีบาดแผลเลือดออก ช่วยให้ตับทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับวิตามินดีในการควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างเซลล์กระดูกและเนื้อเยื่อไต

โดยทั่วไปแล้วประมาณร้อยละ ๕๐ ของวิตามินเคได้มาจากการสังเคราะห์ของแบคทีเรียในลำไส้ และหากรับประทานอาหารอย่างสมดุล ร่างกายก็จะได้รับวิตามินเคอย่างเพียงพออยู่แล้ว ส่วนที่เหลือได้จากอาหารที่มีวิตามินเค ได้แก่ ผักใบเขียว เช่น บร็อกโคลี่ ผักโขม ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ผักหวานบ้าน ตับ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น

pakwanbaanbai

สรรพคุณ
ราก สรรพคุณระงับความร้อนถอนพิษไข้ซ้ำไข้กลับเนื่องจากการรับรับประทานของแสลง หมอพื้นบ้านภาคกลางใช้ฝนทาแก้โรคคางทูม และหมอพื้นบ้านภาคเหนือ ใช้รากผักหวานบ้านแก่นในของฝักข้าวโพด รากมะแว้ง และรากผักดีด ฝนกับน้ำอย่างละเท่า ๆ กันให้เด็กหรือผู้ใหญ่รับประทานแก้ไข้ ไข้หัด ไข้อีสุกอีใส

ข้อควรระวัง
การรับประทานผักหวานไม่ควรรับประทานสดๆ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผักหวานบ้านมีสารอัลคาลอยด์ปาปาเวอรีน (papaverine) ซึ่งเป็นพิษต่อปอด และมีรายงานผู้ป่วยที่เป็นโรคที่เนื้อเยื่อปอดถูกทำลายชนิด bronchiolitis obliterans (SABO) syndrome จากการกินผักหวานเป็นจำนวนมากเพื่อต้องการลดน้ำหนัก

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น