ผักหวานป่ามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melientha suavis Pierre จัดอยู่ในวงศ์ Opiliaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปินส์ โดยมีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น คือลาว เรียกว่า hvaan เวียดนามเรียก rau กัมพูชาเรียก daam prec มาเลเซียเรียก tangal และฟิลิปินส์เรียก malatado ในประเทศไทยพบมากที่ภาคเหนือ ที่เชียงใหม่ ลำพูน ตาก เชียงราย ลำปาง ภาคอีสานที่อุดรธานี นครพนม สกลนคร นครราชสีมา ภาคกลางพบมากที่กาญจนบุรี สระบุรี ภาคใต้ ที่สุราษฎร์ธานี กระบี่ เป็นต้น ในธรรมชาติมักจะพบผักหวานป่าขึ้นในที่เนินสูง ในป่าเญจพรรณผสมไผ่(แถบกาญจนบุรี)และป่าเต็งรังที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300-900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางผักหวานป่าเป็นพืชที่ต้องการร่มเงาของไม้อื่น เพราะต้องการแสงรำไรจึงเจริญเติบโตได้ดีในธรรมชาติ
การแพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ เรามักจะพบผักหวานป่าในป่าเกือบทุกชนิดผักหวานป่าจะออกดอก
ประมาณเดือนธันวาคม-มกราคม และออกผลประมาณเดือนกมุภาพันธ์ผลแก่และสุกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผักหวานป่าเป็นพืชที่แยกเพศชัดเจนมีทั้งที่เป็นต้นเพศผู้และเพศเมีย โดยมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น (dioecious)การผสมเกสรอาศัย
แมลงตามธรรมชาติ ส่วนการกระจายเมล็ดพันธุ์อาศัยสัตว์ป่าเป็นผู้นำพา และน้ำยังเป็นตัวนำพาได้ดีเมื่อผลสุกร่วงหล่นลงจะถูกน้ำพัดพาไปในที่ต่างๆ เมื่อเมล็ดเจอที่ที่มีความเหมาะก็จะงอกและเจริญเติบโตต่อไป
พันธุ์ผักหวานป่า
ผักหวานป่า จากการสังเกตุสามรถจำแนกออกเป็น 2 สายพันธุ์ คือ
ทั้ง 2 สายพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ทั้งทรงพุ่ม กิ่ง และแขนงใบ หากไม่สังเกตุดีๆหากมีการเก็บยอดผักหวานป่ามาวางปนกันก็ไม่สามารถแยก ได้เพราะแทบไม่มีข้อแตกต่างมากนัก
ลักษณะ
ลำต้น ลำต้นผักหวานป่าเป็นไม้เนื้อแข็ง กิ่งก้านเกลี้ยง ตอนอายุน้อยผิวเปลือกเรียบ สีเทาอ่อนอ่อน กิงอ่อน เปลือกสีเขียวเข้ม แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน และเปลือกจะแตกขรุขระเมื่อมีอายุมากขึ้น
ใบ ผักหวานป่าเป็นพืชใบเดี่ยว(simple laef) การเรียงใบแบบสลับคนละข้าง(alternate) ใบอ่อนมีรูปร่างเรียวแคบ ปลายใบแหลม
ดอก ผักหวานป่าออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมีนาคม ดอก มีลักษณะเป็นช่อ ออกตามกิ่ง ลำต้น และรากที่โผล่พ้นดิน ช่อดอกยาวประมาณ15-20 เเซ็นติเมตรดอกมีขนาดเล็กอัดกันแน่นเป็นกระจุกขณะที่ยังอ่อน ดอกตัวผู้ไม่มีก้านดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก ก้านเกสรตัวผู้สั้นมาก เกือบติดฐานของ tepal อับเกสรตัวผู้ค่อนข้างใหญ่ ดอกตัวเมียก้านดอกยาวประมาณ 3-7 มม. มักจะเกิดดอกเดี่ยว แต่บางครั้งอาจจะพบเป็นกลุ่มประมาณ 3-4 ดอก การผสมเกสรของผักหวานป่าเป็นการผสมข้ามต้น เพราะดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่กันคนละต้น
ผล ผลของผักหวานป่า เป็นผลเดี่ยวที่มีรูปไข่ถึงค่อนข้างกลมมีขนาด 2.4-4.0 ซม.x 1.5-2.2 ซม.ผลอ่อนสีเขียว มีนวลเคลือบโดยรอบและต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองครีมหรือเหลืองอมส้มเมื่อแก่และสุก เปลือกบางเนื้อมีความฉ่ำน้ำ มีเมล็ดเดียว
ผักหวานป่า เป็นพืชผักพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภค แต่จะมีให้บริโภคเฉพาะฤดูกาลเท่านั้นคือช่วง มีนาคม-พฤษภาคม ซึ่งเป็นผักหวานที่เก็บจากป่าธรรมชาติเป็นหลัก เนื่องจากยังมีการปลูกกันน้อย โดยเฉพาะการปลูกเป็นสวนเชิงการค้า จะมีแหล่งปลูกใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง เช่นที่ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เกษตรกรปลูกผักหวานป่าขายเป็นอาชีพ มีรายได้ตลอดปีทั้งจากการขายยอดผักหวานป่า และขายต้นกล้าผักหวานป่า
จากการศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) พบว่าหากมีการจัดการสวน ตั้งแต่การปลูก ให้น้ำ ให้ปุ๋ย กำจัดวัชพืช โรคแมลง และปลูกพืชร่มเงา จะทำให้ผักหวานป่ารอดตายสูง และเติบโตเร็ว อายุ 2 ปีครึ่ง สามารถเก็บผลผลิตได้โดยเฉพาะการปลูกระยะชิดจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลผลิต การควบคุมทรงต้นให้พอเหมาะ ทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตสะดวก ผักหวานป่าเป็นพืชที่หลายคนเข้าใจว่าปลูกยาก แต่จากการศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าโดยใช้เทคโนโลยีการปลูกร่วมกับการจัดการดูแลรักษา จะพบว่า “การปลูกผักหวานป่าไม่ยากอย่างที่คิด”
การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า
นอกจาก การปลูกผักหวานป่า ด้วยใจรัก แล้ว การปลูกผักหวานป่า ให้รอดเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากเข้าใจนิสัยของ ผักหวานป่า จริงๆส่วนใหญ่จะบอกว่า ปลูกผักหวานป่า ไม่ยากหรือปลูกง่าย แต่สำหรับมือใหม่หัดปลูกหรือผู้ที่ไม่มีองค์ความรู้เรื่อง ผักหวานป่า ส่วนใหญ่ก็จะฟันธงว่า ผักหวานป่า ปลูกยากไม่ใช่เล่น ฉะนั้นองค์ความรู้คือสิ่งที่สำคัญและจำเป็น
โดยเฉพาะ การปลูกผักหวาน ป่าเชิงพาณิชย์ ให้เป็นพืชสุขภาพสร้างรายได้นั้น จะต้องมีเทคนิค และวิธีการดูแล อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อกระบวนการจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดปี ซึ่งผลผลิตที่ออกมาในแต่ละช่วง จะมีปริมาณ และราคาผลผลิตที่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม การปลูกผักหวาน ป่าเชิงการค้ายังมี ตลาดสุขภาพ รองรับอีกมากมาย
วิธี การปลูกผักหวานป่า ด้วยการเพาะ เมล็ดผักหวานป่า มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน สามารถทำได้เองไม่ยาก ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การเตรียมดินเพื่อ การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า ใช้ถุงพลาสติกขนาด 44 นิ้ว ไม่เจาะรูก้นถุง ป้องกันรากแทงลงดิน ใส่ดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือใบไม้ผุๆ ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ขนาดครึ่งซม. ผสมกันในอัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วกรอกลงถุงเพาะ
2. เตรียมแปลง การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า เรื่องแปลงสำหรับ การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า ควรจะมีความชื้นพอสมควร วัสดุที่ใช้เพาะควรเป็นทรายล้วนๆ ต้องฝังเมล็ดเป็นแถวให้ลึกประมาณ 2 ซม. หลังจากเพาะไปได้ 20-30 วัน จะมีรากงอกออกจากเมล็ด จากนั้นก็แตกใบอ่อนรวมเวลาทั้งหมดประมาณ 40 วัน
3. การย้ายกล้าลงถุงชำ เนื่องจากผักหวานป่ามีจุดอ่อนตรงที่ไม่ทนทานต่อการเคลื่อนย้าย หากรากได้รับการกระทบกระเทือนหรือรากขาดจะตายง่าย จึงต้องย้ายด้วยความระมัดระวัง โดยแบ่งการย้ายเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะมีใบอ่อนของต้นผักหวานป่า ซึ่งระยะที่ปลอดภัยในการย้ายและระยะรากแทงออกมาจากเมล็ดเล็กน้อยก็ย้ายได้ทันที แต่ถ้ารากออกมากหากย้ายย่อมสุ่มเสี่ยงต่อการตายได้
4. การย้ายแบบล้างราก เพราะความที่การขนส่งต้นกล้าเพาะเมล็ดครั้งละมากๆ ย่อมเปลืองเนื้อที่และมีน้ำหนักมาก จึงมีการทดลองหาแนวทางการขนส่งต้นกล้าใน การปลูกผักหวานป่า ให้ได้จำนวน/เที่ยวที่มากขึ้นและมีอัตราชำรอดตายสูง ด้วยการเพาะต้นกล้าในแปลงที่ทำด้วยอิฐก่อขนาด 15 เมตร ลึก 60 ซม. ใช้วัสดุเพาะเป็นดินลูกรัง ทรายหยาบ และปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วน 1:1:1 หรือ 1:1:2 โดยปริมาตร ร่อนด้วยตะแกรงตาถี่ขนาดครึ่งซม.ผสมกัน และคลุมแปลงเพาะให้ได้รับแสงประมาณ 40-50% เมื่อกล้าผักหวานป่างอกสูงประมาณ 5-10 ซม. หรือก่อนการส่งกล้าให้ผู้ซื้อประมาณ 2 อาทิตย์ ให้กระตุ้นให้ต้นกล้าแข็งแรงเช่นเดียวกับก่อนย้ายปลูกลงหลุม
เมื่อครบกำหนดให้ขุดต้นกล้าออกจากแปลงอย่าให้รากขาด ล้างดินออกจากรากให้สะอาด โดยใช้สายยางฉีดน้ำพร้อมกับตัดส่วนเหนือดินทิ้งให้เหลือตอสูงประมาณ 5 ซม. นำต้นกล้าไปแช่น้ำยากันเชื้อราประมาณ 15-20 นาที แล้วนำขึ้นผึ่งพอหมาดๆ นำกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ซึมซับน้ำได้ดีมาแบ่งเป็นคู่ๆ ซ้อน 2 ชั้น โรยด้วยขุยมะพร้าวชื้นหรือแกลบดำที่ปราศจากโรคให้เป็นแถบบางๆ ความยาวของแถบเท่ากับความยาวของรากต้นกล้า แต่ต้องระวังวัสดุที่ใช้อย่าให้แฉะใน การปลูกผักหวานป่า นำกล้าผักหวานป่าประมาณ 50 กล้า วางเรียงบนแถบวัสดุรักษาความชื้นโดยไม่ให้กล้าซ้อนกัน ม้วนกระดาษ น.ส.พ.ห่อต้นกล้าให้เป็นแท่งกลมพอหลวมๆ เหมือนห่อโรตีปิดหัวท้ายห่อ ฉีดยากันเชื้อราให้กระดาษเปียกพอหมาดๆ บรรจุในถุงพลาสติกที่เจาะรูระบายอากาศปิดปากหลวมๆ แล้วบรรจุลงกล่องกระดาษลูกฟูกซึ่งเจาะรูด้านข้างและกั้นเป็นช่องๆ ภายในกระดาษลูกฟูก โดยวางในแนวตั้งพอหลวมๆ ผนึกภายในลังตรงรอยต่อด้วยเทปกระดาษ โดยเว้นช่องระบายอากาศไว้เสร็จพร้อมนำส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งการส่งแบบล้างรากเช่นนี้ต้นกล้าจะทนทานได้นานประมาณ 8-10 วัน โดยรอดตายสูง 80% เมื่อได้รับต้นกล้าแล้วต้องรีบชำทันทีโดยเลี้ยงในสภาพแสง 40-50% และให้ความชื้นสม่ำเสมอในระยะแรก มีข้อควรระวังในการส่งกล้าแบบนี้อยู่ที่ต้องมีความสะอาดเป็นพิเศษ รากต้องไม่ขาด การห่อและการบรรจุต้องไม่แน่นเกินไปและต้องเจาะช่องระบายอากาศ เพื่อให้ การปลูกผักหวานป่า เป็นไปอย่างราบลื่น
อย่างไรก็ดี การเพาะ เมล็ดผักหวานป่า และการย้ายกล้า ผักหวานป่า ใน การปลูกผักหวานป่า เพื่อให้เสียหายน้อยที่สุด ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว
แต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่า มาเพาะก็ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์นั่นคือ จะต้องเก็บเมล็ดที่สดและสุกในเดือนเมษายนพฤษภาคมมาเพาะภายใน 7 วัน หากช้ากว่านี้เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงเรื่อยๆ แยกเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้งขัดล้างเมล็ดให้สะอาดด้วยตะแกรงหรือภาชนะที่มีผิวหยาบ เช่น กระด้งหรือเข่งไม้ไผ่ ควรใส่ถุงมือยางขณะทำงานเนื่องจากเนื้อหุ้มเมล็ดมีสารระคายเคืองต่อผิวหนัง นำเมล็ดที่ขัดสะอาดแล้วแช่น้ำแยกเมล็ดที่ลอยน้ำออก นำเมล็ด ผักหวานป่า ที่จมน้ำขึ้นผึ่งพอสะเด็ดน้ำคลุกด้วยยากันราให้ทั่วแล้วนำขึ้นเกลี่ยในกระด้งหรือตะแกรงไม่ให้หนาเกิน 1 นิ้ว คลุมด้วยตะแกรงด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำหมาดๆ เก็บไว้ในที่ร่ม 2-3 วัน ต้องตรวจดูเมล็ด ถ้าเปลือกเริ่มปริต้องนำไปเพาะในถุงพลาสติก นำเมล็ด ผักหวานป่า มาหยอดลงถุงกดด้วยนิ้วพอให้เมล็ดจมเสมอผิวดินหรือโผล่พ้นผิวดินเล็กน้อย นำไปไว้ในร่มเงาที่มีความเข้มแสงประมาณ 40-50% ดูแลรดน้ำแค่พอให้วัสดุที่ใช้เพาะชื้นระวังอย่าให้แฉะจนเกินไป ในช่วงเดือนแรกของผักหวานป่าจะมีการพัฒนาระบบรากอย่างรวดเร็ว พอเข้าเดือนที่ 2 จึงทยอยแทงยอดขึ้นพ้นดินให้เห็น หลังจากเพะได้ 75 วัน ต้น ผักหวานป่า จะสูงประมาณ 5-10 ซม. มีข้อสังเกตว่าการเจริญเติบโตของลำต้นในปีแรกจะช้ามาก
การปลูกและบำรุงรักษา
การเตรียมดิน ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) เริ่มเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม โดยขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ผสมวัสดุปลูกโดยใช้ดิน ปุ๋ยคอก แกลบดิบที่ย่อยสลายแล้ว อัตราส่วน 1:1:1 โดยปริมาตรผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบลงในหลุมปลูก การเตรียมวัสดุปลูกที่ดี มีระบบการให้น้ำ และปลูกพืชให้ร่มเงา จะทำให้ต้นผักหวานป่าเจริญเติบโตได้เร็ว
การเตรียมหลุมปลูกขนาด ผสมวัสดุปลูกลงไปในหลุม
30x30x30 เซนติเมตร
การเตรียมต้นกล้า สร้างความแข็งแรงให้ต้นกล้าก่อนย้ายปลูกลงหลุมจริง ด้วยการรดน้ำให้น้อยลง ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิน 2% (1 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร) รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูก ประมาณ 2 อาทิตย์ และงดให้น้ำ 1 วัน ก่อนย้ายปลูก
ลักษณะต้นกล้าผักหวานป่าที่พร้อมปลูก
ระยะปลูก ผักหวานป่าสามารถปลูกได้หลายระยะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูก ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) จะใช้ระยะปลูก 1×1 เมตร, 1.5×1.5 เมตร ซึ่งเป็นการปลูกระยะชิด เพื่อเพิ่มจำนวนต้นและผลผลิตต่อไร่ ควรมีการตัดแต่งไม่ให้ต้นสูง และสร้างทรงพุ่มเล็ก เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว หรือจะใช้ระยะปลูก 2-3×2-3 เมตร จะทำให้สะดวกในการดูแลจัดการสวน
การปลูก หัวใจสำคัญของการปลูกผักหวานป่าให้รอดตายคือ อย่าให้รากของผักหวานป่าได้รับการกระทบกระเทือนจนรากขาด การถอดถุงพลาสติกเพื่อนำต้นกล้าลงหลุมปลูกต้องระวังอย่าให้ตุ้มดินแตกหักหรือรากขาด เพราะจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโตเป็นเวลานาน การปลูกควรให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วพูนดินขึ้นกลบโคนโดยรอบ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังหลุมปลูก ปลูกไม้พี่เลี้ยงเพื่อให้ร่มเงาผักหวานป่าในช่วง 2 ปีแรก เช่น มะเขือเปราะ พริก โดยปลูกด้านข้างหลุมทางทิศตะวันตก ในแปลงปลูกผักหวานป่าต้องปลูกไม้ให้ร่มเงา เช่น ต้นมะขามเทศ ชะอม สะเดา น้อยหน่า เหลียง แค เลี่ยน ซึ่งนิสัยของผักหวานป่าจะชอบแสงแดดรำไร ปริมาณแสง 50% ชอบอากาศร้อน จะช่วยให้แตกยอดอ่อนได้ดี
การให้น้ำ ในช่วงต้นฤดูฝน ผักหวานป่าจะได้น้ำจากน้ำฝนธรรมชาติที่ตกลงมา แต่ถ้าฝนทิ้งช่วงต้องมีการให้น้ำช่วยในช่วงแรกของการปลูกใหม่ หรือในหน้าแล้งโดยให้น้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง พอให้ดินชื้นอย่าให้ดินแฉะ ผักหวานป่าไม่ชอบน้ำมากนัก ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) จะมีการให้น้ำโดยระบบน้ำหยด
การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีถอน ใช้มีดหรือจอบสับ หรือใช้เครื่องตัดหญ้า แล้วนำเศษวัชพืชคลุมโคนต้นผักหวานป่า ไม่แนะนำให้ใช้จอบถากหญ้าและพรวนดิน เพราะจะกระทบกระเทือนกับระบบราก
การกำจัดวัชพืชระหว่างแถวปลูกผักหวานป่า
การเจริญเติบโตและการจัดทรงต้น
ในการปลูกผักหวานป่าด้วยการเพาะเมล็ดนั้น ไม่ควรชำอยู่ในถุงนานเกินไป รากอาจจะขดเมื่อนำไปปลูกลงแปลงและอาจทำให้รากฉีกขาดได้ ผักหวานป่าเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตช้ามาก เช่น อายุ 1 ปี อาจสูงไม่เกิน 1 ฟุต จากการสังเกตในแปลงศึกษาทดสอบการปลูกผักหวานป่าของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) พบว่าผักหวานป่าอายุปลูกเท่ากัน การเจริญเติบโตจะไม่สม่ำเสมอกัน และจะเจริญเติบโตแตกกิ่งกระโดงได้ดีในช่วงปลายฤดูฝนจนถึงช่วงแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่ผักหวานป่าแตกยอดให้ผลผลิต ผักหวานป่าต้นที่สมบูรณ์อายุ 1 ปีครึ่ง จะสูงประมาณ 1-1.5 เมตร เมื่อผักหวานป่าโตเต็มที่จนเก็บผลผลิตได้จะมีอายุยืนมาก ในป่าธรรมชาติมีอายุกว่า 100 ปี สำหรับการปลูกผักหวานป่าเป็นสวน โดยเฉพาะการปลูกระยะชิด อาจต้องควบคุมความสูงของต้นและทรงพุ่มให้อยู่ที่ 1-1.5 เมตร เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว
การกระตุ้นยอดอ่อนและการเก็บเกี่ยว
เมื่อผักหวานป่าเจริญเติบโตเต็มที่ ก็เริ่มทำการตัดแต่งกิ่ง โดยตัดปลายกิ่งแขนงทิ้งให้เหลือยาว 15-20 เซนติเมตร รูดใบแก่บางส่วนทิ้งให้เหลือติดกิ่ง ๆ ละ 3-4 ใบ พร้อม ๆ กับการให้น้ำพอดินชื้น เมื่อยอดแตกออกมายาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ก็เก็บยอดไปจำหน่ายได้ โดยเก็บในช่วงเช้าไปจนถึงเที่ยงวัน จะหยุดเก็บเพราะอากาศร้อนยอดผักหวานจะเหี่ยวงอไม่สดชื่น
ในแปลงศึกษาทดสอบของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) ต้นผักหวานที่สมบูรณ์ จะเริ่มให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุ 1 ปีครึ่ง เมื่อผักหวานป่าหมดยอดแล้ว พร้อมกับให้น้ำเพื่อบำรุงต้นและพักต้น
เอกสารอ้างอิง
อภิญญา พรหมมีชัย. 2549. เอกสารวิชาการ เรื่อง การปลูกผักหวานป่า. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดนครราชสีมา (พืชสวน) สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร.
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน